คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยและพยานที่ลงชื่อไว้ต่อหน้าศาลและที่ลงชื่อไว้ในด้านหน้าของสัญญาจะซื้อขายเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ที่ลงชื่อไว้ในด้านหลังของสัญญาจะซื้อขายแล้วมีความเห็นว่าลายมือชื่อที่ตรวจทั้งสองแห่งไม่ใช่เป็นลายมือชื่อของบุคคลเดียวกันความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญจะมิได้มาเบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ก็เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา130.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2522 โจทก์ กับ จำเลย ได้ตกลง ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ตาม น.ส.3 เลขที่ 891/839 ทะเบียน เล่ม39 หน้า 170 อยู่ หมู่ที่ 4 ตำบล เนินพระ อำเภอ เมืองระยอง จังหวัดระยอง เนื้อที่ 2 ไร่ 96 ตารางวา ของ จำเลย ใน ราคา9,000 บาท ตกลง จะ ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ใน วันที่ 27พฤศจิกายน 2522 จำเลย ได้ รับ เงิน มัดจำ ไป จาก โจทก์ จำนวน 7,000 บาทหาก จำเลย ผิด สัญญา ยอม ให้ ฟ้อง บังคับ ตาม สัญญา และ ยินยอม ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ จำนวน 3,500 บาท ต่อมา วันที่ 25 พฤศจิกายน 2522โจทก์ ได้ ชำระ ราคา ส่วน ที่ เหลือ อีก 2,000 บาท ให้ จำเลย และ ตกลงกัน ใหม่ ว่า จำเลย จะ ไป จด ทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ภายใน เดือนมกราคม 2523 หาก ผิด สัญญา ไม่ โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ภายใน กำหนด จำเลยยอม ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 40,000 บาท ต่อมา วันที่ 27พฤศจิกายน 2522 โจทก์ และ จำเลย ได้ ไป ยัง สำนักงาน ที่ดิน อำเภอเมืองระยอง เพื่อ ยื่น เรื่องราว ขอ ขาย ที่ดิน ครั้น เมื่อ ครบ กำหนดตาม สัญญา จำเลย กลับ บิดพลิ้ว ไม่ ยอม จด ทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ขอ ให้ ศาล บังคับ จำเลย ไป จด ทะเบียน โอน ที่ดิน ดังกล่าว แก่ โจทก์หาก จำเลย ไม่ ยอม โอน ก็ ให้ ถือ เอา คำพิพากษา เป็น การ แสดง เจตนาแทน จำเลย ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 40,000 บาทด้วย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ ได้ รับ เงิน ส่วน ที่ เหลือ 2,000 บาทจาก โจทก์ และ ไม่ เคย ตกลง ว่า จะ ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 40,000 บาทเอกสาร การ รับ เงิน ตลอดจน ข้อความ ที่ ว่า จำเลย ยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย 40,000 บาท ที่อยู่ ด้านหลัง สัญญา จะซื้อขาย ท้ายฟ้อง นั้น เป็นเอกสาร ที่ โจทก์ กับพวก ได้ ร่วมกัน ปลอมขึ้น โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ไม่ ไป จด ทะเบียน โอน ที่ดิน จำเลย จึง ริบ เงิน มัดจำ และสัญญา เป็น อัน เลิก กัน ขอ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา ไม่ ชำระ ราคาที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่ จำเลย ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ จำเลย โอน ที่ดิน พิพาท แก่ โจทก์ หากจำเลย ไม่ ยอม โอน ให้ ถือ เอา คำพิพากษา เป็น การ แสดง เจตนา แทนจำเลย ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น จำนวนเงิน 15,000 บาท
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ทาง ฝ่าย จำเลย ได้ ขอ ให้ ศาล ส่ง ลายมือชื่อใน ช่อง ผู้จะขาย และ ลายมือชื่อ ใน ช่อง พยาน ที่ ลง ไว้ ใน บันทึกการ รับ เงิน 2,000 บาท ซึ่ง อยู่ ด้านหลัง ของ สัญญา จะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.1 ซึ่ง โจทก์ อ้าง ว่า เป็น ลายมือชื่อ ของ จำเลย และ นาย จ้อนนั้น ไป ให้ ผู้เชี่ยวชาญ กองพิสูจน์ หลักฐาน กรมตำรวจ เพื่อ ตรวจพิสูจน์ เทียบเคียง ลายมือชื่อ จำเลย และ นาย จ้อน รอดพ้น ซึ่งลงชื่อ ไว้ ต่อหน้า ศาล และ เทียบเคียง กับ ลายมือชื่อ จำเลย และนาย จ้อน ที่ ลง ไว้ ใน ด้านหน้า ของ เอกสาร หมาย จ.1 ผู้เชี่ยวชาญ ได้ทำ การ ตรวจพิสูจน์ แล้ว มี ความเห็น ว่า ลายมือชื่อ ใน ช่อง ผู้จะขายและ ใน ช่อง พยาน ซึ่ง อยู่ ด้านหลัง ของ เอกสาร หมาย จ.1 นั้น ไม่ ใช่ลายมือชื่อ ของ บุคคล คนเดียวกัน กับ ลายมือชื่อ ตัวอย่าง และลายมือชื่อ ของ จำเลย และ นาย จ้อน ที่ ลง ไว้ ใน ด้านหน้า ของ เอกสารหมาย จ.1 ดัง ปรากฏ รายละเอียด ตาม รายงาน การ ตรวจพิสูจน์ ที่ผู้เชี่ยวชาญ ได้ ส่ง ศาล ไว้ ความเห็น ของ ผู้เชี่ยวชาญ ดังกล่าว นั้นถึงแม้ ผู้เชี่ยวชาญ จะ มิได้ มา เบิกความ ประกอบ รายงาน การตรวจพิสูจน์ ก็ เป็น พยาน หลักฐาน ที่ รับ ฟัง ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 เมื่อ ผล ของ การตรวจพิสูจน์ ลายมือชื่อ ผู้จะขาย และ พยาน ใน บันทึก การ รับ เงินด้านหลัง เอกสาร หมาย จ.1 เป็น เช่นนี้ ที่ โจทก์ อ้าง ว่า ได้ ชำระเงินส่วน ที่ เหลือ อีก 2,000 บาท ให้ แก่ จำเลย ไป แล้ว นั้น จึง เชื่อ ฟังไม่ ได้ คดี มี เหตุผล น่าเชื่อ ว่า เมื่อ โจทก์ และ จำเลย ไป ยื่นเรื่องราว ขอ โอน ที่ดิน เมื่อ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2522 นั้น โจทก์จำเลย ได้ ตกลง กัน ว่า จะ ไป จัดการ จดทะเบียน โอน ที่ดิน และ ชำระเงินส่วน ที่ เหลือ ใน วันที่ 28 ธันวาคม 2522 แต่ โจทก์ ไม่ ไป ตาม นัดโจทก์ จึง เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา ไม่ มี สิทธิ ที่ จะ นำ คดี มา ฟ้องซึ่ง ศาลฎีกา ไม่ จำต้อง วินิจฉัย ถึง ประเด็น ข้ออื่น อีก ต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน โอน ที่ พิพาท แก่ โจทก์และ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ให้ โจทก์ ใช้ ค่าฤชา ธรรมเนียม ทั้งสาม ศาล แทน จำเลย โดย กำหนด ค่าทนายความ รวม 3,000 บาท

Share