คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ในคดีก่อนศาลฎีกายกฟ้องโจทก์เพราะศาลไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอท้ายฟ้องได้โดยศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยชำระราคาที่ดินให้โจทก์จึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยอีกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148. ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้. การกำหนดราคาที่ดินที่จำเลยจะต้องชดใช้แก่โจทก์ต้องถือตามราคาในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ไม่ถือตามที่โจทก์เคยตีราคาในการเสียค่าขึ้นศาลในคดีก่อน.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน และ แทน กัน ชำระ ราคาที่ดิน โฉนด เลขที่ 1521 ตำบล ราชาเทวะ อำเภอ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เฉพาะ ส่วน ที่ โจทก์ มี สิทธิ เจ้าของ เนื้อที่ 35 ไร่3 งาน 60 ตารางวา เป็น เงิน 5,744,000 บาท พร้อมกับ ค่าเสียหาย เท่าดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ได้ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 1521 ทั้งแปลง มา โดย สุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน โจทก์ นำ คดีนี้ มา ฟ้อง เป็น การ ฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 251/2518 ของศาลจังหวัด สมุทรปราการ ขอ ให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 3 ชดใช้ ราคา ที่ดิน โฉนด เลขที่1521 เฉพาะ ส่วน ที่ โจทก์ มี สิทธิ เป็น เจ้าของ 35 ไร่ 3 งาน 60ตารางวา เป็น เงิน 2,872,000 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ฟ้อง โจทก์สำหรับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ให้ ยก
โจทก์ ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชดใช้เงิน 5,744,000 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ใน ปัญหา ข้อ แรก ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ว่าคดี ของ โจทก์ เป็น ฟ้อง ซ้ำ ศาลฎีกา เห็น ว่า ใน คดี ก่อน ศาลฎีกายกฟ้อง โจทก์ เพราะ คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ กระทบ กระเทือน ถึง สิทธิของ บุคคล ภายนอก ศาล ไม่ อาจ พิพากษา ให้ ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ได้เท่ากับ เป็น การ ยกฟ้อง เพราะ ฟ้อง ของ โจทก์ บกพร่อง โดย ที่ ศาลฎีกายัง ไม่ ได้ วินิจฉัย ว่า โจทก์ มี สิทธิ ที่ จะ เรียกร้อง ให้ จำเลยโอน ที่ดิน ดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง หรือไม่ ฉะนั้น แม้ ใน คดี นี้ โจทก์จะ ฟ้อง ขอ ให้ จำเลย ร่วมกัน ใช้ ราคา ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1521 โดยอ้าง เหตุ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ทำ กล ฉ้อฉล ให้ นาย พูน โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 1521 ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 เช่นเดียว กับ ที่ โจทก์ เคยอ้าง ใน คดี ก่อน ก็ ตาม แต่ เมื่อ ใน คดี ก่อน ศาล ยัง ไม่ ได้วินิจฉัย ว่า โจทก์ มี สิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 โอนที่ดิน ให้ โจทก์ หรือ ไม่ คำฟ้อง ของ โจทก์ ใน คดี นี้ ที่ ขอ ให้จำเลย ชำระ ราคา ที่ดิน ให้ โจทก์ จึง ไม่ ใช่ ประเด็น ที่ ศาล ได้วินิจฉัย แล้ว อัน จะ เป็น การ ต้องห้าม มิให้ โจทก์ นำ มา ฟ้อง จำเลยที่ 1 ที่ 2 อีก ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ใน ข้อ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ว่า ได้ รับ ความ คุ้มครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 โดย อ้าง ว่า ศาลฎีกา ใน คดีก่อนไม่ ได้ ชี้ขาด ว่า จำเลย ทั้ง สอง ทำ กล ฉ้อฉล นาย พูน จำเลย ทั้ง สองไม่ ได้ ทำ กล ฉ้อฉล เมื่อ โจทก์ ยัง ไม่ ได้ ฟ้อง ขอ ให้ เพิกถอน กลฉ้อฉล และ ศาล ยัง ไม่ ได้ พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วม ทำ กลฉ้อฉล โจทก์ จะ ฟ้อง เรียก ราคา ที่ดิน ไม่ ได้ เพราะ จำเลย ทั้ง สองได้ ที่ดิน มา โดย สุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน ทั้ง ได้ จด ทะเบียน โดยสุจริต แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ศาลฎีกา เห็นว่าแม้ จำเลย ทั้ง สอง จะ ได้ ให้การ ว่า ได้ ที่ดิน มา โดย สุจริต และเสีย ค่าตอบแทน อัน อาจ แปล ได้ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ยก มาตรา 1299 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขึ้น ต่อสู้ ไว้ แล้ว แต่ ใน ชั้นอุทธรณ์จำเลย ทั้ง สอง หา ได้ ตั้ง ประเด็น ข้อ นี้ ไว้ ใน คำแก้ อุทธรณ์ ไม่ประเด็น ข้อ นี้ จึง ไม่ ใช่ ข้อ ที่ ได้ ว่ากล่าว มา แล้ว ในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่ อาจ รับ วินิจฉัย ให้ ได้
ใน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 จะ ต้อง ชำระ ราคา ที่ดิน ให้โจทก์ เป็น จำนวน เท่าใด ใน ปัญหา นี้ ศาลอทุธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ต้อง ใช้ ราคา ที่ดิน ตาม ราคา ใน ขณะ ที่ โจทก์ ยื่นฟ้องซึ่ง โจทก์ นำสืบ ฟัง ได้ ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1520 มี ราคา ตารางวาละ 400 บาท จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ต้อง ใช้ ราคา ที่ดิน ให้ โจทก์ รวม5,744,000 บาท จะ ถือ ว่า ที่ดิน มี ราคา เพียง 1,750,000 บาท ตาม ที่โจทก์ เคย ตีราคา ใน การ เสีย ค่าขึ้นศาล ใน คดีก่อน หา ได้ ไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ว่า การ วินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ทำ ให้ มี การ ตีราคาที่ดิน ขึ้น เอง เพื่อ โกง ค่าธรรมเนียม ศาล ได้ และ ขณะที่ โจทก์ยื่นฟ้อง คดีนี้ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1521 มี ราคา ไร่ละ 100 บาท รวมเป็น เงิน 1,750,000 บาท ตาม ราคา ที่ โจทก์ ตั้ง มา ใน คดีก่อนเท่านั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ ถือ ราคา ทุนทรัพย์ใน คดีก่อน ซึ่ง ฟ้องร้อง กันใน ปี 2516 มา เป็น ราคา ทรัพย์สิน ในคดี นี้ ซึ่ง ฟ้องร้อง กัน ใน ปี 2523 เป็น เวลา ห่างกัน รวม 7 ปี นั้นชอบด้วย เหตุผล แล้ว จำเลย มิได้ โต้แย้ง ว่า ราคา ที่ดิน ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา ไม่ ถูกต้อง ด้วย เหตุ อื่น อีก ฎีกา ของ จำเลยใน ข้อ นี้ จึง ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.

Share