คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ได้กำหนดวิธีการเวนคืนไว้ในข้อ63และข้อ78มีความหมายว่าจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหรือพระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อนก็ได้หรือจะกระทำโดยออกพระราชบัญญัติเวนคืนโดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาก่อนก็ได้จำเลยทั้งสองได้มีหนังสือแจ้งถึงโจทก์เพื่อที่จำเลยทั้งสองและผู้ที่ได้รับมอบหมายจะได้เข้าทำการสำรวจและเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์บางส่วนแล้วได้มีการประชุมกำหนดราคาค่าทดแทนกันจึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว การกำหนดเงิน ค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ต้องกำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบให้เห็นโดยตรงว่าที่ดินของโจทก์มีราคาตามธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2523ใช้บังคับเท่าใดแต่โจทก์ได้นำสืบถึงราคาที่ดินในย่านถนน เพชรเกษม ซึ่งอยู่ห่างจากที่ดินโจทก์ประมาณ800เมตรทั้งในเวลาก่อนและหลังพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับศาลฎีกาจึงใช้ดุลพินิจกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดให้แก่โจทก์ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน ค่าทดแทนที่ดิน ที่ ถูก เวนคืน จำนวน 33,241,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น นิติบุคคลตาม กฎหมาย พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวง พิเศษสาย พระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอนพระประแดง-บางแค- ตลิ่งชัน พ.ศ. 2523 มาตรา 4 กำหนด ให้ อธิบดี กรมทางหลวง เป็น เจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการ ตาม พระราชกฤษฎีกา ดังนั้น อำนาจ ใน การ กำหนดแนว ทางหลวง และ การ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง ถูก ทางหลวง พิเศษ ตัด ผ่านจึง เป็น อำนาจ ของ จำเลย ที่ 2 และ เป็น ผู้ที่ จะ ต้อง รับผิด ชดใช้ เงินค่าทดแทน ที่ดิน ที่ ถูก เวนคืน จำเลย ที่ 1 มิได้ มี นิติสัมพันธ์ ใด ๆกับ โจทก์ และ มิได้ เกี่ยวข้อง กับ การ กำหนด เงิน ค่าทดแทน จำเลย ที่ 1จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ เงิน ค่าทดแทน แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 2 ได้ กำหนดเงิน ค่าทดแทน ให้ โจทก์ ตาม บัญชี กำหนด จำนวน ราคา ที่ดิน ตาม ราคา ตลาดเพื่อ ใช้ เป็น ทุนทรัพย์ สำหรับ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียนสิทธิ และ นิติกรรม ใน ปี 2521 ตารางวา ละ 2,600 บาท และ ตารางวา ละ800 บาท ตามลำดับ ความ ลึก จาก ถนน เพชรเกษม ทั้ง ยัง เปิด โอกาส ให้ เจ้าของ ทรัพย์สิน แสดง หลักฐาน การ จดทะเบียน ซื้อ ขาย ต่อ เจ้าพนักงานที่ดิน ภายใน วันที่ 2 กรกฎาคม 2523 ที่ แสดง ว่า ทรัพย์สิน ที่ ถูกเวนคืน มี ราคา สูง กว่า ราคา ปานกลาง ดังกล่าว เพื่อ พิจารณา ประกอบการกำหนด เงิน ค่าทดแทน ด้วย แต่ โจทก์ ไม่มี หลักฐาน ดังกล่าว มา แสดงแต่อย่างใด การ กำหนด เงิน ค่าทดแทน ของ จำเลย ที่ 2 จึง ชอบ ด้วย กฎหมายและ เป็น ธรรม แล้ว โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง เพราะ โจทก์ยื่น อุทธรณ์ ต่อ จำเลย ที่ 1 เมื่อ พ้น กำหนด 60 วัน นับแต่ วันที่ได้รับ แจ้ง เป็น หนังสือ จาก เจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ซึ่ง ได้รับ มอบหมาย จากเจ้าหน้าที่ ให้ มา รับ เงิน ค่าทดแทน โจทก์ ไม่เสีย หาย จำเลย ทั้ง สองจึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ แก่ โจทก์ และ ไม่ต้อง รับผิด ชำระ ดอกเบี้ยแก่ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สอง ต้อง ชดใช้ เงิน ค่าทดแทน เพิ่ม แก่ โจทก์โจทก์ ก็ คิด ดอกเบี้ย ได้ เพียง 5 ปี ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระเงิน จำนวน 2,212,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 ธันวาคม 2528 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ต่อไป ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า การ ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวง พิเศษสาย พระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอนพระประแดง-บางแค- ตลิ่งชัน พ.ศ. 2523 และ ประกาศกระทรวง คมนาคม ที่ กำหนด ให้ เป็น ทางหลวง ที่ มี ความจำเป็น จะ ต้อง สร้าง โดย เร่งด่วน โดย ไม่มี การ ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืน เสีย ก่อน ทั้งการ เวนคืน ราย นี้ ไม่มี การ ออก พระราชบัญญัติ เวนคืน เป็น การ ขัด ต่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63 และ กฎหมาย รัฐธรรมนูญการ ที่ จำเลย ทั้ง สอง เข้า ไป สำรวจ และ ครอบครอง ที่ดิน ของ โจทก์ เป็น การไม่ชอบ นั้น เห็นว่า การ เวนคืน ที่ดิน ของ โจทก์ เพื่อ สร้าง ทางหลวงพิเศษ ดังกล่าว เป็น การ เวนคืน ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ดัง จะ เห็น ได้ว่า ใน ส่วน ที่ 3 ของ กฎหมาย ดังกล่าว ได้ กำหนด วิธีการเวนคืน ไว้ ใน หมวด ที่ 1 ตั้งแต่ ข้อ 63 ถึง ข้อ 73 โดย ตาม ข้อ 63วรรคสอง บัญญัติ ว่า “เพื่อ ประโยชน์ ใน การ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ตาม วรรคหนึ่ง จะ ตรา พระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่จะ เวนคืน ไว้ ก่อน ก็ ได้ ” ข้อ 66 บัญญัติ ว่า “ใน กรณี ที่ ได้ มีพระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืน ใช้ บังคับและ รัฐมนตรี ได้ ประกาศ ใน ราชกิจจานุเบกษา กำหนด ทางหลวง ที่ มี ความจำเป็น ต้อง สร้าง โดย เร่งด่วน แล้ว ให้ เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือ ผู้ซึ่ง ได้รับ มอบหมาย จาก เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีอำนาจ เข้า ครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ ” โดย ก่อนที่ จะ ดำเนินการ ต้อง แจ้ง เป็น หนังสือ ให้ เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ นั้น ทราบ ล่วงหน้า ไม่ น้อยกว่า สามสิบ วัน และ ใน หมวดที่ 3 ข้อ 78 บัญญัติ ว่า “เมื่อ ได้ กระทำการ สำรวจ ที่ ที่ ต้อง เวนคืนทั้งหมด หรือ บางส่วน เสร็จ แล้ว ถ้า ยัง ไม่ พร้อม ที่ จะ ออก พระราชบัญญัติเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ นั้น จะ ตราพระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ไว้ ก่อน ก็ ได้ ” ข้อ 79บัญญัติ ว่า “ให้ นำ บทบัญญัติ ใน หมวด 1และ หมวด 2 มา ใช้ บังคับ โดย อนุโลม “ตาม บทบัญญัติ ใน ข้อ 63 และ ข้อ 78 จึง หมายความ ว่า จะ ตรา พระราชกฤษฎีกากำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืน หรือ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ไว้ ก่อน ก็ ได้ หรือ จะ กระทำ โดย ออก พระราชบัญญัติเวนคืน โดย ไม่ต้อง ออก พระราชกฤษฎีกา ก่อน ก็ ได้ ฟ้องโจทก์ บรรยาย ว่าเมื่อ ได้ มี พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวง พิเศษจำเลย ทั้ง สอง หรือ ผู้ได้รับ มอบหมาย จาก จำเลย ทั้ง สอง ได้ มี หนังสือแจ้ง ถึง โจทก์ เพื่อ ที่ จำเลย ทั้ง สอง และ ผู้ที่ได้รับ มอบหมาย จะ ได้เข้า ทำการ สำรวจ และ เข้า ครอบครอง ที่ดิน ของ โจทก์ บางส่วน แล้ว ได้ มีการ ประชุม กำหนดราคา ค่าทดแทน กัน เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ดำเนินการตาม ขั้นตอน ของ กฎหมาย ดังกล่าว แล้ว การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง เข้า ไป สำรวจและ ครอบครอง ที่ดิน ของ โจทก์ ซึ่ง เป็น ไป โดยชอบ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษามา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต่อไป ตาม ที่ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า โจทก์ ควร ได้รับ เงิน ค่าทดแทน เพิ่มขึ้น หรือไม่ เพียงใด นั้น เห็นว่า ที่ดิน ของโจทก์ ถูก เวนคืน ตาม พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ฯ พ.ศ. 2523 ซึ่งมีผล ใช้ บังคับ ตั้งแต่ วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 การ กำหนด เงิน ค่าทดแทนที่ดิน ที่ ถูก เวนคืน ต้อง บังคับ ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ซึ่ง บัญญัติ เรื่อง ค่าทดแทน ไว้ ตาม ข้อ 76 ว่า “เงิน ค่าทดแทน นั้นถ้า ไม่มี บทบัญญัติ เป็น พิเศษ ใน พระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ซึ่ง ออก ตาม ข้อ 63 แล้ว ให้ กำหนด เท่า ราคา ของ ทรัพย์สิน ตาม ราคา ธรรมดาที่ ซื้อ ขาย ใน ท้องตลาด ใน วัน ดัง ต่อไป นี้ ฯลฯ (2) ใน วันที่พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ใช้ บังคับ ใน กรณี ที่ ได้ ตราพระราชกฤษฎีกา เช่นว่า นั้น ” ดังนั้น การ กำหนด เงิน ค่าทดแทน สำหรับที่ดิน ของ โจทก์ จึง ต้อง กำหนด เท่า ราคา ทรัพย์สิน ตาม ราคา ธรรมดา ที่ซื้อ ขาย กัน ใน ท้องตลาด ใน วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ปัญหา ว่า ใน วันที่3 กรกฎาคม 2523 ที่ดิน บริเวณ ที่ ถูก เวนคืน มี ราคา ธรรมดา ที่ ซื้อ ขาย กันใน ท้องตลาด เท่าใด โจทก์ และ นาง ลัดดา เลิศวัฒนาโกเมศ เบิกความ ว่า นาง ลัดดา ได้ ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 56791 ตำบล หลักสอง อำเภอหนองแขม กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ประมาณ 21 ตารางวา ให้ นาย สมศักดิ์ บัวทอง เมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2523 ราคา 350,000 บาท ตาม เอกสาร หมายจ. 49 และ จ. 50 เฉลี่ย ราคา ตารางวา ละ 16,666 บาท เศษ จำเลย ทั้ง สองนำสืบ ว่า สภาพ ของ ที่ดิน โจทก์ ที่ ถูก เวนคืน เป็น ที่ สวน ไม่มี สิ่งปลูกสร้าง ที่ เป็น ของ เจ้าของ ที่ดิน แต่ มี สิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง บุคคลอื่นเช่า ที่ดิน อยู่อาศัย และ บุคคลอื่น เช่า เพื่อ ทำ เป็น ทาง เข้า ออกตาม เอกสาร หมาย ล. 3 ทั้ง อยู่ ห่าง จาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 56791 ประมาณ800 เมตร คณะกรรมการ ปรองดอง จึง ได้ ประชุม กำหนด เงิน ค่าทดแทน ให้โจทก์ เท่ากับ ราคา ตาม บัญชี กำหนด จำนวน ราคา ที่ดิน ตาม ราคา ตลาด เพื่อใช้ เป็น ทุนทรัพย์ สำหรับ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิและ นิติกรรม ซึ่ง ใช้ ใน ปี 2522 ตาม เอกสาร หมาย ล. 24 อัน แสดง ถึง กำหนดราคา เป็น หน่วย ๆ ลดหลั่น ลง ไป ตาม ความ ใกล้ ไกล ถนน โดย จำเลย ทั้ง สองฎีกา ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ เป็น ที่ สวน ส่วน ที่ดิน ที่ โจทก์ นำ มา เปรียบเทียบราคา อยู่ ใน ทำเลการค้า ไม่ควร กำหนด ให้ จำเลย ทั้ง สอง จ่าย เพิ่ม เห็นว่าเงิน ค่าทดแทน ที่ คณะกรรมการ ปรองดอง ให้ ถือ ตาม ราคา ที่ดิน ตาม บัญชี กำหนดจำนวน ราคา ที่ดิน ตาม ราคา ตลาด เพื่อ ใช้ เป็น ทุนทรัพย์ สำหรับ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม โดย ถือว่า เป็น ราคา ธรรมดาที่ ซื้อ ขาย ใน ท้องตลาด ใน วันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะสร้าง ทางหลวง พิเศษ สาย พระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอน พระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน พ.ศ. 2523 ใช้ บังคับ มิใช่ ราคา แท้จริง ที่ ซื้อ ขาย กัน ใน ท้องตลาด ใน วัน ดังกล่าว ส่วน ราคา ที่ ซื้อ ขาย ที่ดินที่อยู่ ใกล้เคียง ใน เวลา ใกล้เคียง กับ วันที่ ที่ดิน โจทก์ ถูก เวนคืนเป็น ราคา ที่ ซื้อ ขาย กัน จริง และ ย่อม จะ ใกล้เคียง กับ ราคา ที่ ซื้อ ขายกัน จริง และ ย่อม จะ ใกล้เคียง กับ ราคา ที่ ซื้อ ขาย กัน ใน ท้องตลาด สมควรจะ ใช้ เป็น เครื่อง กำหนด ค่าทดแทน เนื่องจาก ไม่มี การ ซื้อ ขาย ที่ดินใกล้เคียง อย่างยิ่ง กับ ที่ดิน ของ โจทก์ คง มี ที่ดิน ซึ่ง อยู่ ห่างออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ประมาณ 800 เมตร และ เวลา ใน การ ทำนิติกรรมหลังจาก วันที่ พระราชกฤษฎีกา เวนคืน ที่ดิน ใช้ บังคับ 4 เดือน คือที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 49 และ จ. 50 ซึ่ง แสดง ให้ เห็นว่า ราคา ที่ดินย่า นถนน เพชรเกษม ตำบลหลักสอง อำเภอภาษีเจริญ และ อำเภอ หนองแขม กรุงเทพมหานคร ซึ่ง อยู่ ติดต่อ กัน มี ราคา สูง อยู่ มาก จาก ราคาประเมินของ กรมที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 2 ใช้ เป็น หลัก ใน การ กำหนดราคา ค่าทดแทน ประกอบ ด้วย เหตุผล ตาม คำเบิกความ ของ นาย โสภณ คงเพชร พยาน จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง รับ ราชการ อยู่ ที่ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา ธนบุรี เคย เข้า ประชุม ใน คณะกรรมการ ปรองดอง เพื่อ พิจารณา เงิน ค่าทดแทน ให้ แก่ เจ้าของ ที่ดิน ที่ ถูก เวนคืน รวมทั้ง โจทก์ ใน คดี นี้ด้วย ได้ความ ว่า ราคา ซื้อ ขาย ที่ดิน ริมถนน เพชรเกษม อาจ มี ราคา สูง กว่า ที่ กำหนด ไว้ ใน บัญชี กำหนด จำนวน ราคา ที่ดิน ตาม ราคา ตลาด เพื่อใช้ เป็น ทุนทรัพย์ สำหรับ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิและ นิติกรรม ดังนั้น แม้ โจทก์ จะ ไม่ได้ นำสืบ ให้ เห็น โดยตรง ว่า ที่ดินของ โจทก์ มี ราคา ตาม ธรรมดา ที่ ซื้อ ขาย กัน ใน ท้องตลาด ใน วันที่พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ฯ พ.ศ. 2523 ใช้ บังคับ เท่าใด แต่โจทก์ ได้ นำสืบ ถึง ราคา ที่ดิน ใน ย่า นถนน เพชรเกษม ซึ่ง แม้ จะ ห่าง จาก ที่ดิน โจทก์ ประมาณ 800 เมตร ทั้ง ใน เวลา ก่อน และ หลัง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ใช้ บังคับ ศาลฎีกา จึง ใช้ ดุลพินิจ กำหนด เงิน ค่าทดแทน ตาม ราคาธรรมดา ที่ ซื้อ ขาย ใน ท้องตลาด ให้ แก่ โจทก์ ได้ ที่ดิน ของ โจทก์ อยู่ติด ถนน เพชรเกษม มี ไฟฟ้า ประปา ใช้ การจราจร ไป มา สะดวก อยู่ ไม่ ห่างไกล จาก ทำเลการค้า มาก นัก ย่อม มี ราคา ที่ สูง ขึ้น กว่า ราคาประเมิน ของกรมที่ดิน ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนด ค่าทดแทน ให้ ใน ราคา ตารางวา ละ7,000 บาท สำหรับ เนื้อที่ 1,300 ตารางวา และ ตารางวา ละ 2,000 บาทสำหรับ เนื้อที่ 5 ตารางวา เป็น ราคา ที่ ไม่เป็นธรรม ศาลฎีกา เห็นสมควรกำหนด ค่าทดแทน ให้ ใน ราคา ตารางวา ละ 12,000 บาท ทั้ง แปลง ที่ดินโฉนด เลขที่ 2900 ถูก เวนคืน เนื้อที่ 1,305 ตารางวา เป็น เงิน15,660,000 บาท หักเงิน ค่าทดแทน ที่ โจทก์ ได้รับ ไป แล้ว 3,384,000บาท จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ชำระ ค่าทดแทน ให้ โจทก์ เพิ่มขึ้น อีก 12,276,000บาท ส่วน ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ อ้างว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ เหลือ อยู่มี สภาพ ไม่ดี เหมือนเดิม ไม่สามารถ ปลูก ห้องแถว ได้ นั้น เมื่อ ได้ความว่า การ ดำเนินการ เวนคืน ของ จำเลย ที่ 2 ได้ กระทำ ไป โดยชอบ ดัง วินิจฉัยมา แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย ส่วน นี้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองไม่ กำหนด ค่าเสียหาย ให้ อีก จึง ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วนฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ปัญหา เรื่อง ดอกเบี้ย นั้น ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 67 วรรคสอง บัญญัติ ว่า ถ้า ศาล พิพากษา ให้ เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ชำระ เงินเพิ่ม ขึ้น ให้ เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ได้รับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืนใช้ บังคับ แต่ สำหรับ คดี นี้ เป็น กรณี ที่ ได้ ตรา พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนว ทางหลวง ซึ่ง ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 79 ให้ นำบทบัญญัติ หมวด 1 และ หมวด 2 มา ใช้ บังคับ โดย อนุโลม ตาม บทบัญญัติข้อ 79 ประกอบ ข้อ 67 วรรคสอง จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง เสีย ดอกเบี้ยตั้งแต่ วันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวง พิเศษสาย พระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอน พระประแดง- บางแค-ตลิ่งชัน พ.ศ. 2523 ใช้ บังคับ คือ ตั้งแต่ วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 โจทก์ จึง มีสิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ใน เงิน ค่าทดแทน ที่ จำเลย ที่ 2ต้อง ชำระ เพิ่ม อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี แต่ โจทก์ ขอให้ จำเลยทั้ง สอง ชำระ ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ 15 ธันวาคม 2528 ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 15 ธันวาคม 2528 เป็นต้น ไป ตาม คำขอ ของ โจทก์ ชอบแล้วฎีกา ของ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 จ่ายเงิน ค่าทดแทน ให้ แก่โจทก์ เพิ่มขึ้น อีก จำนวน 12,276,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 15 ธันวาคม 2528เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share