คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เงินค่าบริการที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นเงินที่นายจ้างคิดเพิ่มจากผู้ที่มาใช้บริการของโรงแรมอีกร้อยละสิบของค่าใช้จ่ายได้แก่ค่าที่พักและค่าบริการต่างๆและเจ้าหน้าที่ของนายจ้างจะเก็บรวบรวมไว้หากมีความเสียหายที่เกิดจากผู้ที่มาใช้บริการนายจ้างก็จะนำเงินดังกล่าวบางส่วนไปชดใช้ค่าเสียหายเหลือเท่าใดจึงนำไปแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่ากันซึ่งในแต่ละเดือนเป็นจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้ที่มาใช้บริการและค่าเสียหายดังกล่าวดังนี้เงินค่าบริการจึงเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกค้าแทนลูกจ้างโดยประสงค์ให้ตกเป็นของลูกจ้างทั้งหมดและกรณีนายจ้างเรียกเก็บไม่ได้เพราะไม่มีผู้มาใช้บริการนายจ้างก็ไม่มีข้อผูกพันว่าจะต้องจ่ายเงินค่าบริการแก่ลูกจ้างการที่ลูกจ้างจ่ายให้แก่นายจ้างโดยตรงเป็นเพียงวิธีปฏิบัติเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินโดยทั่วถึงกันเท่านั้นมิใช่เป็นการเรียกเก็บค่าบริการเอาเป็นของนายจ้างเองแล้วจัดแบ่งแก่ลูกจ้างในภายหลังเงินค่าบริการจึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ตำแหน่ง พนักงานทำ ความ สะอาด ต่อมา จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย อ้าง ว่า โจทก์ ปฏิบัติฝ่าฝืน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย กรณี ร้ายแรง จำเลย เลิกจ้างโดย มิได้ บอกกล่าว ล่วงหน้า หรือ จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า และ ไม่ จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ โจทก์ มิได้ กระทำ ความผิดตาม ที่ จำเลย กล่าวอ้าง การ เลิกจ้าง จึง เป็น การ เลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม ขอ ให้ รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่ง อัตรา ค่าจ้างและ สภาพ การจ้าง ไม่ ต่ำกว่า เดิม โดย ให้ นับ อายุงาน ติดต่อ กันเสมือน มิได้ เลิกจ้าง และ ให้ จ่าย ค่าเสียหาย เป็น เงินเดือน นับแต่วันที่ เลิกจ้าง จนกว่า จะ รับ โจทก์ เข้า ทำงาน หาก ไม่ ปฏิบัติ ตามให้ ใช้ ค่าเสียหาย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าชดเชย พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ตาม กฎหมาย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า เหตุ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ ใช้ไม้กวาด ขว้าง ผู้บังคับบัญชา เพราะ ไม่ พอใจ การ สั่งงาน ซึ่ง เป็นการ เจตนา ทำร้าย ร่างกาย และ ลบหลู่ หยาบคาย ต่อ ผู้บังคับบัญชาอัน เป็น ความผิด ร้ายแรง ตาม ข้อบังคับ การ ทำงาน จึง เป็น การเลิกจ้าง โดย ชอบ ด้วย ข้อ 47 แห่ง ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลย จึง ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ ไม่ ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า และ ไม่ ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า สาเหตุ แห่ง การ เลิกจ้าง ดังกล่าว ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ เลิกจ้างไม่ เป็นธรรม ส่วน เงิน ค่า บริการ เป็น เงิน เดือน ละ 4,000 บาท นั้นไม่ เป็น ค่าจ้าง อัน พึง นำ มา คำนวณ ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า เพราะ เป็น เงิน ที่ จำเลย เรียก เก็บ จาก ลูกค้าเป็น พิเศษ แล้ว นำ มา จ่าย ให้ โจทก์ ทั้ง เป็น จำนวน ไม่ แน่นอนขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน พิพากษา ให้ ยก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง เฉพาะประเด็น ข้อ 3 และ ข้อ 4 ให้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ใน ประเด็นดังกล่าว แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา ใหม่ แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ ค่าชดเชยค่าเสียหาย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อมด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ค่าชดเชย นับแต่ วันเลิกจ้าง และ ดอกเบี้ย ใน อัตรา เดียวกัน ใน ต้นเงิน ค่าเสียหาย และสินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า นับ แต่ วัน ฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ปัญหา ว่า เงิน ค่าบริการ เป็น ค่าจ้าง หรือไม่ นั้น ได้ ความ ว่า เงิน ค่า บริการ ที่จำเลย จ่าย แก่ โจทก์ และ พนักงาน ของ จำเลย นั้น เป็น เงิน ที่ จำเลยคิด เพิ่ม จาก ผู้ ที่ มา ใช้ บริการ ของ โรงแรม อีก ร้อยละ สิบ จากค่าใช้จ่าย (ค่า ที่พัก และ ค่า บริการ ต่างๆ) ตาม ปกติ แล้วเจ้าหน้าที่ การเงิน ของ จำเลย จะ เป็น ผู้ เก็บ รวบรวม ไว้ บางครั้งหาก มี ความ เสียหาย (ที่ เกิด จาก ผู้ ที่ มา ใช้ บริการ) จำเลย จะนำ เงิน นี้ บางส่วน ไป ชดใช้ ค่าเสียหาย เหลือ เท่าใด จึง นำ ไป แบ่งเฉลี่ย ให้ แก่ พนักงาน ทุก คน คนละ เท่ากัน ซึ่ง แต่ ละ เดือน พนักงานจะ ได้ รับ จำนวน ไม่ แน่นอน ขึ้น อยู่ กับ จำนวน ผู้ มา ใช้ บริการของ โรงแรม และ ที่พัก ชดใช้ ค่าเสียหาย แล้ว ศาลฎีกา เห็นว่า เงินค่าบริการ ซึ่ง จำเลย เรียก เก็บ จาก ลูกค้า เป็น เงิน ประเภท อื่นนอกเหนือ จาก ค่าตอบแทน ที่ ลูกค้า ได้ ใช้ บริการ อัน เป็น กิจการ ของจำเลย ผู้ เป็น นายจ้าง และ จำเลย เรียก เก็บ จาก ลูกค้า โดย มีวัตถุประสงค์ ที่ จะ ให้ เงิน ดังกล่าว ตก เป็น ของ ลูกจ้าง ทั้งหมดโดย ไม่ คำนึง ว่า เงิน ค่า บริการ นี้ จำเลย จะ เรียก เก็บ จาก ลูกค้าได้ มากน้อย เพียงใด ทั้ง ใน กรณี ที่ จำเลย เรียก เก็บ จาก ลูกค้า ไม่ได้ เพราะ ไม่ มี ผู้ มา ใช้ บริการ กิจการ ของ จำเลย หรือไม่ มี เงินค่าบริการ จำเลย ก็ ไม่ มี หน้าที่ ต้อง รับผิด หรือไม่ มี ข้อ ผูกพันว่า จะ ต้อง จ่าย เงิน ค่า บริการ ให้ แก่ ลูกจ้าง ฉะนั้น เงินค่าบริการ จึง เป็น เงิน ที่ จำเลย เรียก เก็บ แทน ลูกจ้าง ส่วน การ ที่ลูกค้า จ่าย ให้ แก่ จำเลย โดยตรง โดย ไม่ ได้ จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้างนั้น เป็น เพียง วิธี ปฏิบัติ โดย จำเลย ทำ หน้าที่ เป็น ผู้เก็บรวบรวม ไว้ แล้ว จัดแบ่ง ให้ แก่ ลูกจ้าง เพื่อ ให้ ลูกจ้าง ได้ รับเงิน ค่า บริการ โดย ทั่ว ถึง กัน มิได้ หมายความ ว่า จำเลย เรียก เก็บเงิน ค่า บริการ เอา เป็น ของ จำเลย แล้ว จัด แบ่ง ให้ แก่ ลูกจ้าง ในภายหลัง ดังนั้น เงิน ค่า บริการ จึง ไม่ ถือ ว่า เป็น ค่าจ้าง ตาม ที่กำหนด ไว้ ใน ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2ซึ่ง การ คำนวณ เงิน ประเภท ต่างๆ ต้อง นำ ไป เป็น ฐาน คำนวณ ด้วย
พิพากษา ยืน.

Share