คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ในข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฉบับที่11ข้อ4.1กำหนดให้นับเวลาทำงานตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการบรรจุในอัตราประจำแต่ในข้อ1ก็ให้ความหมายของคำว่าผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็น ผู้มีสิทธิจะ ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ3ไว้ว่าหมายความว่าผู้อำนวยการรองผู้อำนวยการพนักงานหรือคนงานขององค์การซึ่งได้รับการแต่งตั้งการบรรจุหรือการจ้างให้เป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ใน อัตราประจำ ดังนั้นพนักงานหรือคนงานไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งการบรรจุหรือการจ้างก็เป็นผู้ปฏิบัติงานซึ่ง มีสิทธิจะ ได้รับเงินบำเหน็จตามที่กำหนดในข้อ3ทั้งสิ้น การทบทวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ตามข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฉบับที่10ข้อที่12จะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ3ข้อ4โดยชอบเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ คำวินิจฉัยจึง มิชอบด้วยกฎหมายและ ยังไม่ถึงที่สุด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ ทำงาน เป็น ลูกจ้าง ชั่วคราว เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2494 ต่อมา จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้างประจำเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2492 ครั้น วันที่ 30 กันยายน 2536 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เนื่องจาก เกษียณอายุ โจทก์ ได้รับ ค่าจ้าง สุดท้าย อัตรา เดือนละ 22,660 บาท โจทก์ ทำงาน เป็น ลูกจ้างประจำ ติดต่อ กัน มา เป็น เวลา40 ปี 270 วัน จึง มีสิทธิ ได้รับ บำเหน็จ ตาม ข้อบังคับ ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่ 10 เท่ากับ เงินเดือน สุดท้ายคูณ ด้วย จำนวน ปี ที่ ปฏิบัติงาน เศษ ปี ให้ คิด ตาม ส่วน โดย ถือ 1 ปี มี360 วัน คิด เป็น เงิน 923,583.83 บาท แต่ จำเลย จ่าย เพียง 812,235.11บาท ขาด เงิน อีก 111,248.72 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย จ่ายเงินบำเหน็จ ส่วน ที่ ขาด อยู่ อีก 111,348.72 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ได้รับ การ บรรจุ เป็น พนักงาน อัตรา ประจำตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2500 จึง คำนวณ เป็น เงินบำเหน็จ ได้ เพียง812,235.11 บาท โจทก์ ขอให้ จำเลย ทบทวน การ นับเวลา ทำงาน จำเลย จึง นำเรื่อง เสนอ ต่อ คณะกรรมการ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ ที่ ประชุมคณะกรรมการ มี มติ ให้ คำนวณ บำเหน็จ โจทก์ ตั้งแต่ วัน บรรจุ เป็น พนักงานประจำ คือ วันที่ 1 ธันวาคม 2500 จำเลย จ่ายเงิน บำเหน็จ ให้ โจทก์ถูกต้อง แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า ตาม คำสั่ง องค์การอุตสาหกรรม ป่าไม้ ที่ 11/2493 เอกสาร หมาย จ. 1 ระบุ ให้สิทธิประโยชน์ แก่ พนักงานประจำ และ พนักงาน จ้าง ประจำ ถือว่า มีสิทธิเช่นเดียวกัน โจทก์ เป็น เสมียน รายวัน ประจำ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม2496 ตาม คำสั่ง ที่ 1/2496 เอกสาร หมาย จ. 6 จึง มีสิทธิ ได้รับ เงินบำเหน็จ โดย คำนวณ นับ ระยะเวลา ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2496 พิพากษาให้ จำเลย จ่ายเงิน บำเหน็จ ให้ แก่ โจทก์ โดย คำนวณ เวลา การ ทำงานของ โจทก์ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2496 ตาม คำสั่ง ที่ 1/2496 เป็นต้น ไปจน ถึง วัน เกษียณอายุ (วันที่ 30 กันยายน 2536) ทั้งนี้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้อง
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย จำเลย ได้ มี คำสั่ง ให้ จ้าง โจทก์ เป็น เสมียนรายวัน ประจำ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2596 ตาม คำสั่ง ที่ 1/2496 เอกสารหมาย ล. 3 และ จ. 6 และ ต่อมา จำเลย ได้ มี คำสั่ง ให้ บรรจุ โจทก์ เป็นเสมียน สารบรรณ ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2500 ตาม คำสั่ง องค์การอุตสาหกรรม ป่าไม้ ที่ 127/2500 เอกสาร หมาย ล. 2 จำเลย เลิกจ้างโจทก์ เพราะ เกษียณอายุ เมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2536 และ คำนวณจ่ายเงิน บำเหน็จ ให้ โจทก์ ตาม ข้อบังคับ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฉบับที่ 10 ว่าด้วย กองทุน บำเหน็จ ผู้ปฏิบัติงาน ใน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เอกสาร หมาย ล. 1 โดย นับ ระยะเวลา ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2500แล้ว
พิเคราะห์ แล้ว ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า ตาม ข้อบังคับ องค์การอุตสาหกรรม ป่าไม้ ฉบับที่ 10 จะ ถือว่า เป็น ลูกจ้างประจำ ต้อง มี คำ ว่าบรรจุ โจทก์ ได้รับ การ บรรจุ โดย คำสั่ง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่127/2500 นับแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2500 จึง ต้อง คำนวณ เงินบำเหน็จนับแต่ วัน ดังกล่าว เห็นว่า แม้ ใน ข้อบังคับ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฉบับที่ 10 ข้อ 4.1 กำหนด ให้ นับเวลา ทำงาน ตั้งแต่ วันที่ ระบุ ใน คำสั่งให้ ผู้ปฏิบัติงาน ได้รับ การ บรรจุ ใน อัตรา ประจำ ก็ ตาม แต่ ใน ข้อ 1 ก็ ให้ความหมาย ของ คำ ว่า ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่ง เป็น ผู้มีสิทธิ จะ ได้รับ เงินบำเหน็จ ตาม ข้อ 3 ไว้ ว่า หมายความ ว่า ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการพนักงาน หรือ คนงาน ของ องค์การ ซึ่ง ได้รับ การ แต่งตั้ง การ บรรจุ หรือการจ้าง ให้ เป็น ผู้ปฏิบัติงาน ใน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ใน อัตรา ประจำดังนั้น พนักงาน หรือ คนงาน ไม่ว่า จะ เป็น การ แต่งตั้ง การ บรรจุ หรือการจ้าง ก็ เป็น ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่ง มีสิทธิ จะ ได้รับ เงินบำเหน็จ ตาม ที่กำหนด ใน ข้อ 3 ทั้งสิ้น ข้อ 4 เป็น แต่เพียง การ นับเวลา ทำงาน เท่านั้นส่วน ใน ข้อ 4.1 แม้ จะ ใช้ คำ ว่า บรรจุ แต่ ก็ มิได้ มี การ ให้ ความหมายไว้ เป็น พิเศษ แต่ อย่างไร ทั้ง ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า เมื่อ มี การจ้างแล้ว จะ ต้อง มี คำสั่ง บรรจุ อีก ครั้งหนึ่ง จึง จะ เป็น พนักงาน หรือ ลูกจ้างของ จำเลย ได้ ดังนั้น คำ ว่า บรรจุ จึง หา ได้ มี ความหมาย ต่าง ไป จาก การแต่งตั้ง หรือ การจ้าง แต่อย่างใด ไม่ ความ สำคัญ ของ ข้อ 4.1 จึง อยู่ที่ อัตรา ประจำ เท่านั้น กล่าว คือ ผู้มีสิทธิ จะ นับเวลา เพื่อ คำนวณบำเหน็จ ต้อง เป็น พนักงานประจำ หรือ ลูกจ้างประจำ นั้นเอง เมื่อ โจทก์ได้รับ คำสั่ง จ้าง จาก จำเลย ให้ เป็น เสมียน รายวัน ประจำ ตั้งแต่ วันที่1 มกราคม 2496 โจทก์ จึง เป็น ลูกจ้างประจำ ของ จำเลย ตั้งแต่ วันนั้นการ นับเวลา เพื่อ คำนวณ บำเหน็จ ให้ โจทก์ จึง ต้อง นับแต่ วันที่ 1 มกราคม2496 ที่ จำเลย อุทธรณ์ ต่อไป ว่า เมื่อ มี การ ทบทวน คำวินิจฉัย โดยคณะกรรมการ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ให้ โจทก์ ได้รับ การ คำนวณ บำเหน็จตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2500 คำวินิจฉัย ดังกล่าว ถึงที่สุด แล้วตาม ข้อบังคับ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่ 10 ข้อ ที่ 12 การ คำนวณบำเหน็จ จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย นั้น เห็นว่า คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการจะ ถึงที่สุด ก็ ต่อเมื่อ เป็น คำวินิจฉัย ที่ ถูกต้อง ตาม หลักเกณฑ์ ที่ กำหนดไว้ ใน ข้อ 3 ข้อ 4 โดยชอบ เมื่อ คณะกรรมการ วินิจฉัย ไม่ถูกต้องตาม หลักเกณฑ์ ดัง ที่ ศาล วินิจฉัย มา แล้ว คำวินิจฉัย นั้น จึง มิชอบ ด้วยกฎหมาย และ ยัง ไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย กับ คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง อุทธรณ์ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share