คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2494

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ไม้สักซึ่งเป็นไม้หวงห้ามจะยังมิได้แปรรูป ทั้งมิได้มีราคาค่าภาคหลวงประทับไว้นั้น+มีไว้ในครอบครองย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 เว้นผู้มีไว้จะพิศูจน์ได้ว่า ได้ไม้มาโดยชอบด้วยกฎหมายจึงพ้นผิด
มีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 +เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 48 จะเป็นความผิดตามมาตรา 48 จะเป็นความผิดตามมาตรา 73 ถ้าพิศูจน์ได้ว่ามีไม้แปรรูปนั้นเพื่อปลูกสร้างบ้านเรือนแล้วพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 50 บัญญัติไม่ให้ใช้มาตรา 48 บังคับ จึงไม่เป็นผิด

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยมีไม้สักที่ยังไม่ได้แปรรูป แปรรูปไม้สัก และมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองผิดกฎหมาย ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ๒๔๘๔
จำเลยปฏิเสธ
ศาลจังหวัดพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๗๒ ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ ๒๐๐ บาท ข้อหานอกจากนี้ให้ยกเสีย คืนไม้ของกลางให้จำเลย
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า หากจะว่าไม้สักของกลางเป็นไม้หวงห้ามและเป็นไม้ที่ยังมิได้แปรรูป ทั้งมิได้มีราคาภาคหลวงประทับไว้ เมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองย่อมมีความผิดตามมาตรา ๖๙ ก็ดีคดีก็ได้ความว่าจำเลยได้ซื้อไม้ของกลางมาจากหม่องตาอูที่สวรรคโลกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ มีหลักฐานการซื้อขาย ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านประการใดเลยในข้อนี้ จึงควรฟังว่าจำเลยพิศูจน์ได้ว่าจำเลยได้ไม้ของกลางมาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความผิด
ฎีกาของโจทก์อีกข้อหนึ่ง แม้จะฟังว่าจำเลยมีไม้แปรรูปของกลางไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ ๒๔๘๔ ซึ่งจะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๔๘ และเป็นผิดตามมาตรา ๗๓ ก็ดี แต่จำเลยพิศูจน์ได้ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปของกลางไว้เพื่อปลูกสร้างบ้านเรือน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ พ.ร.บ.ป่าไม้ ๒๔๘๔ มาตรา ๕๐(๔) บัญญัติมิให้ใช้มาตรา ๔๘ บังคับคดีของจำเลยจึงต้องด้วยข้อยกเว้น
จึงพิพากษายืน

Share