คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ของขวัญที่เป็นของใข้ในครอบครัวซึ่งญาติและเพื่อนของคู่สมรสมอบให้เนื่องในวันสมรสนั้นผู้ให้ย่อมมีเจตนาที่จะให้คู่สมรสได้ใช้สอยเมื่ออยู่ร่วมกันถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ให้รายใดได้แสดงเจตนาไว้เป็นพิเศษว่ามอบให้แก่คู่สมรสฝ่ายใดโดยเฉพาะแล้วแม้จะเป็นของที่มอบให้ก่อนวันแต่งงาน1วันก็ตามก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสตกเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474(1). ของใช้ในครอบครัวแม้จะเป็นของขวัญวันแต่งงานหรือเป็นของที่ซื้อมาหลังการสมรสแล้วก็ตามก็เป็นสินสมรส. เข็มขัดทองซึ่งเป็นของหมั้นให้แก่โจทก์นั้นเมื่อจำเลยได้ใช้ให้บุคคลภายนอกไปเอาคืนมาจากบิดาโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดคืนให้แก่โจทก์ด้วย.

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 หย่าขาด จาก โจทก์ หาก จำเลย ที่1 ไม่ จด ทะเบียน หย่า ให้ ถือ เอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนา ของจำเลย ที่ 1 ให้ จำเลย ทั้ง สาม คืน ทรัพย์ ตาม บัญชี ทรัพย์ ท้ายฟ้องรายการ ที่ 2, 6, 13, 14 แก่ โจทก์ หาก คืน ไม่ ได้ ให้ ใช้ เงิน134,300 บาท
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม คืน ทรัพย์ รายการที่ 5 อัน เป็น สินส่วนตัว ให้ แก่ โจทก์ อีก ด้วย หาก คืน ไม่ ได้ ให้ใช้ เงิน 5,600 บาท แก่ โจทก์ และ ทรัพย์ รายการ ที่ 1, 3, 4, 7, 8,9, 10, 11 และ 12 เป็น สินสมรส ให้ แบ่ง แก่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 คนละครึ่ง ถ้า แบ่ง กัน ไม่ ได้ ให้ ขาย ทอดตลาด แล้ว แบ่ง เงิน กัน คนละครึ่ง ส่วน เข็มขัด ทอง หนัก 20 บาท นั้น โจทก์ ไม่ ได้ มอบ ให้ จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 จำเลย ทั้ง สาม จึง ไม่ ต้อง คืน ให้ โจทก์ นอกจาก ที่แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ค่าฤชา ธรรมเนียม ชั้นอุทธรณ์ ให้ เป็น พับ
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ประเด็น ข้อแรก ที่ จะ วินิจฉัย ก็ คือ ทรัพย์ตาม บัญชี ทรัพย์ ท้ายฟ้อง รายการ ที่ 1, 3, 4, 8, 9, 10, 12 คือตู้เย็น ซันโย พัดลม ยืน และ ตั้งโต๊ะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เก้าอี้หวาย2 ตัวใหญ่ หมุนได้ ราวตากผ้า และ ชั้นตั้งของ เซฟเล็ก เตารีด เนชั่นแนลเป็น สินเดิม ของ โจทก์ หรือ ว่า เป็น สินสมรส โจทก์ และ จำเลย นำสืบรับกัน ว่า ทรัพย์ รายการ ที่ 1, , 4, 9, 10, 12 คือ ตู้เย็น ซันโยพัดลม ยืนตั้งโต๊ะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ราวตากผ้า และ ชั้นตั้งของ เซฟเล็กเตารีด เนชั่นแนล เป็น ของขวัญ ที่ ญาติ และ เพื่อน ของของ โจทก์ เนื่อง ใน วัน แต่งงาน และ ข้อเท็จจริงได้ ความ ว่า เป็น ของ ที่ มอบ ให้ โจทก์ ก่อน วัน แต่งงาน 1 วันพิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า ของ เหล่านี้ เป็น ของใช้ ใน ครอบครัว เป็นของ ที่ ให้ เนื่อง ใน โอกาส แต่งงาน ของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ผู้ให้ย่อม มี เจตนา ที่ จะ ให้ คู่สมรส ได้ ใช้สอย เมื่อ อยู่ ร่วมกันไม่ ปรากฏ ว่า ผู้ ให้ ราย ใด ได้ แสดง เจตนา ไว้ เป็น พิเศษ ว่า มอบให้แก่ โจทก์ โดยเฉพาะ ถือ ได้ ว่า เป็น ทรัพย์สิน ที่ คู่สมรส ได้ มา ในระหว่าง สมรส ตก เป็น สินสมรส ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474(1) ที่ ได้ ตรวจ ชำระ ใหม่ ส่วน ทรัพย์ ตาม รายการ ที่ 8 คือเก้าอี้หวาย 2 ตัว ใหญ่ หมุน ได้ นั้น โจทก์ นำสืบ ว่า เป็น ของขวัญแต่งงาน ซึ่ง ได้ รับ มา พร้อมกับ ของขวัญ อื่นๆ แต่ จำเลย นำสืบ ว่าเป็น ของ ที่ ซื้อ มา ภายหลัง แต่งงาน แล้ว เห็น ว่า ทรัพย์ รายการ ที่8 นี้ ถึงแม้ จะ ฟัง ว่า เป็น ของขวัญ วัน แต่งงาน หรือ ฟัง ว่า เป็นของ ที่ ซื้อ มา หลัง แต่งงาน แล้ว ก็ ตาม ก็ ไม่ ทำ ให้ ผล แห่งคำวินิจฉัย แตกต่าง กัน ไป คือ ต้อง ฟัง ว่า เป็น สินสมรส ที่ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ทรัพย์ รายการ ที่ 1, 3, 4, 8,9, 10, 12 เป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น
ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ก็ คือ เข็มขัดทอง ทรัพย์ ตาม รายการที่ 14 ซึ่ง เป็น ของหมั้น นั้น จำเลย ที่ 2 และ 3 ให้ นายเกียงชุ้น เอา คืน มา จาก บิดา โจทก์ ดัง ฟ้องหรือไม่ โจทก์ มี ตัวโจทก์ นาย จง บิดา โจทก์ นางสาว สุภาวดี ปรีชาบริสุทธิกุล และ นาย เป้งเส็งแซ่ลี้ เป็น พยาน เบิกความ ประกอบ กัน ว่า หลังจาก แต่งงาน แล้ว 3 วันโจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ นาง เกียงชุ้น ไป ที่ บ้าน โจทก์ โดย นายเกียงชุ้น บอก บิดา โจทก์ ว่า เข็มขัดทอง เป็น ของ จำเลย ที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องการ เอา คืน แล้ว จะ ซื้อ ให้ ใหม่ บิดา โจทก์ จึง คืนเข็มขัดทอง ให้ ไป นาย เกียงชุ้น ก็ เบิกความ ยอมรับ ว่า ได้ ไป บ้านบิดา โจทก์ พร้อมกับ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 จริง แต่ ปฏิเสธ ว่า ไม่ ได้พูด ขอ เข็มขัดทอง คืน แต่ อย่างใด เพียงแต่ ไป เป็น เพื่อน ใน ฐานะเป็น เถ้าแก่ เท่านั้น แต่ ตัว จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น บิดา จำเลย ที่1 เบิกความ ยอมรับ ว่า เข็มขัดทอง เป็น ของ จำเลย ที่ 3 ตอนแรก ได้ เคยพูดกับ นาย เกียงชุ้น ซึ่ง เป็น เถ้าแก่ ว่า เข็มขัดทอง ที่ เป็นของหมั้น นั้น ให้ เอา ไป จัดการ หมั้น แต่ เมื่อ เสร็จ แล้ว ให้ ขอ คืนมา แล้ว แลก เป็น เงินสด ให้ ไป ส่วน นาย เกียงชุ้น ซึ่ง เบิกความปฏิเสธ ว่า ไม่ ได้ พูด ขอ เข็มขัดทอง คืน จาก บิดา โจทก์ นั้น เห็น ว่า นาย เกียงชุ้น เป็น คน ของ ฝ่าย จำเลย ใช้ แซ่ เดียวกัน กับ จำเลยทั้ง สาม คำ ของ นาย เกียงชุ้น ที่ เบิกความ ปฏิเสธ ดังกล่าว แล้ว จึงยาก ที่ จะ รับฟัง ตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี พยานหลักฐาน โจทก์ มี น้ำหนักและ เหตุผล ฟัง ได้ ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ใช้ ให้ นายเกียงชุ้น ไป เอา เข็มขัดทอง ซึ่ง เป็น ของหมั้น คืน มา จาก บิดา โจทก์พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ข้อนี้ ไม่ มี น้ำหนักหักล้าง พยาน โจทก์ ได้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ต้อง รับผิด คืนเข็มขัดทอง ให้ แก่ โจทก์ ส่วน จำเลย ที่ 1 นั้น คดี ฟัง ไม่ ได้ ว่าได้ ร่วม เอา เข็มขัดทอง คืน มา จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2 และ 3 ไม่ ต้อง คืน เข็มขัดทอง แก่โจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ขึ้น’
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน คืนเข็มขัดทอง ของหมั้น หนัก 20 บาท ให้ แก่ โจทก์ หาก คืน ไม่ ได้ ให้ ใช้ราคา 116,000 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ค่าฤชา ธรรมเนียม ชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ

Share