คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง ภาระจำยอม ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++ +++++++++++++++++++++++++ ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ติดต่อกัน และทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 ติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยซึ่งในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ จำเลยได้สร้างทางกว้าง 5 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินประมาณ 50 เมตร ไปเชื่อมต่อกับซอยโรจน์นิมิตรเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ บุคคลที่อยู่อาศัยในที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ได้ใช้ทางในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2535 จำเลยและบริวารได้ตัดต้นไม้ที่อยู่ชิดแนวเขตระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยแล้วสร้างรั้วคอนกรีตเป็นกำแพงตลอดแนวเขตที่ดินของจำเลยปิดกั้นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์และบุคคลที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่สามารถใช้ทางของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทางกว้าง 5 เมตร ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่โฉนดที่ดินเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์หรือไม่ โจทก์เบิกความว่าโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ทั้งสองแปลงมาจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 โดยซื้อในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการอยู่ แล้วต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2534 จึงได้โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อของโจทก์ ขณะซื้อมีทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ถนนในที่ดินของจำเลยอยู่แล้ว และขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมานั้น ในที่ดินของโจทก์มีผู้พักอาศัยอยู่ประมาณ 40 คน โจทก์ไม่เคยเข้าไปพักอาศัยในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่ซื้อมาเลย แต่โจทก์จะเข้าไปดูที่ดินของโจทก์ปีละหลายครั้งเห็นได้ว่าตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 มาตั้งแต่ในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด โจทก์หรือบริษัทดังกล่าวไม่เคยเข้าไปพักอาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เลย โจทก์มีนางชูศรีช้างต่อ มาเบิกความเป็นพยานว่า นางชูศรีพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 205/ขซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาตั้งแต่นางชูศรีเกิดเป็นเวลา 48 ปี แล้วและได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกมาประมาณ 10 ปี แล้ว ในที่ดินของโจทก์มีบ้านปลูกอยู่ 5 หลัง แต่ได้รื้อไปแล้ว 1 หลัง และนางชูศรีไม่ทราบว่าบิดามารดานางชูศรีเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์นี้ได้อย่างไรเห็นว่า นางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้พักอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาก่อนที่โจทก์จะเข้ามาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ปรากฏว่านางชูศรีหรือบุคคลอื่นที่พักอาศัยในที่ดินของโจทก์ดังกล่าวได้อยู่อาศัยโดยได้รับมอบหมายจากเจ้าของที่ดินเดิมอย่างไรหรือไม่โจทก์เองก็เบิกความรับว่าบุคคลผู้ที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์นั้นมิได้เป็นผู้เช่าบ้าน และมิใช่ญาติพี่น้องของโจทก์ ทุกคนอยู่มาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินดังกล่าว เพียงแต่โจทก์ยินยอมให้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไปเท่านั้น แสดงว่านางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่ใช่บริวารของโจทก์หรือของเจ้าของที่ดินคนก่อน การใช้ทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ของบุคคลผู้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น มิใช่เพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 แต่อย่างใด การที่บุคคลเหล่านี้ใช้ทางในที่ดินของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่การใช้แทนหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินเดิมหรือของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงโดยมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม แม้บุคคลดังกล่าวจะได้ใช้ทางนั้นมาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ไม่ทำให้ทางกว้าง 5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า ทางกว้าง5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางซื่อกรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่3596 และ 4855 ของโจทก์ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์มาเกิน 10 ปี แล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 1,500 บาทแทนจำเลย.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ๒ แปลง ติดกันตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่รวมกันประมาณ ๒ ไร่ โดยซื้อมาจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในปี ๒๕๒๓ ใช้ชื่อในการซื้อว่าบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการอยู่ ในปี ๒๕๓๔เมื่อบริษัทดังกล่าวจดทะเบียนเลิกกิจการ โจทก์จึงได้โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินของโจทก์แปลงโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ ทิศเหนือจดที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๕๙๗ ซึ่งที่ดินของจำเลยทิศใต้ที่จดที่ดินของโจทก์เป็นทางกว้าง ๕ เมตร ยาวประมาณ ๕๐ เมตร ชื่อซอยโรจน์นิมิตร โจทก์และบริวารรวมทั้งชาวบ้านได้ใช้ทางดังกล่าวเป็นทางรถยนต์ออกสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์และแม่น้ำเจ้าพระยามานานเกิน๑๐ ปี โดยความสงบและโดยเปิดเผย โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางดังกล่าวแล้วตามกฎหมาย ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๓๕ จำเลยและบริวารได้ตัดต้นไม้ที่อยู่ชิดแนวรั้วระหว่างที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ ๓๕๙๗ของจำเลยกับที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ ของโจทก์แล้วสร้างกำแพงยาวประมาณ ๕๐ เมตร ระหว่างที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวปิดกั้นทางออกของโจทก์ซึ่งกว้างประมาณ ๕ เมตร และยังสร้างประตูกั้นบนทางภาระจำยอมดังกล่าว ตามแผนที่สังเขปและสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๕ และ ๖ ทำให้โจทก์และบริวารไม่สามารถเดินและใช้รถยนต์เข้าออกได้ตามที่เคยเป็นมา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยเปิดทาง แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวรจนครบาลบางพลัดและฟ้องคดีต่อศาล จำเลยได้ให้คนมาเจรจารับปากว่าจะเปิดทางภาระจำยอมให้ โจทก์หลงเชื่อจึงยอมถอนฟ้องแต่จำเลยกลับไม่ยอมเจรจายังคงปิดทางภาระจำยอมเช่นเดิม ขอให้บังคับจำเลยให้รื้อถอนรั้วกำแพงที่ปิดกั้นทางเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์กับทางภาระจำยอมที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะซอยโรจน์นิมิตรหรือซอยจรัญสนิทวงศ์ ๘๔ เป็นทางเข้าออกกว้าง ๕ เมตร และให้เปิดประตูเข้าออกได้ตลอดเวลาให้จำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าวถ้าจำเลยไม่รื้อถอนหรือไปจดทะเบียน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลย แล้วให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน กับห้ามจำเลยและบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องกับทางภาระจำยอมต่อไป
จำเลยให้การว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดเจนว่าที่ดินของจำเลยส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์มีความกว้างยาวเท่าใด แนวเขตที่ดินตามคำฟ้องและที่ปรากฏในเอกสารท้ายคำฟ้องก็ไม่ชัดเจนพอ โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๖๙๑/๒๕๓๕ของศาลชั้นต้น โดยอ้างสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว การที่โจทก์ถอนฟ้องคดีดังกล่าวเป็นเรื่องของโจทก์ของ มิใช่เกิดจากข้อตกลงที่จำเลยจะเปิดทางให้แต่อย่างใด จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๗ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ดินของจำเลยด้านหนึ่งติดแม่น้ำเจ้าพระยา จำเลยได้สร้างเขื่อนคอนกรีตรอบอาณาเขตที่ดินของจำเลยมาประมาณ ๓๐ ปี แล้วเพื่อมิให้น้ำกัดเซาะที่ดินของจำเลยและเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงอาณาเขตที่ดินของจำเลย จำเลยได้ทำทางบริเวณเขื่อนนี้เป็นถนนออกสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ถนนซอยโรจน์นิมิตรเป็นถนนส่วนบุคคล มีบุคคลหลายคนร่วมกันออกค่าใช้จ่ายก่อสร้างโดยต่างสงวนสิทธิ มิได้ปล่อยปละละเลยหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ทางดังกล่าวอย่างทางภาระจำยอม โจทก์เพิ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำฟ้องเมื่อปี ๒๕๓๔ โดยซื้อมาจากบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัดซึ่งเป็นบริษัทของมารดาโจทก์ในราคาต่ำเพราะโจทก์ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์และบริวารไม่เคยใช้ทางบริเวณเขื่อนตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์และบริวารใช้ทางเดินไม้ออกจากบ้านของแต่ละคนสู่ถนนซึ่งเป็นที่ดินของจำเลยและออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น การใช้ทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยต้องขออนุญาตต่อจำเลย มิได้ใช้ทางเดินโดยความสงบและโดยเปิดเผย บางครั้งเป็นการใช้ทางเดินโดยถือวิสาสะเพราะบางคนที่อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์เป็นบุคคลที่คุ้นเคยกับจำเลย จำเลยได้ให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินเพื่อขนทราย โดยมีข้อตกลงให้ผู้เช่าทำถนนในที่ดินของจำเลยซึ่งเดิมเป็นถนนดินและขรุขระให้เรียบร้อย ผู้เช่าทำถนนดังกล่าวเรียบร้อยก่อนที่โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่เนื่องจากทรัพย์สินของผู้เช่าสูญหายบ่อยครั้ง จำเลยจึงได้สร้างรั้วกำแพงคอนกรีตขึ้นตามแนวสันเขื่อน การใช้สิทธิของจำเลยเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ฟ้องคดีเพื่อต้องการนำที่ดินของจำเลยไปสร้างคอนโดมิเนียม ซึ่งจะทำให้ที่ดินของโจทก์มีมูลค่าสูงขึ้น ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชา-ธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความให้ ๓,๐๐๐ บาท
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์๑,๕๐๐ บาท แทนจำเลย
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ตำบลบางอ้อ อำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่รวมกันประมาณ๒ ไร่ อยู่ในซอยโรจน์นิมิตร (ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๘๔) โดยโจทก์ซื้อมาในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการอยู่เมื่อวันที่๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๓ ต่อมาวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๔ โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อของโจทก์ ตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.๑ และ จ.๒ จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่๓๕๙๗ ซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์ โจทก์และบริวารพร้อมชาวบ้านละแวกใกล้เคียงได้ใช้ทางระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยเป็นทางเดินและทางรถยนต์ผ่านเข้าออกโดยไม่มีบุคคลใดโต้แย้งคัดค้านมากว่า๑๐ ปี แล้ว ประมาณเดือนกันยายน ๒๕๓๕ จำเลยและบริวารได้ตัดต้นไม้ที่อยู่ชิดแนวรั้วระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลย แล้วสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นทางดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์และบริวารไม่สามารถใช้ทางดังกล่าวได้อีกต่อไป โจทก์จึงได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล-บางพลัดและฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้น แต่ต่อมาโจทก์ได้ถอนฟ้องเนื่องจากจำเลยตกลงจะเปิดทางให้ตามคดีหมายเลขดำที่ ๓๖๙๑/๒๕๓๕ หมายเลขแดง-ที่ ๑๐๕๕/๒๕๓๖ ของศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์ถอนฟ้อง จำเลยกลับไม่เจรจากับโจทก์
จำเลยนำสืบว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๗ ทิศตะวันออกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้จดที่ดินของโจทก์เดิมที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นของนางหนะไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะเวลาหน้าน้ำน้ำจะท่วม จากบ้านจำเลยจะออกสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ได้ต้องผ่านซอยจรัญสนิทวงศ์ ๘๔ ซึ่งเป็นถนนส่วนบุคคล มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ บุคคลใดจะผ่านเข้าออกซอยดังกล่าวจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของก่อนรวมทั้งนางหนะและบริวารด้วย ระหว่างที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยมีเขื่อนซึ่งจำเลยก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี ๒๕๐๘เพื่อป้องกันน้ำเซาะที่ดินเป็นแนวแบ่งเขต เดิมบุคคลที่อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ใช้ทางเดินที่เป็นสะพานไม้เดินออกสู่ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๘๔ต่อมาประมาณปี ๒๕๒๘ นายไพโรจน์ ศรีตระกูลพันธ์ ซึ่งได้รื้อบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ก่อนจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ประสงค์จะขนย้ายวัสดุผ่านที่ดินของจำเลย จึงได้ขออนุญาตสร้างทางที่โจทก์อ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมขึ้น ตามหนังสือขออนุญาตเอกสารหมาย ล.๑๐ จำเลยอนุญาต หลังจากนั้นบุคคลที่อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ก็ใช้ทางดังกล่าวโดยพลการเรื่อยมา จำเลยก็มิได้ห้ามปราม เพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่เมื่อนายกมล ศุภปธรรม ซึ่งเช่าที่ดินของจำเลยทำท่าทรายและเป็นผู้ทำถนนคอนกรีตจากคอสะพานซอยโรจน์นิมิตรจนถึงบ้านจำเลยได้ร้องเรียนต่อจำเลยว่าทรัพย์สินของนายกมลซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่ท่าทรายสูญหายบ่อยครั้ง จำเลยจึงได้สร้างรั้วกำแพงบนแนวสันเขื่อนปิดกั้นทางที่นายไพโรจน์ทำขึ้น โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้น แต่โจทก์ก็ได้ถอนฟ้องเองโดยจำเลยมิได้ขอร้องแต่อย่างใด ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยเจรจาขอผ่านทางพิพาทโดยเสนอให้เงินตอบแทนแก่จำเลย แต่จำเลยไม่ยินยอม
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ติดต่อกัน และทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ ติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๗ ของจำเลยซึ่งในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ จำเลยได้สร้างทางกว้าง ๕ เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินประมาณ ๕๐ เมตร ไปเชื่อมต่อกับซอยโรจน์นิมิตรเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ บุคคลที่อยู่อาศัยในที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ได้ใช้ทางในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะเมื่อประมาณเดือนกันยายน ๒๕๓๕ จำเลยและบริวารได้ตัดต้นไม้ที่อยู่ชิดแนวเขตระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยแล้วสร้างรั้วคอนกรีตเป็นกำแพงตลอดแนวเขตที่ดินของจำเลยปิดกั้นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์และบุคคลที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่สามารถใช้ทางของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทางกว้าง ๕ เมตร ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๗ ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ ของโจทก์หรือไม่ โจทก์เบิกความว่าโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ ทั้งสองแปลงมาจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๓ โดยซื้อในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการอยู่ แล้วต่อมาในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๔ จึงได้โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อของโจทก์ ขณะซื้อมีทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ถนนในที่ดินของจำเลยอยู่แล้ว และขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมานั้น ในที่ดินของโจทก์มีผู้พักอาศัยอยู่ประมาณ ๔๐ คน โจทก์ไม่เคยเข้าไปพักอาศัยในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่ซื้อมาเลย แต่โจทก์จะเข้าไปดูที่ดินของโจทก์ปีละหลายครั้งเห็นได้ว่าตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ มาตั้งแต่ในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด โจทก์หรือบริษัทดังกล่าวไม่เคยเข้าไปพักอาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เลย โจทก์มีนางชูศรีช้างต่อ มาเบิกความเป็นพยานว่า นางชูศรีพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ ๒๐๕/ขซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาตั้งแต่นางชูศรีเกิดเป็นเวลา ๔๘ ปี แล้วและได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกมาประมาณ ๑๐ ปี แล้ว ในที่ดินของโจทก์มีบ้านปลูกอยู่ ๕ หลัง แต่ได้รื้อไปแล้ว ๑ หลัง และนางชูศรีไม่ทราบว่าบิดามารดานางชูศรีเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์นี้ได้อย่างไรเห็นว่า นางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้พักอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาก่อนที่โจทก์จะเข้ามาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ปรากฏว่านางชูศรีหรือบุคคลอื่นที่พักอาศัยในที่ดินของโจทก์ดังกล่าวได้อยู่อาศัยโดยได้รับมอบหมายจากเจ้าของที่ดินเดิมอย่างไรหรือไม่โจทก์เองก็เบิกความรับว่าบุคคลผู้ที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์นั้นมิได้เป็นผู้เช่าบ้าน และมิใช่ญาติพี่น้องของโจทก์ ทุกคนอยู่มาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินดังกล่าว เพียงแต่โจทก์ยินยอมให้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไปเท่านั้น แสดงว่านางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่ใช่บริวารของโจทก์หรือของเจ้าของที่ดินคนก่อน การใช้ทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ของบุคคลผู้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น มิใช่เพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ แต่อย่างใด การที่บุคคลเหล่านี้ใช้ทางในที่ดินของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่การใช้แทนหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินเดิมหรือของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงโดยมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม แม้บุคคลดังกล่าวจะได้ใช้ทางนั้นมาเกินกว่า ๑๐ ปี แล้วก็ไม่ทำให้ทางกว้าง ๕ เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๗ ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ ของโจทก์พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า ทางกว้าง๕ เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๕๙๗ ตำบลบางอ้อ อำเภอบางซื่อกรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่๓๕๙๖ และ ๔๘๕๕ ของโจทก์ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์มาเกิน ๑๐ ปี แล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา ๑,๕๐๐ บาทแทนจำเลย.

Share