แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
คำสั่งเลิกจ้างของจำเลยระบุข้อความว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากไม่อาจไว้วางใจให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ในธนาคารจำเลยต่อไปได้มิได้อ้างเหตุเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ทั้งสองทุจริตต่อหน้าที่และร่วมกันกระทำผิดอาญาข้ออ้างที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวจึงตกไปจำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้ไม่. จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุไม่ไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามข้อบังคับของจำเลยมิใช่เนื่องจากกระทำทุจริตต่อหน้าที่โดยตรงการที่จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อไปอีกจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีและการเลิกจ้างเพราะเหตุไม่ไว้วางใจไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583ที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าศาลแรงงานกลางชอบที่จะงดสืบพยานจำเลยได้.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย จำเลย เลิกจ้างโจทก์ ทั้ง สอง โดย ไม่ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ไม่ จ่าย ค่าชดเชยขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สองเนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สอง ทุจริต ต่อ หน้าที่ ร่วมกัน กระทำ ผิด อาญาโดย เจตนา ต่อ จำเลย ที่ 1 โดย ร่วมกัน นำ ใบสั่งจ่าย น้ำมัน เงินเชื่อของ จำเลย ที่ 1 ไป รับ น้ำมัน จาก สถานีบริการ น้ำมัน นำ ไป ใส่ รถยนต์เก๋ง ส่วนตัว ของ โจทก์ ทั้ง สอง อัน เป็น ความผิด ทาง วินัย ตามข้อบังคับ ของ จำเลย และ เป็น ความผิด อาญา จำเลย ที่ 1 ไม่อาจ ไว้วางใจให้ โจทก์ ทั้ง สอง ปฏิบัติ หน้าที่ ต่อไป ได้ จึง เลิกจ้าง โจทก์ทั้ง สอง จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ขอ ให้ ยกฟ้อง
วัน นัดพิจารณา โจทก์ ทั้ง สอง ขอ ถอน ฟ้อง จำเลย ที่ 2 ศาล อนุญาต
เมื่อ สืบพยาน จำเลย ได้ 1 ปาก โจทก์ จำเลย แถลงรับ ข้อเท็จจริง และเอกสาร บางฉบับ แล้ว ศาลแรงงานกลาง เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้วจึง ให้ งด สืบพยาน
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า คำสั่ง เลิกจ้าง ของ จำเลย เอกสารหมาย ล.4 ระบุ ข้อความ ว่า เหตุ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สองเนื่องจาก ไม่ อาจ ไว้วางใจ ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ปฏิบัติ หน้าที่ ในธนาคาร จำเลย ต่อไป ได้ คำสั่ง ฉบับนี้ มิได้ อ้าง เหตุ เลิกจ้างเนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สอง ทุจริต ต่อ หน้าที่ และ ร่วมกัน กระทำ ผิดอาญา ข้ออ้าง ที่ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง เพราะ โจทก์ ทั้งสอง กระทำ ความผิด ดังกล่าว จึง ตกไป จำเลย หา ได้ เลิกจ้าง โจทก์ เพราะเหตุนี้ ไม่ ฉะนั้น ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ถึง คำสั่ง เลิกจ้างเอกสาร หมาย ล.4 ว่า จำเลย ได้ สละ สิทธิ ไม่ ประสงค์ ให้ โจทก์ ทั้งสอง ออก จาก งาน เพราะ เหตุ ทุจริต ต่อ หน้าที่ ชอบ แล้ว
จำเลย ยอมรับ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง เพียง อาศัย เหตุ ไม่ไว้วางใจ ให้ ปฏิบัติ หน้าที่ ต่อไป ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ฉบับ ที่ 4 ข้อ 19 (2) ตาม เอกสาร หมาย ล.4 เท่านั้น โดย พิจารณา ถึง ความดี ของโจทก์ ทั้ง สอง มา ก่อน จำเลย จึง ไม่ ลงโทษ ถึง ไล่ ออก หรือ ให้ ออกใน กรณี กระทำ ผิด ทุจริต ต่อ หน้าที่ ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ฉบับที่9 ข้อ 5, 6 เมื่อ คดี ได้ ความ ว่า จำเลย มี คำสั่ง เลิกจ้าง โจทก์ทั้ง สอง โดย มิใช่ เนื่องจาก กระทำ ทุจริต ต่อ หน้าที่ โดยตรง การที่ จำเลย จะ นำสืบ ข้อเท็จจริง ต่อไป ว่า โจทก์ ทุจริต ต่อ หน้าที่และ กระทำ ผิด อาญา โดย เจตนา ต่อไป อีก ตาม ที่ จำเลย ต้องการ จึงไม่ เป็น ประโยชน์ แก่ คดี ประการ ใด และ เมื่อ ฟัง ได้ แล้ว ว่า จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง เพราะ เหตุ ไม่ ไว้วางใจ ไม่ ใช่ เพราะ โจทก์ทั้ง สอง ทุจริต หรือ กระทำ ผิด ต่อ นายจ้าง กรณี จึง ไม่ เข้า ข้อยกเว้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ที่ จำเลย จะ ไม่ ต้องจ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ที่ ศาลแรงงานกลาง สั่ง งดสืบพยาน จำเลย จึง ชอบ แล้ว
พิพากษา ยืน.