คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยให้การว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยและขอเงินมัดจำคืนจำเลยก็ตกลงและได้คืนเงินมัดจำให้แล้วแต่ฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาไปถึงโจทก์และโจทก์สนองรับแล้วเป็นการอ้างเหตุการเลิกสัญญาไม่ตรงกับคำให้การถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญาเลิกกันโดยโจทก์มิได้สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายโจทก์จะมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้จึงไม่เป็นสาระที่ต้องวินิจฉัย โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้หาทำให้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับตามสัญญาระงับไปไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะขาย ตึกแถว เลขที่ 143 พร้อมที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 3,000,000 บาท จำเลย ได้รับ เงินมัดจำจาก โจทก์ เป็น เงิน 300,000 บาท จะ ทำการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์และ รับ เงิน ส่วน ที่ เหลือ ภายใน 1 เดือน นับ จาก วัน ทำ สัญญา ถ้า จำเลยผิดสัญญา จำเลย ยินยอม ให้ ปรับ 2 เท่า ของ เงินมัดจำ ต่อมา จำเลยได้ บอกเลิก สัญญา และ ไม่ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ตึกแถว และ ที่ดินพิพาทให้ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ ค่าปรับ ให้ แก่ โจทก์ เป็น จำนวนเงิน600,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ตึกแถว และที่ดินพิพาท กับ โจทก์ เอกสาร ท้ายฟ้อง ที่ โจทก์ อ้าง เป็น เพียง บันทึกรับ เงินมัดจำ บางส่วน ซึ่ง โจทก์ จำเลย จะ ต้อง มา เจรจา ตกลง กัน ใน เรื่อง ราคาและ วางเงิน มัดจำ ที่ ต้อง วาง เพิ่ม ให้ ครบ ร้อยละ 30 ของ ราคา ที่ จะ ตกลง กันชำระ ค่าธรรมเนียม และ ค่าภาษี ให้ เป็น ที่ เรียบร้อย เสีย ก่อน จึง จะได้ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย กัน เป็น หนังสือ ต่อไป ต่อมา โจทก์ ได้ บอกเลิกข้อตกลง และ ขอ เงินมัดจำ คืน จำเลย ก็ ตกลง ยินยอม และ ได้ คืนเงิน มัดจำให้ โจทก์ เป็น ที่ เรียบร้อย แล้ว ข้อตกลง ดังกล่าว จึง เลิกกันขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เบี้ยปรับ จำนวน 400,000 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ที่ มิได้โต้เถียง กัน ใน ชั้นฎีกา ฟังได้ ว่า เมื่อ วันที่ 4 มกราคม 2533โจทก์ จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ตึกแถว เลขที่ 143 ถนน พรานนก เขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พร้อม ที่ดิน ใน ราคา 3,000,000 บาท จำเลย ได้รับ เงินมัดจำ จาก โจทก์ เป็น เงิน 300,000 บาท โจทก์ จำเลยตกลง จะ ทำการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ และ รับ เงิน ส่วน ที่ เหลือ ภายใน1 เดือน นับ จาก วัน ทำ สัญญา ถ้า โจทก์ ผิดสัญญา โจทก์ ยินยอม ให้ จำเลยริบ เงินมัดจำ ถ้า จำเลย ผิดสัญญา จำเลย ยินยอม ให้ ปรับ 2 เท่า ของเงินมัดจำ ต่อมา วันที่ 21 มกราคม 2533 จำเลย ได้ มี หนังสือ บอกเลิกสัญญา พร้อม กับ แนบ เช็ค ธนาคาร กรุงไทย จำกัด ที่ จำเลย สั่งจ่าย เงิน 300,000 บาท เป็น การ คืนเงิน มัดจำ ไป ถึง โจทก์
คดี มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย เป็น ประการ แรก ว่าจำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา หรือไม่ โดย จำเลย ฎีกา ว่า ก่อน ถึง กำหนด นัดโอน กรรมสิทธิ์ ตึกแถว และ ที่ดินพิพาท ตาม สัญญา จำเลย ได้ มี หนังสือบอกเลิก สัญญา ไป ถึง โจทก์ พร้อม กับ คืนเงิน มัดจำ โดย จ่าย เป็น เช็คให้ แก่ โจทก์ และ โจทก์ ได้ นำ เช็ค ไป เรียกเก็บเงิน เรียบร้อย แล้วถือว่า จำเลย เสนอ ขอ เลิกสัญญา และ โจทก์ ได้ สนอง รับ การ เลิกสัญญา นั้นโดย ไม่ อิดเอื้อน สัญญาจะซื้อจะขาย ตึกแถว และ ที่ดินพิพาท เป็น อันเลิกกัน จำเลย จึง ไม่ผิด สัญญา เห็นว่า คดี นี้ จำเลย ให้การ ว่า สัญญาระหว่าง โจทก์ และ จำเลย เลิกกัน แล้ว ด้วย ความ ตกลง ยินยอม ของ คู่กรณีกล่าว คือ โจทก์ ได้ บอกเลิก ข้อตกลง แก่ จำเลย และ ขอ เงินมัดจำ คืนจำเลย ก็ ตกลง ตาม โจทก์ และ ได้ คืนเงิน มัดจำ ให้ โจทก์ เป็น ที่ เรียบร้อย แล้วโจทก์ และ จำเลย จึง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 ตาม คำให้การ ของ จำเลย ดังกล่าว จำเลย อ้างว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย เลิกกัน โดย โจทก์ เป็น ฝ่าย บอกเลิกข้อตกลง แก่ จำเลย และ จำเลย ตกลง ตาม ที่ โจทก์ บอกเลิก แต่ ฎีกา ของ จำเลยกลับ อ้างว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย เลิกกัน โดย จำเลยเป็น ฝ่าย บอกเลิก สัญญา ไป ถึง โจทก์ และ โจทก์ สนอง รับ การ บอกเลิก สัญญา นั้นฎีกา ของ จำเลย จึง เป็น การ กล่าวอ้าง เหตุ แห่ง การ เลิกสัญญา ไม่ ตรง กับที่ จำเลย กล่าวอ้าง ใน คำให้การ ถือว่า เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กันมา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้ และ เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า จำเลย ตกลง จะขาย ตึกแถว และ ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ใน ราคา3,000,000 บาท โดย จำเลย จะ ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ตึกแถว และที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ภายใน 1 เดือน นับ จาก วัน ทำ สัญญา ต่อมา หลังจากวัน ทำ สัญญา 17 วัน จำเลย มี หนังสือ บอกเลิก สัญญา พร้อม กับ คืนเงิน มัดจำให้ โจทก์ โดย จำเลย ไม่มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา และ ไม่ได้ ดำเนินการจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ตึกแถว และ ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ภายใน กำหนด เวลาตาม สัญญา จำเลย จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา
ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ประการ ต่อไป มี ว่า จำเลยจะ ต้อง รับผิด ใน เบี้ยปรับ ต่อ โจทก์ หรือไม่ โดย จำเลย ฎีกา ว่า เมื่อสัญญาจะซื้อจะขาย เลิกกัน แล้ว โดย โจทก์ มิได้ สงวนสิทธิ เรียก ค่าเสียหายอย่างใด ต่อ กัน ไว้ โจทก์ จะ มา ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย โดย อ้างว่าจำเลย ผิดสัญญา ไม่ได้ หรือ หาก จะ ฟัง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ว่า โจทก์ ได้บอกเลิก สัญญา แก่ จำเลย ทำให้ สัญญาจะซื้อจะขาย ตึกแถว และ ที่ดินพิพาทระหว่าง โจทก์ จำเลย ระงับ ลง แม้ ตาม สัญญา จะ มี ข้อตกลง ว่า ถ้า ผู้ขายผิดสัญญา ไม่สามารถ โอน ได้ ภายใน เวลา ที่ กำหนด ผู้ขาย จะ ยินยอม ให้ ปรับ2 เท่า ของ เงินมัดจำ ก็ ตาม โจทก์ ก็ ไม่มี สิทธิ ได้รับ เบี้ยปรับ เนื่องจากสัญญา ระงับ ลง แล้ว โจทก์ คง มีสิทธิ เรียกร้อง ค่าเสียหาย จาก จำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ เท่านั้น เห็นว่าเมื่อ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ที่ ว่า สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน โดย ความ ตกลง ของ คู่สัญญา ดังกล่าว ข้างต้น แล้ว ฎีกา ของ จำเลยใน ข้อ ที่ ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ตึกแถว และ ที่ดินพิพาท เลิกกัน โดยโจทก์ มิได้ สงวนสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย โจทก์ จะ มา ฟ้อง เรียก ค่าเสียหายจาก จำเลย โดย อ้างว่า จำเลย ผิดสัญญา ไม่ได้ นั้น จึง ไม่เป็น สาระ ที่ จะ ต้องวินิจฉัย ต่อไป และ ถึง แม้ ศาลอุทธรณ์ จะ วินิจฉัย ว่าการ ที่ โจทก์ รับ เอาเช็ค ที่ จำเลย เป็น ผู้สั่งจ่าย เป็น ค่า มัดจำ คืน จาก จำเลย เป็น พฤติการณ์ที่ ถือได้ว่า โจทก์ ได้ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา แต่ ศาลอุทธรณ์ ก็ วินิจฉัยว่า โจทก์ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา เพราะ จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์ จึงมีสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย รับผิด ชำระ เบี้ยปรับ แก่ โจทก์ ตาม สัญญาหา ทำให้ สิทธิเรียกร้อง เบี้ยปรับ ตาม สัญญา ระงับ ไป ดัง ที่ จำเลย เข้าใจ ไม่คำพิพากษาฎีกาที่ จำเลย อ้าง รูปเรื่อง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ คำวินิจฉัย ของศาลอุทธรณ์ ดังกล่าว จึง ไม่มี ผล เปลี่ยนแปลง ความรับผิด ของ จำเลยที่ จะ ต้อง ชำระ เบี้ยปรับ ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share