คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่2เป็นนายจ้างจำเลยที่1และจำเลยที่1กระทำไปในทางการที่จ้างอันเป็นผลให้จำเลยที่2กับจำเลยที่4ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุต้องรับผิดร่วมในการละเมิดของจำเลยที่1ต่อโจทก์เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นดังกล่าวเลยการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีถ้อยคำสำนวนสนับสนุนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่2ที่4เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยกอุทธรณ์ของจำเลยที่2ที่4จึงเป็นการไม่ชอบ.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับรถ โดย ประมาท แซง ชน เฉี่ยว ท้ายรถคันหน้า ทำ ให้ รถ คันหน้า แฉลบ ไป ชน เสาไฟฟ้า ของ โจทก์ บน เกาะกลางถนน เสียหาย คิด เป็น เงิน 15,957 บาท จำเลย ที่ 1 ทำการ ละเมิดในทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น นายจ้าง จำเลย ที่ 3 เป็นเจ้าของ รถ คัน เกิดเหตุ ให้ จำเลย ที่ 2 เช่าซื้อ ไป จำเลย ที่ 4 เป็นผู้รับ ประกันภัยค้ำจุน จำเลย ทั้ง สี่ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ขอ ให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 15,957 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 มี ชื่อ เป็น เจ้าของ ใน ทะเบียนรถ คัน เกิดเหตุ จริง แต่ ได้ โอน กรรมสิทธิ์ ให้ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เชสแมนแฮตตัน จำกัด ตั้งแต่ ก่อน เกิดเหตุ แล้ว จำเลย ที่ 3ไม่ เคย ให้ จำเลย ที่ 2 เช่าซื้อ รถ คัน ดังกล่าว
จำเลย ที่ 4 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่2 ที่ 3 จำเลย ที่ 2 ที่ 3 จึง ไม่ ต้อง รับผิด จำเลย ที่ 4 ก็ ไม่ต้อง รับผิด เพราะ จำเลย ที่ 4 มี นิติสัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 2 ที่ 3เท่านั้น ตาม กรมธรรม์ประกันภัย จำเลย ที่ 4 ต้อง รับผิด ครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท และ ได้ ถูก เจ้าของ รถ คันหน้า ฟ้อง เรียกค่าเสียหาย ไว้ แล้ว 90,737.50 บาท คน ขับรถ คันหน้า ประมาท ฝ่ายเดียว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 ร่วมกัน ชดใช้ค่าเสียหาย 15,957 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 4 รับผิด รวม กับหนี้ ของ เจ้าหนี้ ราย อื่น ไม่ เกิน วงเงิน 100,000 บาท ตาม ที่ ระบุไว้ ใน กรมธรรม์ประกันภัย ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 3
จำเลย ที่ 2 ที่ 4 อุทธรณ์ ว่า ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย รับผิดโดย ไม่ มี ถ้อยคำ สำนวน สนับสนุน
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ศาลชั้นต้น ใช้ ดุลพินิจ วินิจฉัย ว่า จำเลยที่ 1 เป็น ลูกจ้าง และ ขณะ เกิดเหตุ ได้ ขับ รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ไปในทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 ที่ 4 อุทธรณ์ คัดค้านการ ใช้ ดุลพินิจ ของ ศาลชั้นต้น เป็น การ อุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง พิพากษา ยก อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 4
จำเลย ที่ 2 ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ ไม่เกิน สองหมื่น บาทต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ปัญหา วินิจฉัย มี ว่าศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง โดย มี ถ้อยคำ สำนวน สนับสนุน หรือไม่ ซึ่งปัญหา ข้อ นี้ เป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย ได้ พิเคราะห์ คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ แล้ว ไม่ ปรากฏ ว่า ศาลอุทธรณ์ ได้ หยิบยก พยานหลักฐาน ข้อใด อัน เป็น ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ เห็น ว่า ศาลชั้นต้น ยกขึ้นวินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่1 ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ในทางการที่จ้าง ตาม ฟ้อง อัน เป็น ผล ให้ จำเลยที่ 2 และ ที่ 4 ต้อง รับผิด ร่วม ใน การ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 ต่อโจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 4 เป็นอุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง และ ยก อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 4จึง เป็น การ ไม่ ชอบ แต่ ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ใน ปัญหา นี้เสีย เอง โดย ไม่ จำต้อง ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย อีกเห็นว่า ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง และกระทำการ ตาม ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 นั้น โจทก์ ไม่ มี พยานหลักฐาน มา สืบ ใน ประเด็น ข้อ นี้ เลย การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของศาลชั้นต้น จึง เป็น การ วินิจฉัย โดย ไม่ มี ถ้อยคำ สำนวน สนับสนุน แต่อย่างใด
พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษา ใหม่ใน ปัญหา ข้ออื่น ต่อไป ค่าฤชา ธรรมเนียม ชั้น นี้ ให้ รวม สั่ง ในคำพิพากษา ใหม่

Share