คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

นิติบุคคลจะรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลได้กระทำให้เกิดความเสียหายหรือทำละเมิดขณะทำการตามหน้าที่และอยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76. พลตำรวจว.กับจำเลยที่2ที่3ซึ่งเป็นตำรวจไปดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยที่บ้านซึ่งจัดงานแต่ตำรวจทั้ง3ดื่มสุรามึนเมามีเรื่องทะเลาะกับพวกชาวบ้านจนเจ้าภาพต้องเชิญให้กลับออกไปเมื่อไปถึงถนนพลตำรวจว.ได้กระชากลูกเลื่อนปืนในลักษณะข่มขู่พวกชาวบ้านเป็นเหตุให้ปืนลั่น1นัดกระสุนปืนไปถูกโจทก์ซึ่งนั่งอยู่ในบ้านงานได้รับบาดเจ็บพิการไปตลอดชีวิตการที่พลตำรวจว.กระทำดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของพลตำรวจว.และไม่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ของกรมตำรวจจำเลยที่1กรมตำรวจจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ กรมตำรวจ จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ซึ่ง เป็น ข้าราชการ ตำรวจ รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ในกรณี ที่ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 กับ พลวัชรพงศ์ ไป รักษา ความสงบ เรียบร้อยใน บ้าน ซึ่ง มี การ จัดงาน และ พลวัชรพงศ์ กระชาก ลูกเลื่อนปืน เพื่อข่มขู่ ชาวบ้าน เป็น เหตุ ให้ ปื่น ลั่น กระสุนปืน ถูก โจทก์ ได้ รับบาดเจ็บ จน พิการ ตลอดชีวิต โดย เรียก ค่าเสียหาย 576,203 บาท
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า การ ที่ พลวัชรพงศ์ กระชาก ลูกเลื่อนปืนเป็น เหตุ ให้ กระสุนปืน ถูก โจทก์ นั้น เป็น การ กระทำ นอก หน้าที่ที่ ได้ รับ มอบหมาย จาก ผู้บังคับบัญชา จำเลย ที่ 1 ไม่ ต้อง รับผิดชอบ และ เป็น การ กระทำ โดย ประมาท ของ พลวัชรพงศ์ เป็น ส่วน ตัว โดยจำเลย ที่ 2 ที่ 3 มิได้ รู้เห็น และ ร่วม ด้วย จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ไม่ ต้อง รับผิด ค่าเสียหาย มาก เกินไป ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เมื่อ คืน วัน ที่ 23 พฤษภาคม 2523 มี งาน บวชนาคที่ บ้าน นาย เพิ่ม กำลังเกื้อ ซึ่ง เจ้าภาพ จัดเลี้ยง อาหาร และ รำวง มี คน ไป ใน บ้าน 100 คนเศษ ขณะนั้น จำเลย ที่ 2 ที่ 3 กับ พลตำรวจวัชรพงศ์ เป็น ตำรวจ ประจำ สถานี ตำรวจ ภูธร อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราชอยู่ ใน สังกัด กรมตำรวจ จำเลย ที่ 1 และ ได้ ไป ดูแล รักษา ความสงบเรียบร้อย ที่ บ้าน งาน ด้วย แล้ว เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทั้ง สาม ได้ ดื่มสุรา มึนเมา มี เรื่อง ทะเลาะ กับ พวก ชาวบ้าน จน เจ้าภาพ ต้อง เชิญให้ กลับ ออก ไป ตอน ออก มา จาก บ้าน งาน จำเลย ที่ 2 ที่ 3 เดิน นำหน้า ไป ก่อน พลตำรวจ วัชรพงศ์ เดิน ตามหลัง เมื่อ มา ถึง ถนน พลตำรวจวัชรพงศ์ ได้ กระชาก ลูกเลื่อนปืน ใน ลักษณะ ข่มขู่ พวก ชาวบ้าน เป็นเหตุ ให้ ปืน ลั่น ขึ้น 1 นัด แล้ว กระสุนปืน ไป ถูก แขนขวา โจทก์ ซึ่งตอนนั้น นั่ง อยู่ ใน บริเวณ บ้าน งาน และ ทำ ให้ โจทก์ บาดเจ็บ สาหัสต้อง ถูก ตัด แขนขวา ออก กลาย เป็น คน พิการ ไป ตลอด ชีวิต คง มีปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ เพียง ข้อเดียว ว่า จำเลย ที่ 1จะ ต้อง รับผิด ใน การ ที่ พลตำรวจ วัชรพงศ์ ทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ครั้ง นี้ หรือไม่ เห็น ว่า พลตำรวจ วัชรพงศ์ ไม่ ใช่ ลูกจ้าง แต่ เป็นข้าราชการ ตำรวจ และ มี หน้าที่ ปฏิบัติ ราชการ เพื่อ รักษา ความสงบเรียบร้อย แทน จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น กรม ใน รัฐบาล และ มี ฐานะ เป็นนิติบุคคล ตาม กฎหมาย จึง ต้อง ปรับบท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 ซึ่ง บัญญัติ ว่า ‘ผู้จัดการทั้งหลาย ก็ ดี ผู้แทน อื่นๆ ก็ ดี ของ นิติบุคคล หาก ทำ การ ตามหน้าที่ ได้ ทำ ให้ เกิด ความ เสียหาย อย่างใด แก่ บุคคล อื่น ไซร้ท่าน ว่า นิติบุคคล จำต้อง เสีย ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ ความ เสียหาย นั้น แต่ มี สิทธิ จะ ไล่เบี้ย เอา แก่ ตัว ผู้ เป็น ต้นเหตุ ทำ ความเสียหาย ได้ ภายหลัง
ถ้า และ ความ เสียหาย แก่ บุคคล อื่น นั้น เกิด แต่ ทำ การ อันใดอันหนึ่ง ซึ่ง มิได้ อยู่ ภายใน ขอบ วัตถุ ที่ ประสงค์ แห่ง นิติบุคคลนั้น ไซร้ ท่าน ว่า สมาชิก หรือ ผู้จัดการ ทั้งหลาย เหล่านั้น บรรดา ที่ได้ ออก เสียง ลงมติ ให้ ทำ การ เช่นนั้น กับ ทั้ง ผู้จัดการ และผู้แทน อื่นๆ ทั้งหลาย บรรดา ที่ ได้ ลงมือ ทำการ จะ ต้อง รับผิดร่วมกัน ออก ค่าสินไหมทดแทน’ หมายความ ว่า นิติบุคคล จะ รับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทน เฉพาะ ใน กรณี ที่ เจ้าหน้าที่ ของ นิติบุคคล ได้ ทำ ให้เกิด ความ เสียหาย หรือ ทำ ละเมิด ขณะ ทำ การ ตาม หน้าที่ และ อยู่ภายใน ขอบ วัตถุ ที่ ประสงค์ ของ นิติบุคคล เท่านั้น แม้ ใน ตอนแรกพลตำรวจ วัชรพงศ์ กับ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 เข้า ไป ใน บ้าน งาน บวชนาคเพื่อ รักษา ความสงบ เรียบร้อย พอ ถือ ได้ ว่า เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทั้งสาม ปฏิบัติ ราชการ ตาม หน้าที่ แต่ ตอนหลัง เมื่อ เจ้าหน้าที่ ตำรวจทั้ง สาม ไป รับประทาน อาหาร ดื่ม สุรา มึนเมา และ มี เรื่อง ทะเลาะ กับชาวบ้าน แล้ว พลตำรวจ วัชรพงศ์ กระชาก ลูกเลื่อนปืน ข่มขู่ ชาวบ้าน จนเป็น เหตุ ให้ ปืน ลั่น และ กระสุนปืน ไป ถูก โจทก์ บาดเจ็บ นั้น ก็เห็น ได้ ชัด ว่า เป็น เรื่อง ส่วนตัว ของ พลตำรวจ วัชรพงศ์ และ ไม่เกี่ยวกับ การ รักษา ความสงบ เรียบร้อย ตาม วัตถุประสงค์ ของ จำเลย ที่1 แต่ อย่างใด จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้ แก่ โจทก์ รูปคดี ไม่ มี ความ จำเป็น ต้อง วินิจฉัย ใน ประเด็นเรื่อง ค่าเสียหาย อีก ต่อไป ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ยกฟ้อง ชอบ แล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.

Share