คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าได้สิทธิเหนือที่พิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของเดิมก็ดีโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ดีหรือที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดีพร้อมกับฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ไปจดทะเบียนภาระจำยอมแก่จำเลยนั้นฟ้องแย้งของจำเลยก็คือเหตุผลอันเดียวกับที่ให้การไว้ซึ่งจำเลยชอบที่จะอ้างสิทธิต่างๆขึ้นใช้ยันโจทก์เพราะไม่แน่ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงในรูปใดฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันเองและไม่เคลือบคลุม. การที่บุคคลเข้าไปถมที่และล้อมรั้วเพื่อแสดงแนวเขตที่แน่นอนในที่ดินของบุคคลอื่นแม้บุคคลนั้นจะมิได้เข้าอยู่อาศัยหรือมอบหมายให้ผู้ใดเข้าอยู่แทนในที่ดินนั้นก็ตามถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของบุคคลอื่นแล้ว.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ และ จำเลย เป็น เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่15839 และ 15840 ตาม ลำดับ อยู่ ที่ ตำบล ลาดยาว อำเภอ บางเขนกรุงเทพมหานคร ที่ดิน จำเลย ติด กับ ที่ดิน โจทก์ ทาง ด้าน ทิศใต้เมื่อ ประมาณ เดือน พฤศจิกายน 2518 จำเลย ได้ ปลูกสร้าง โกดัง เก็บสินค้า ที่พัก คนงาน และ สร้าง รั้ว กั้น ที่ดิน ของ จำเลย รุกล้ำเข้า ไป ใน ที่ดิน โจทก์ 21 ตารางวา โจทก์ ทราบ เมื่อ เดือน มีนาคม2523 ได้ บอกกล่าว ให้ จำเลย รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ออก ไป แต่ จำเลยเพิกเฉย โจทก์ ขอ คิด ค่าเสียหาย เดือนละ 1,000 บาท จาก วัน ทำ ละเมิดถึง วัน ฟ้อง เป็น เงิน 58,000 บาท ขอ ให้ บังคับ จำลเย รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง หาก ไม่ ปฏิบัติ ให้ โจทก์ เข้า รื้อถอน โดย จำเลยเสีย ค่าใช้จ่าย และ ชำระ ค่าเสียหาย ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า เมื่อ จำเลย ซื้อ ที่ดิน จาก ผู้ มีชื่อแล้ว ก็ ปลูกสร้าง โรงเรือน โดย สุจริต ที่ดิน โจทก์ จึง ตก เป็นภาระจำยอม แก่ ที่ดิน จำเลย จำเลย ครอบครอง ที่พิพาท ต่อจาก เจ้าของเดิม รวม ระยะเวลา เกิน 10 ปี แล้ว ที่ พิพาท จึง ตก เป็น ของ จำเลยโดย การ ครอบครอง ที่ พิพาท หาก ให้ เช่า ได้ ค่าเช่า ไม่เกิน เดือนละ50 บาท ขอ ให้ พิพากษา ว่า ที่ พิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ให้โจทก์ ไป จดทะเบียน สิทธิ ใน ที่ดิน พิพาท เป็น ภาระจำยอม แก่ ที่ดินจำเลย หาก ไม่ ปฏิบัติ ให้ ถือ เอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนาขอ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า ฟ้องแย้ง เคลือบคลุม จำเลย เพิ่งปลูกสร้าง อาคาร เมื่อ ปี พ.ศ. 2518 จำเลย จึง ไม่ ได้ กรรมสิทธิ์ ในที่ พิพาท ทั้ง ที่ พิพาท ก็ มิได้ ตก เป็น ภาระ จำยอม แก่ ที่ดินจำเลย ขอ ให้ ยก ฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ไม่ เคลือบคลุม จำเลยครอบครอง ที่ พิพาท 21 ตารางวา โดย ปรปักษ์ จึง ได้ กรรมสิทธิ์ และให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ฟ้องแย้งของ จำเลย อ้าง สิทธิ ขึ้น ยัน โจทก์ เป็น ความ สามฝัก สามฝ่าย ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง และ มาตรา 177วรรคสอง เป็น ฟ้อง เคลือบคลุม นั้น เห็นว่า ข้ออ้าง ตาม ฟ้องแย้ง ของจำเลย ก็ คือ เหตุผล เดียวกัน กับ ข้อต่อสู้ ใน คำให้การ ซึ่ง จำเลยชอบ ที่ จะ อ้าง สิทธิ ต่างๆ ซึ่ง ตน มี อยู่ โดย ชอบ ด้วย กฎหมายขึ้น ใช้ ยัน โจทก์ ได้ เพราะ เป็น การ ไม่ แน่นอน ว่า การ ฟังข้อเท็จจริง อัน เป็น ประเด็น พิพาท ใน คดี ของ ศาล จะ ออก มา ใน รูป ใด จำเลย จึง จำต้อง หยิบยก ข้อกฎหมาย ซึ่ง เห็นว่า เป็น คุณ แก่ ตน ขึ้นกล่าวอ้าง ไว้ ทุก กรณี การ ที่ จำเลย อ้าง ว่า ได้ สิทธิ เหนือ ที่พิพาท โดย การ ซื้อ มา จาก เจ้าของ เดิม ก็ ดี โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ก็ ดี หรือ ที่ พิพาท อยู่ ภายใต้ ภาระจำยอม แก่ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลย ก็ ดี หา ใช่ เป็น การ กล่าวอ้าง สามฝักสามฝ่าย อัน จะ ถือ เป็น เรื่อง ขัดแย้ง กัน เอง ดัง โจทก์ ฎีกา ไม่ฟ้องแย้ง ของ จำเลย จึง ไม่ เคลือบคลุม ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่าระยะเวลา การครอบครอง ที่ พิพาท ของ จำเลย ยัง ไม่ ครบ 10 ปี เพราะ ก่อนหน้า นั้นตาม ข้อเท็จจริง และ พฤติการณ์ ยัง ถือ ไม่ ได้ ว่า นาง จำลอง เจ้าของเดิม ได้ ครอบครอง ปรปักษ์ ต่อ โจทก์ อัน จะ มี ผล ให้จำเลย นับระยะเวลา ครอบครอง ติดต่อ กัน ได้ นั้น เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่าเมื่อ นาง จำลอง ซื้อ ที่ดิน จาก นาง ทองย้อย ผู้จัดสรร ที่ดิน แล้วได้ ออก โฉนด ในนาม นาง จำลอง เมื่อ ปี พ.ศ. 2500 แล้ว นาง จำลอง ได้จัดการ ถมที่ และ จ้าง นาย ทองอยู่ ให้ เป็น ผู้ ล้อมรั้ว ลวดหนาม พร้อมทั้ง ดูแล ที่ ของ ตน ด้วย ศาลฎีกา เห็น ว่า แม้ นาง จำลอง จะ มิได้เข้า อยู่ หรือ อาศัย หรือ มอบหมาย ให้ ผู้ใด เข้า มา อยู่ แทน ก็ ตามการ ถมที่ และ ล้อมรั้ว เพื่อ แสดง แนวเขต ที่ แน่นอน อัน เป็น สิทธิของ ตน เหนือ ที่ดิน ย่อม ถือ ได้ ว่า เป็น การ แสดง ออก ซึ่ง การครอบครอง เมื่อ นับ รวม เวลา ที่ จำเลย ครอบครอง ต่อมา จึง เกินกว่า10 ปี ก่อน โจทก์ ฟ้อง คดี นี้ ที่ พิพาท จึง ตก เป็น กรรมสิทธิ์ ของจำเลย โดย การ ครอบครอง
พิพากษา ยืน.

Share