แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่1เป็นผู้ยื่นคำร้องและเป็นผู้ประกันตัว อ.ผู้ต้องหาจำเลยที่1จึง มีหน้าที่ต้องจัดหา หลักประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา114เมื่อไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าหลักประกันนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียวการที่จำเลยที่1จัดหาหลักประกันเป็นที่ดินของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2ยินยอมให้นำมาวางต่อโจทก์โดยจำเลยที่2ทำ หนังสือมอบอำนาจให้แก่จำเลยที่1เป็นผู้รับโฉนดที่ดินไปดำเนินการนั้นหาได้แปลว่าจำเลยที่1ยื่นคำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในฐานะจำเลยที่1เป็น ตัวแทนจำเลยที่2เท่านั้นไม่แต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1มี เจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในนามของจำเลยที่1เองด้วยดังนั้นสัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่1เมื่อ ผิดสัญญาจำเลยที่1ต้องรับผิดตามสัญญาประกันต่อโจทก์ด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น พนักงานสอบสวน มีอำนาจ หน้าที่ สอบสวนควบคุม และ ให้ ประกันตัว ผู้ต้องหา ที่อยู่ ใน ความ ควบคุม ของ โจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลย ที่ 2 ได้ มอบอำนาจ ให้จำเลย ที่ 1 นำ ที่ดิน จำนวน 2 แปลง ซึ่ง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 2มา วาง เป็น หลักทรัพย์ ค้ำประกัน ใน การ ขอประกัน ตัว นางสาว อารีรัตน์ ผู้ต้องหา ซึ่ง ต้อง หา ว่า กระทำผิด ฐาน ออก เช็ค โดย เจตนา ที่ จะ มิให้มี การ ใช้ เงิน ตามเช็ค และ ได้ ทำ สัญญาประกัน ตัว นางสาว อารีรัตน์ ให้ ไว้ แก่ โจทก์ สัญญา ว่า จะ ส่งตัว นางสาว อารีรัตน์ ตาม ที่ โจทก์ กำหนด นัด ถ้า จำเลย ที่ 1 ไม่นำ ตัว นางสาว อารีรัตน์ มา ส่ง ตาม กำหนด นัด จำเลย ที่ 1 ยอม ใช้ เงิน จำนวน 200,000 บาท โจทก์ จึง ปล่อย ตัวนางสาว อารีรัตน์ ไป ชั่วคราว ตั้งแต่ วัน ดังกล่าว ครั้น ถึง กำหนด นัด จำเลย ที่ 1 ไม่สามารถ นำตัว นางสาว อารีรัตน์ ส่ง ให้ โจทก์ อันเป็น การ ผิดสัญญา จำเลย ที่ 1 ขอเลื่อน กำหนด ส่งตัว นางสาว อารีรัตน์ แต่ จำเลย ที่ 1 ไม่สามารถ นำตัว นางสาว อารีรัตน์ ส่ง ให้ โจทก์ ได้ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน ค่าปรับ จำนวน 200,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย นับแต่ วัน ผิดนัด
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ สองไม่ได้ มอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 1 นำ ที่ดิน มา วาง เป็น หลักทรัพย์ ค้ำประกันสัญญาประกัน ตัว นางสาว อารีรัตน์ กับ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ไม่เคย ทำ สัญญาประกัน ตัว นางสาว อารีรัตน์ และ ไม่เคย ลงลายมือชื่อ ใน คำร้อง ขอประกัน และ สัญญาประกัน ท้ายฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระ เงิน จำนวน200,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ให้ยก ฟ้องโจทก์ เฉพาะ จำเลย ที่ 1
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 รับผิด ใช้ ดอกเบี้ยใน ต้นเงิน 200,000 บาท ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่22 ธันวาคม 2525 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์เพียง ว่า จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ตาม สัญญาประกัน ต่อ โจทก์ ด้วย หรือไม่เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 คำร้องขอให้ปล่อย ผู้ต้องหา ชั่วคราว โดย มี ประกัน และ หลักประกัน ย่อม ยื่น ได้โดย ผู้ต้องหา หรือ ผู้ มี ประโยชน์ เกี่ยวข้อง และ มาตรา 112 เมื่อ จะปล่อย ชั่วคราว โดย มี ประกัน และ หลักประกัน ก่อน ปล่อย ไป ให้ ผู้ประกันหรือ ผู้เป็น หลักประกัน ลงลายมือชื่อ ใน สัญญาประกัน นั้น
ใน สัญญาประกัน นอกจาก ข้อความ อย่างอื่น อัน พึง มี ต้อง มี ข้อความดังนี้ ด้วย
(1) ผู้ ถูก ปล่อย ชั่วคราว หรือ ผู้ประกัน แล้วแต่ กรณี จะ ปฏิบัติตาม นัด หรือ หมายเรียก ของ เจ้าพนักงาน ซึ่ง ให้ ปล่อย ชั่วคราว
(2) เมื่อ ผิดสัญญา จะ ใช้ เงิน จำนวน ที่ ระบุ ไว้
ส่วน มาตรา 114 เมื่อ จะ ปล่อย ชั่วคราว โดย ให้ มี ประกัน และหลักประกัน ด้วย ก่อน ปล่อย ตัว ไป ให้ ผู้ร้อง ขอประกัน จัดหา หลักประกันมา ดั่ง ต้องการ
หลักประกัน มี 3 ชนิด คือ
(1) มี เงินสด มา วาง
(2) มี หลักทรัพย์ อื่น มา วาง
(3) มี บุคคล มา เป็น หลักประกัน โดย แสดง หลักทรัพย์
บทบัญญัติ ดังกล่าว เป็น ที่ เห็น ได้ว่า การ ขอให้ปล่อย ตัว ผู้ต้องหาชั่วคราว โดย มี ประกัน และ หลักประกัน นั้น ต้อง ประกอบ ด้วย ผู้ มี ประโยชน์เกี่ยวข้อง ได้ ยื่น คำร้องขอ ให้ ปล่อย ผู้ต้องหา ชั่วคราว ประการ หนึ่งกับ ผู้ร้อง ขอประกัน ได้ จัดหา หลักประกัน มา อีก ประการ หนึ่ง คดี นี้ปรากฏ ชัด ตาม คำร้องขอ ประกัน และ สัญญาประกัน เอกสาร หมาย จ. 4 ว่าจำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ยื่นคำร้อง และ เป็น ผู้ประกัน ตัว นางสาว อารีรัตน์ แซ่ลี้ ผู้ต้องหา ใน คดี ออก เช็ค โดย เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มี การ ใช้ เงิน ตามเช็ค จาก โจทก์ จำเลย ที่ 1 จึง มี หน้าที่ ต้อง จัดหา หลักประกันมา ตาม มาตรา 114 เมื่อ ไม่มี กฎหมาย ใด บังคับ ว่า หลักประกัน นั้น จะ ต้องเป็น กรรมสิทธิ์ ของ ผู้ประกัน แต่ ผู้เดียว การ ที่ จำเลย ที่ 1 จัดหาหลักประกัน เป็น ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 8451 กับ โฉนด เลขที่ 8521ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง จำเลย ที่ 2 ยินยอม ให้ นำ มา วาง ต่อ โจทก์ ใน การ ขอให้ปล่อย นางสาว อารีรัตน์ ผู้ต้องหา ชั่วคราว โดย จำเลย ที่ 2 ทำ หนังสือ มอบอำนาจ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้รับ โฉนด ที่ดิน 2 ฉบับ ไป ดำเนินการนั้น หา ได้ แปล ว่า จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ ประกัน และ ทำ สัญญาประกัน ตัวนางสาว อารีรัตน์ ผู้ต้องหา คดี ดังกล่าว ใน ฐานะ จำเลย ที่ 1 เป็น ตัวแทน จำเลย ที่ 2 เท่านั้น ไม่ แต่ แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 1 มี เจตนาเข้า ทำ สัญญาประกัน ตัว นางสาว อารีรัตน์ ผู้ต้องหา ใน นาม ของ จำเลย ที่ 1 เอง ด้วย หาก จำเลย ที่ 1 เป็น แต่เพียง ผู้รับมอบอำนาจ จากจำเลย ที่ 2 ให้ มา ประกันตัว ผู้ต้องหา จริง แล้ว จำเลย ที่ 1 ก็ น่า จะ ระบุไว้ ใน คำร้องขอ ประกัน เอกสาร หมาย จ. 4 ด้วย ว่า ทำแทน จำเลย ที่ 2ดังนั้น สัญญาประกัน จึง มีผล ผูกพัน จำเลย ที่ 1 เมื่อ ผิดสัญญา จำเลย ที่ 1ต้อง รับผิด ตาม สัญญาประกัน ต่อ โจทก์ ด้วย ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 2ชำระ เงิน จำนวน 200,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์