คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การเจ้าหน้าที่ศาลจะทำรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การเมื่อใดไม่ใช่ข้อสำคัญและหามีผลให้รายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเป็นรายงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติบังคับไว้ ศาลชั้นต้นให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในวันที่20พฤศจิกายน2534โจทก์จะต้องมีคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดในวันที่5ธันวาคม2534แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอได้ในวันที่6ธันวาคม2534แม้ในวันดังกล่าวเจ้าหน้าที่ศาลจะรายงานต่อศาลว่าครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองจะต้องยื่นคำให้การมานานแล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งไม่ถูกต้องแต่เมื่อช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มีคำขอข้างต้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความในวันที่9ธันวาคม2534ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันครบกำหนดให้โจทก์มีคำขอจึงชอบแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ จำนวน 37,510 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
ใน การ ส่งหมาย เรียก และ สำเนา คำฟ้อง แก่ จำเลย ทั้ง สอง ศาลชั้นต้นอนุญาต ให้ ส่ง โดย วิธี ประกาศ หนังสือพิมพ์ โดย ให้ จำเลย ทั้ง สอง ยื่นคำให้การ ภายใน วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 และ นัด สืบพยานโจทก์ วันที่9 ธันวาคม 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา
ต่อมา เจ้าหน้าที่ศาล รายงาน ศาล ว่า ครบ กำหนด ที่ จำเลย ทั้ง สองจะ ต้อง ยื่นคำให้การ มา นาน แล้ว แต่ โจทก์ มิได้ ดำเนินการ ยื่น คำร้องขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ขาดนัด ยื่นคำให้การ ปรากฏ ตาม รายงาน เจ้าหน้าที่ฉบับ ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2534
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน วันที่ 9 ธันวาคม 2534 ว่า โจทก์ ไม่ยื่นคำร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ให้ จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ ภายใน 15 วันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 จึง มี คำสั่ง จำหน่ายคดี โจทก์ ออกจาก สารบบความ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ข้อ วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ ให้ จำหน่ายคดี โจทก์ ออกจาก สารบบความ ชอบ หรือไม่โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ยื่น คำขอ ให้ ศาล สั่ง ว่า จำเลย ทั้ง สองขาดนัด ยื่นคำให้การ ได้ ภายใน วันที่ 6 ธันวาคม 2534 จน ถึง เวลา16.30 นาฬิกา แต่ เจ้าหน้าที่ศาล ทำ รายงาน ต่อ ศาล ใน วันเดียว กัน นั้นว่า โจทก์ ไม่ยื่น คำขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ขาดนัด ยื่นคำให้การ ใน กำหนด นาน แล้ว จึง เป็น รายงาน ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ ให้ จำหน่ายคดี โจทก์ จึง ไม่ชอบ เพราะ มี คำสั่ง ไป ตามรายงาน ของ เจ้าหน้าที่ศาล ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า เจ้าหน้าที่ศาล จะ ทำ รายงาน ต่อ ศาลชั้นต้น เมื่อใด ไม่ใช่ ข้อสำคัญ และ หา มีผล ให้รายงาน ของ เจ้าหน้าที่ศาล เป็น รายงาน ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดัง ที่โจทก์ ฎีกา ไม่ เพราะ ใน กรณี ดังกล่าว นี้ ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ บังคับ ไว้หาก แต่ ความ สำคัญ อยู่ ที่ ว่า ถ้า จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และโจทก์ ได้ มี คำขอ ต่อ ศาลชั้นต้น ภายใน สิบ ห้า วัน นับแต่ ระยะเวลา ที่กำหนด ให้ จำเลย ยื่นคำให้การ สิ้นสุด ลง เพื่อ ให้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งว่า จำเลย ขาดนัด หรือไม่ และ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง ให้ จำหน่ายคดีนั้น ออกจาก สารบบความ เมื่อ พ้น ระยะเวลา ดังกล่าว นั้น หรือไม่ เป็น สำคัญพิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า วัน ครบ กำหนด ระยะเวลา ให้ จำเลยทั้ง สอง ยื่นคำให้การ คือ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 โจทก์ จะ ต้องมี คำขอ ต่อ ศาลชั้นต้น ภายใน สิบ ห้า วัน นับแต่ ระยะเวลา ที่ กำหนด ให้จำเลย ยื่นคำให้การ ได้ สิ้นสุด ลง เพื่อ ให้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่าจำเลย ทั้ง สอง ขาดนัด คือ วันที่ 5 ธันวาคม 2534 แต่ วัน ดังกล่าวเป็น วันหยุด ราชการ โจทก์ จึง มีสิทธิ ยื่น คำขอ ดังกล่าว ได้ ใน วันที่6 ธันวาคม 2534 เป็น วัน สุดท้าย แต่ ปรากฏว่า ใน ช่วง ระยะเวลา ดังกล่าวโจทก์ ไม่ได้ มี คำขอ เพื่อ ให้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า จำเลย ทั้ง สองขาดนัด เมื่อ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง จำหน่ายคดี โจทก์ ออกจาก สารบบความใน วันที่ 9 ธันวาคม 2534 ซึ่ง เป็น ระยะเวลา ภายหลัง วัน ครบ กำหนดให้ โจทก์ มี คำขอ ดังนี้ ถือได้ว่า ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง จำหน่ายคดีเมื่อ พ้น ระยะเวลา สิบ ห้า วันที่ กำหนด ให้ โจทก์ มี คำขอ เพื่อ ให้ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ขาดนัด คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ให้จำหน่ายคดี โจทก์ จาก สารบบความ จึง ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share