คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานพ.ศ.2528ข้อ9วรรค2ประกอบกับข้อ11ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น.ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลาดังนั้นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอกซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ14นั้นเป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้วโดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงานอนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง6เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น1ปีมาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2523 จำเลย จ้าง โจทก์ เป็นพนักงาน ต่อมา โจทก์ ลาออก จาก งาน และ จำเลย มี คำสั่ง อนุญาต เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 โจทก์ มี ระยะ เวลา ปฏิบัติ งาน 4 ปี 7 เดือน19 วัน จำเลย มี ข้อบังคับ ว่าด้วย กองทุน บำเหน็จ พนักงาน พ.ศ. 2528ถือว่า โจทก์ มี ระยะ เวลา ปฏิบัติงาน 5 ปี มี สิทธิ ได้ รับ เงินบำเหน็จ ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่วัน ผิดนัด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จสิ้น
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ทำงาน ยัง ไม่ ครบ 5 ปี จึง ไม่ มี สิทธิ ได้รับ บำเหน็จ
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ว่า ด้วย กองทุนบำเหน็จ พนักงาน กำหนด การ คำนวณ ระยะ เวลา ปฏิบัติงาน ไว้ ว่า ต้องทำงาน มา แล้ว ไม่ น้อยกว่า ห้า ปี บริบูรณ์ โจทก์ ทำงาน มา ยัง ไม่ ครบห้า ปี บริบูรณ์ จึง ไม่ มี สิทธิ รับ เงิน บำเหน็จ พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า โจทก์ ปฏิบัติงาน กับ จำเลยรวม ได้ 4 ปี 7 เดือน 19 วัน ปัญหา มี ว่า ระยะ เวลา ดังกล่าว จะ ถือว่า โจทก์ มี ระยะ เวลา ปฏิบัติงาน ครบ 5 ปี ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลยซึ่ง จะ ทำ ให้ โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน บำเหน็จ หรือไม่ เห็นว่าข้อบังคับ องค์การ คลังสินค้า ว่าด้วย กองทุน บำเหน็จ พนักงาน พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรค 2 ประกอบ กับ ข้อ 11 ระบุ กรณี ที่ พนักงาน จะ ได้ รับเงิน บำเหน็จ เมื่อ ลาออก โดย ได้ รับ อนุญาต ว่า ต้อง ทำงาน มา แล้วไม่ น้อยกว่า ห้า ปี บริบูรณ์ และ การ นับ เวลา ทำงาน สำหรับ คำนวณบำเหน็จ นั้น ให้ นับ ตั้งแต่ วันที่ พนักงาน เข้า ประจำ ทำงาน ในองค์การ คลังสินค้า จน ถึง วัน สุดท้าย ที่ พ้น จาก ตำแหน่ง หน้าที่ในองค์การ คลังสินค้า หัก ด้วย ระยะ เวลา ที่ ผู้นั้น ลา ดังนั้น ตามเกณฑ์ คำนวณ นับ เวลา ทำงาน ของ โจทก์ ตาม ข้อบังคับ ดังกล่าว จึงต้อง เริ่ม ตั้งแต่ วันที่ โจทก์ เริ่ม เข้า ทำงาน กับ จำเลย จน ถึงวันที่ โจทก์ ได้ รับ อนุญาต จาก จำเลย ให้ ลาออก ซึ่ง คำนวณ นับ เวลาทำงาน ของ โจทก์ ไม่ ถึง ห้า ปี บริบูรณ์ ข้อ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่าการ ที่ จะ พิพากษา ว่า โจทก์ จะ มี ระยะ เวลา ปฏิบัติงาน เท่าใดต้อง คำนวณ ตาม หลักเกณฑ์ ข้อ 14 ที่ กำหนด ว่า ‘การ คำนวณ บำเหน็จ นั้นให้ ตั้ง อัตรา เงินเดือน สุดท้าย คูณ ด้วย จำนวน ปี ของ การ ทำงาน โดยนับ 12 เดือน เป็น 1 ปี เศษ ของ ปี ถ้า ถึง 6 เดือน ให้ นับ เป็น1 ปีฯลฯ’ นั้น เห็นว่า ข้อกำหนด ดังกล่าว เป็น การ กำหนด เพื่อ คำนวณบำเหน็จ ที่ จะ จ่าย ให้ แก่ พนักงาน เมื่อ พนักงาน นั้น มี สิทธิ ที่จะ ได้ รับ บำเหน็จ แล้ว หา ใช่ เป็น เกณฑ์ คำนวณ นับ เวลา ทำงาน ของโจทก์ ที่ จะ มี สิทธิ รับ เงิน บำเหน็จ ไม่ โจทก์ จึง ไม่ มี สิทธิรับ เงิน บำเหน็จ คำพิพากษา ฎีกา ที่ 2410/2527 ที่ โจทก์ อ้าง มาข้อเท็จจริง ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ไม่ ตรง กับ ปัญหา ใน คดี นี้
พิพากษา ยืน.

Share