แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ “มาราบู” เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ “มาราบู” บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ “มาราบู” ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ “มาราบู” ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
ย่อยาว
คดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนมาจากศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๖
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศเวอร์จิน ไอส์แลนด์ และโจทก์ที่ ๑ ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ โจทก์ที่ ๒ และจำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม๒๕๓๗ จำเลยได้สั่งซื้อเหล็กท่อน จำนวน ๖,๖๕๘ เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งอยู่ในเมืองฮ่องกง และผู้ขายได้ว่าจ้างโจทก์ที่ ๑ ขนส่งสินค้าดังกล่าวมาทางเรือ “มาราบู” เพื่อส่งมอบแก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ และโจทก์ที่ ๑ ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ ๒ ให้เป็นตัวแทนในการติดต่อกับจำเลย ต่อมาเมื่อเรือ “มาราบู” มาถึงเกาะสีชังในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๗ ได้มีการขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งในการรับมอบสินค้านั้น จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือหาหลักประกันมาให้ตามสมควร จำเลยอ้างว่ายังไม่ได้รับต้นฉบับใบตราส่งจากผู้ขายแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าไปก่อนจึงขอทำหนังสือประกันความรับผิดมอบไว้ให้ โจทก์ทั้งสองจึงมอบสินค้าให้ตัวแทนของจำเลยรับไปเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๗ แล้วจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง และไม่ชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ผู้ขายจึงเรียกร้องให้โจทก์ทั้งสองส่งมอบสินค้าคืนแก่ผู้ขาย โดยอ้างเหตุว่าผู้ขายยังเป็นผู้ครอบครองใบตราส่งอยู่ แต่โจทก์ทั้งสองไม่สามารถส่งมอบสินค้าคืนได้ ผู้ขายจึงฟ้องโจทก์ที่ ๑ ต่อศาลเมืองฮ่องกง ศาลเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ให้โจทก์ที่ ๑ ชดใช้เงินจำนวน ๑,๔๕๘,๒๗๓.๖๐ ดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ขาย เนื่องจากจำเลยรับสินค้าไปจากโจทก์ทั้งสองและเป็นผู้ทำหนังสือค้ำประกันความรับผิดไว้ต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินค้าและค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลเมืองฮ่องกงเป็นเงิน ๑,๔๕๘,๒๗๓.๖๐ ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ๓๖,๙๒๓,๔๘๗.๕๕ บาท แก่โจทก์ทั้งสอง กับจำเลยต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นค่าจ้างทนายความที่เมืองฮ่องกงและค่าจ้างทนายความในประเทศไทยเพื่อติดต่อประสานงานเป็นเงิน ๑๕,๑๓๖ ดอลลาร์สหรัฐค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อติดต่อในเรื่องดังกล่าวที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี เมืองฮ่องกง และประเทศไทย เป็นเงิน ๒,๔๔๒ ดอลลาร์สหรัฐ และค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นเงิน ๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐรวมเป็นค่าเสียหายส่วนนี้ ๑๘,๐๗๘ ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ ๔๕๗,๗๓๔.๙๖บาท นอกจากนี้โจทก์ทั้งสองขาดประโยชน์ในทางการค้า โดยเจ้าของสินค้าไม่ว่าจ้างให้โจทก์ที่ ๑ เป็นผู้ขนส่งสินค้า และผู้ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าทางทะเลกับเจ้าของเรือต่าง ๆ ไม่ไว้วางใจว่าจ้างให้โจทก์ที่ ๒เป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการตามพิธีการต่าง ๆ ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายขาดรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๖๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งโจทก์ทั้งสองขอคิดค่าเสียหายส่วนนี้นับแต่วันที่ศาลเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาเป็นต้นไปเป็นเวลา๕ ปี คิดเป็นเสียหายส่วนนี้อีก ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองทั้งสิ้น ๗๓,๓๘๑,๒๒๒.๕๑ บาท โจทก์ทั้งสองส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ณ ท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานครและจำเลยทำหนังสือค้ำประกันความรับผิดที่สำนักงานของจำเลยที่เขตสาธรกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสถานที่มูลคดีเกิดและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน ๗๓,๓๘๑,๒๒๒.๕๑ บาทแก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า จำเลยได้ซื้อสินค้าเหล็กท่อนตามฟ้องจากบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด จริง และบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง)จำกัด ผู้ขายได้ว่าจ้างโจทก์ที่ ๑ ขนส่งสินค้าดังกล่าวมายังประเทศไทยเมื่อสินค้ามาถึงเกาะสีชังแล้วผู้ขายเป็นผู้รับมอบสินค้าทั้งหมดโดยผู้ขายมิได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ ๑ หลังจากได้รับมอบสินค้าจากโจทก์ที่ ๑แล้วผู้ขายจึงได้นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่จำเลย และขณะนี้ผู้ขายก็กำลังใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะเรียกร้องเอาต้นฉบับใบตราส่ง ค่าจ้างขนส่ง ค่าเสียหาย หรือสิทธิเรียกร้องอื่นใดจากผู้ขาย เอกสารที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าเป็นหนังสือค้ำประกันนั้นเป็นเพียงหนังสือรับรองว่าจำเลยขอรับสินค้าไปจากโจทก์ทั้งสองก่อนโดยยังไม่ได้เวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง ดังนั้น เมื่อผู้ขายรับสินค้าไปจากโจทก์ทั้งสอง ความรับผิดจึงตกแก่ผู้ขาย และหนังสือค้ำประกันดังกล่าวย่อมสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย ทั้งจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อการที่ศาลเมืองฮ่องกงพิพากษาให้โจทก์ที่ ๑ ชำระค่าสินค้าพิพาท เพราะโจทก์ที่ ๑ ไม่ได้ใช้สิทธิโต้แย้งผู้ขายดังที่จำเลยให้การไว้ในตอนต้น โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพราะโจทก์ที่ ๑ ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่มีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ ทั้งโจทก์ที่ ๒ ไม่ได้เป็นตัวแทนหรือรับจ้างจากโจทก์ที่ ๑จึงไม่มีอำนาจบอกกล่าวทวงถามใด ๆ จากจำเลย ผู้ขายได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยตรง ต้นฉบับใบตราส่งอยู่ที่ผู้ขาย ไม่ได้อยู่ที่จำเลยจำเลยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ทั้งสองไม่ชอบที่จะเรียกร้องเอาต้นฉบับใบตราส่งจากจำเลย มูลคดีนี้เกิดที่จังหวัดสมุทรปราการโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความเพราะโจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีนี้เกิน ๑ ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า และฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม เพราะเอกสารท้ายฟ้องเป็นภาษาต่างประเทศและมีคำแปลไม่ถูกต้อง จำเลยได้รับสินค้าเป็นน้ำหนักรวม ๖,๑๓๐.๕๕ เมตริกตัน เท่านั้น ซึ่งเมื่อหักค่าเสียหายจากคุณภาพสินค้าแล้วจะเหลือมูลค่าเพียง ๑,๒๑๐,๙๘๙.๓๓ ดอลลาร์สหรัฐ หากจำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ขายจำเลยคงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๔ต่อปีในต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๘ เป็นต้นไปเท่านั้นจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาหรือทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จึงไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน ๓๗,๓๘๑,๒๒๒.๕๑ บาทแก่โจทก์ที่ ๑ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ที่ ๑โดยกำหนดเป็นค่าทนายความ ๑๐๐,๐๐๐ บาท และให้ยกฟ้องของโจทก์ที่ ๒ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ที่ ๒ กับจำเลยให้เป็นพับ
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๗ จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน ๖,๖๕๘ เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ ๑ ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ “มาราบู” เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ ๑ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๗ ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ ๑ ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ ๒ เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ “มาราบู” บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๗ โจทก์ที่ ๒ ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ ๒ เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.๙ หรือ ล.๒ หรือ ล.๔ มอบให้โจทก์ที่ ๒ ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ ๑ ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ ๑ ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ให้โจทก์ที่ ๑ คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน ๑,๔๕๘,๒๗๓.๖๐ ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.๒๕มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.๒๖ และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ ๑มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.๑ โจทก์ที่ ๑ ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.๓ จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑ และคดีในส่วนของโจทก์ที่ ๒ ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ ๒ มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ ๒ จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ ๑ จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ ๑ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ ๑ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ ๑ อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๖ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.๒๕๓๙ มาตรา ๔๕ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ ๑ ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ ๑กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ ๑ หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ ๑ ตามเอกสารหมายจ.๙ หรือ ล.๒ หรือ ล.๔ มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ ๑ ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ ๑ ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ ๑เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ ๑ แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ ๑ หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๙ หรือ ล.๒ หรือ ล.๔ ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ ๑ มีผลใช้บังคับได้หรือไม่ในปัญหาข้อนี้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๗ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ ๑ ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ ๑ มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ ๑ นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน ๑๙๙๓ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ ๒ ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ “มาราบู” ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ ๒ และบริษัทสายชลมารีน ๑๙๙๓ จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ ๒พยานโจทก์ที่ ๑ ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ ๒ ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ ๑ ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.๑๑ จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.๙ ให้แก่โจทก์ที่ ๑ เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ “มาราบู” ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ ๑ ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ ๑ เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ ๑ ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ ๑ ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ ๑ นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ ๑ ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.๙ ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.๒ และ ล.๔ให้ไว้แก่โจทก์ที่ ๑ เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ ๑ ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ ๑ นั้น หากโจทก์ที่ ๑ ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ ๑ ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ ๑ ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งตามที่จำเลยอ้างมาในอุทธรณ์ไม่ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๖๘๐ ตามที่จำเลยอุทธรณ์ รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา๒๘ ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ ๑ ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ ๑ ตามข้อตกลงดังกล่าว ส่วนที่โจทก์ที่ ๑ อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ ๑ เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ ๑ ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ ๑ เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ ๑ ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ ๑ ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ ๑ ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ ๑ คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ ๑ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน ๑๘,๐๗๘ ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ ๔๕๗,๗๓๔.๙๖ บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนก-คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ ๑ โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ ๑ จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ ๑ ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ ๑ ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ ๑ ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๙ หรือล.๒ หรือ ล.๔ ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน ๑,๔๕๘,๒๗๓.๖๐ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ ๓๖,๙๒๓,๔๘๗.๕๕ บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ ๑ ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ ๑ ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ ๑ ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ ๑ ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ ๑ คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ ๑ จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ ๑ อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ ๑ ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ ๑ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ ๑ จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ ๑ ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ ๑ ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๕ วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๕ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ ๑ ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๔๖ ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ ๑ ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๗ แต่โจทก์ที่ ๑ ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๙ ซึ่งเกินกว่า ๑ ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น เห็นว่า มาตรา๔๖ บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา ๔๖ ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ ๑ ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๙ ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. ๒๕๓๔ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ ลักษณะ ๖ หมวด ๒กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ ๑๐ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๐ โจทก์ที่ ๑ ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม๒๕๓๙ ตามเอกสารหมาย จ.๑๘ และโจทก์ที่ ๑ อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ ๑ ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ ๑ ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ ๑ เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ ๑ ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน ๑๐ ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายส่วนที่โจทก์ที่ ๑ เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงจำนวน๔๕๗,๗๓๔.๙๖ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ยกคำขอของโจทก์ที่ ๑ ที่ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนอื่น ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองชั้นศาลระหว่างโจทก์ที่ ๑ และจำเลยให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง.