แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
จำเลยส่งสินค้าที่มีคุณภาพชำรุดบกพร่องทำให้ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้าเป็นเหตุให้โจทก์ขายสินค้านั้นไม่ได้จำเลยต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องดังกล่าวโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา215,387,391และ472 ค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222คือคืนเงินราคาสินค้าที่จำเลยรับไปจากโจทก์ค่าที่โจทก์ได้ชำระค่าขนส่งสินค้าค่าวัสดุสำหรับบรรจุหีบห่อสินค้าที่โจทก์จัดซื้อแล้วส่งให้จำเลยและค่าโกดังเก็บสินค้าซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายพิเศษที่จำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ตกลง ขาย เก้าอี้ ไม้ สาม ขา จำนวน 7,920 ตัวให้ โจทก์ เพื่อ ส่ง ไป จำหน่าย ยัง ประเทศ สหรัฐอเมริกา ราคา 114,840บาท จำเลย รับรอง คุณภาพ ของ สินค้า ที่ ซื้อ ขาย และ การ บรรจุ หีบห่อซึ่ง กระทำ โดย ฝ่าย จำเลย ว่า อยู่ ใน สภาพ ดี ทุก ประการ หาก มีการ เรียกร้อง ค่าเสียหาย จาก ต่างประเทศ อัน เนื่อง มา จาก คุณภาพไม่ ดี หรือ ไม่ ได้ มาตรฐาน หรือ การ บรรจุ หีบห่อ ไม่ ดี หรือ ขาดตก บกพร่อง ฝ่าย จำเลย ยอม ชดใช้ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สิ้น จำเลย กระทำผิด สัญญา โดย เมื่อ สินค้า ส่ง ไป ถึง ประเทศ สหรัฐอเมริกา ปรากฏ ว่าผู้ซื้อ สินค้า ปฏิเสธ ที่ จะ รับ สินค้า เพราะ คุณภาพ ไม่ ดี และ ไม่ได้ มาตรฐาน สินค้า ดังกล่าว ถูก ส่งคืน มา ยัง โจทก์ ทำ ให้ โจทก์ ได้รับ ความ เสียหาย ซึ่ง จำเลย ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ขอ ให้ จำเลยร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย 241,563 บาท 33 สตางค์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ตกลง ขาย เก้าอี้ ไม้ สาม ขาให้ โจทก์ 5,000 ตัว โจทก์ จัดหา ซื้อ เอง 2,920 ตัว แล้ว มอบ ให้จำเลย ที่ 2 บรรจุ หีบห่อ ซึ่ง โจทก์ จัดหา มา ให้ เมื่อ ทำการเสร็จแล้ว ส่งมอบ แก่ โจทก์ พร้อม กับ เก้าอี้ ที่ โจทก์ ซื้อ จากจำเลย ที่ 2 หาก มี ความ ชำรุด บกพร่อง ก็ เป็น เก้าอี้ จำนวน ที่โจทก์ จัดซื้อ จำเลย ที่ 2 ไม่ ต้อง รับผิด จำเลย ที่ 2 ไม่ เคย ตกลงหรือ ให้ สัญญา ต่อ โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 2 จะ ยอมรับ ผิด ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ อัน เนื่อง มา แต่ ความ ไม่ ได้ มาตรฐาน หรือคุณภาพ หรือ การ บรรจุ หีบป่อ บกพร่อง เพราะ การ ซื้อ ขาย ดังกล่าวเป็น การ ซื้อ ขาย เสร็จ เด็ดขาด ตาม คุณภาพ คุณสมบัติ และ มาตรฐานที่ ปรากฏ ใน สินค้า ใน ขณะ ทำการ ซื้อ ขาย จำเลย ที่ 2 ไม่ รับ รู้เกี่ยวกับ เงื่อนไข หรือ ข้อ สัญญา ใดๆ ที่ โจทก์ ตกลง กับ บุคคล อื่น
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า การ ซื้อ ขาย สินค้า ตาม ฟ้อง ระหว่าง โจทก์กับ จำเลย ที่ 2 เป็น การ ซื้อ ขาย เสร็จ เด็ดขาด จำเลย ที่ 2 ไม่ รู้เงื่อนไข ข้อ ตกลง ระหว่าง โจทก์ กับ บุคคล ที่ 3 แม้ จำเลย ที่ 1ไม่ เข้า มา ต่อสู้ คดี แต่ ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ที่ 2 เป็น เหตุลักษณะ คดี ย่อม เป็น คุณ แก่ จำเลย ที่ 1 ด้วย จำเลย ทั้ง สอง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กันชำระ เงิน 241,563 บาท 33 สตางค์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อ ปี นับแต่ วัน ฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ ใช้ โจทก์ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 ปฏิเสธ ความ รับผิด ใน เรื่อง ความ ชำรุดบกพร่อง ของ สินค้า โดย อ้าง ว่า การ ซื้อขาย สินค้า พิพาท เป็น การซื้อ ขาย เสร็จ เด็ดขาด ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เห็น ว่า สัญญา ซื้อ ขายที่ ตกลง ทำ ไว้ กับ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ.2 และ จ.3 ก็ ดี บันทึกที่ นาย ชัยวัฒน์ รับ เงิน ค่า สินค้า และ รับรอง ความ ชำรุด บกพร่องของ สินค้า ตาม เอกสาร หมาย จ.4 ก็ ดี ปรากฏ มี ข้อความ พอ ให้ คู่สัญญาเข้าใจ ได้ ว่า สินค้า พิพาท จะ ถูก ส่ง ไป จำหน่าย ใน ต่างประเทศ นอกจาก นาง ศิริพร กับ นาย เวทย์ จะ เบิกความ ยืนยัน ว่า ก่อน ที่จะ ชำระ ค่า สินค้า ให้ นาย ชัยวัฒน์ จำเลย ที่ 2 ได้ ตกลง รับรองความ ชำรุด บกพร่อง ของ สินค้า แล้ว นาย ชัยวัฒน์ ซึ่ง เป้น ตัวแทนของ จำเลย ที่ 2 ยัง ได้ ลงชื่อ ใน บันทึก รับรอง ความ ชำรุด บกพร่องของ สินค้า ไว้ ด้วย ฝ่าย จำเลย มี แต่ จำเลย ที่ 2 คนเดียว เบิกความขึ้น ลอยๆ ว่า การ ซื้อ ขาย สินค้า พิพาท เป็น การ ซื้อ ขาย เสร็จเด็ดขาด จึง เห็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง รู้ ความ มุ่งหมาย ของ โจทก์ อยู่แล้ว ว่า โจทก์ ซื้อ สินค้า พิพาท ไป จำหน่าย ใน ต่างประเทศ สินค้านั้น เกิด ชำรุด บกพร่อง ทำ ให้ ผู้ซื้อ ใน ต่างประเทศ ปฏิเสธ ไม่ ยอมรับ ซื้อ สินค้า นั้น เป็น เหตุ ให้ โจทก์ ขาย สินค้า นั้น ไม่ ได้ดังนี้ จำเลย ทั้ง สอง ต้อง รับผิด ใน ความ ชำรุด บกพร่อง ของ สินค้านั้น โจทก์ บอก เลิก สัญญา และ เรียก ค่าเสียหาย ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215, 387, 391 และ มาตรา 472
ใน ปัญหา เรื่อง การ เรียก ค่า เสียหาย ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 บัญญัติ ไว้ ว่า ‘การ เรียกเอา ค่า เสียหาย นั้น ได้ แก่ เรียก ค่า สินไหม ทดแทน เพื่อ ความเสียหาย เช่น ที่ ตาม ปกติ ย่อม เกิดขึ้น แก่ การ ไม่ ชำระ หนี้ นั้นเจ้าหนี้ จะ เรียกค่า สินไหม ทดแทน ได้ แม้ กระทั่ง เพื่อ ความ เสียหายอัน เกิด แก่ พฤติการณ์ พิเศษ หาก ว่า คู่กรณี ที่ เกี่ยวข้อง ได้คาดเห็น หรือ ควร จะ ได้ คาดเห็น พฤติการณ์ เช่นนั้น ล่วงหน้า ก่อนแล้ว’ ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว ค่า เสียหาย ที่ จำเลย ทั้งสอง ต้อง รับผิด ใน คดี นี้ ก็ คือ เงิน ราคา สินค้า ที่ รับ ไป จากโจทก์ ค่า ที่ โจทก์ ได้ ชำระ ค่า ขนส่ง สินค้า ค่า วัสดุ สำหรับบรรจุ หีบห่อ สินค้า ที่ โจทก์ จัดซื้อ แล้ว ส่ง ให้ จำเลย และ ค่าโกดัง เก็บ สินค้า ซึ่ง ถือ ว่า เป็น ค่า เสียหาย พิเศษ ที่ จำเลย ควรจะ คาดคิด ล่วงหน้า ได้ ตาม เอกสาร หมาย จ.14 ถึง จ.26 รวม กัน เป็นเงิน 241,563 บาท 33 สตางค์ ซึ่ง เป็น หลักฐาน แสดงว่า โจทก์ เสียหายจริง
พิพากษา ยืน.