คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2494

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เอกสารที่ผู้ตายทำก่อนตายหนึ่งมีข้อความกำหนดไว้ว่าถ้าตายลงแล้ว ให้ทรัพย์ตามที่+แก่ภรรยา ดังนี้เรียกได้ผู้ตายได้กำหนดการเผื่อตายเรื่องทรัพย์สินของตนไว้ให้มีบังคับเมื่อตนตายจึงเป็นเอกสารลักษณะเป็นพินัยกรรมตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1646 เมื่อได้ทำ+หนังสือลงวันเดือนปีที่ทำ ผู้+ได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้า+ครบถ้วน ก็ย่อมเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามแบบที่บังคับไว้ในมาตรา 1656

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของนายปิกผู้วายชนม์จากจำเลยโดยอ้างว่า โจทก์รับมรดกแทนที่มารดาผู้เป็นทายาทผู้ตาย
จำเลยต่อสู้ข้อหนึ่งว่า ผู้ตายได้ทำหนังสือยกทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งหมด และในหนังสือนั้นกำหนดไว้ว่าหากนายปิกล้มตายลง ก็ให้เป็นของจำเลย ดังสำเนาสัญญาท้ายคำให้การ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อความในเอกสารข้อ ๑-๒-๓ เป็นเรื่องสัญญาให้ทรัพย์ แต่ทรัพย์ที่ให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้จะได้ทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน จึงไม่สมบูรณ์แต่ข้อความในเอกสารข้อที่ ๔ เป็นการกำหนดการเผื่อตายของนายปิก เพราะนายปิกได้แสดงเจตนาไว้ว่าถ้านายปิกตาย จะให้ทำอย่างไรแก่ทรัพย์สมบัตินั้น นายปิกกำหนดไว้ว่า ให้จำเลยเก็บไว้จึงเป็นพินัยกรรม์ของนายปิกตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๖๔๖ จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่าหนังสือที่ผู้ตายทำเป็นพินัยกรรม์เลย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นพินัยกรรม์ จึงเป็นการเกินข้อต่อสู้ของจำเลย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยนอกเหนือคำให้การต่อสู้ของจำเลย และฟังว่า หนังสือฉะบับนั้นเป็นพินัยกรรม จึงพิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า แม้จำเลยมิได้กล่าวตรง ๆ ว่าหนังสือที่ผู้ตายทำขึ้นเป็นพินัยกรรม์ก็ตามแต่ข้อความนั้นก็อนุมานได้ว่า เป็นเรื่องที่จำเลยต่อสู้ว่า หากนายปิดตายลง ก็ให้ทรัพย์เป็นของจำเลย+ อันเป็นลักษณะของพินัยกรรม์ตามกฎหมาย จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำให้การต่อสู้ของจำเลย
ส่วนหนังสือฉะบับที่กล่าว เห็นว่า ข้อความในข้อ ๔ แห่งเอกสารนี้นายปิกได้กำหนดไว้ว่าจากนายปิกตายลงแล้ว ให้ทรัพย์ตามกล่าวแก่นางแดง (จำเลย) เรียกได้นายปิกได้กำหนดการเมื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้ให้มีผลบังคับ เมื่อตนตาย ดังนั้นจึงเป็นเอกสารที่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๖๔๖ และเมื่อกำหนดการนี้ ได้ทำเป็นหนังสือ ลงวันเดือนปี+ และนายปิกได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน ๔ คน จึงเป็นพินัยกรรม์ที่สมบูรณ์ตามแบบแผนที่บังคับไว้ในมาตรา ๑๖๕๖ โจทก์ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของนายปิกจากจำเลยได้
จึงพิพากษายืน

Share