คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ผู้มีชื่อในโฉนดได้เป็นความฟ้องขอแบ่งแยกโฉนดจากกันและกัน โดยฝ่ายโจทก์อ้างว่าตนมีสิทธิในที่ดิน 2 ใน 3 ฝ่ายจำเลยต่อสู้ว่า มีสิทธิคนละครึ่ง ศาลพิพากษาว่าต่างปกครองเป็นส่วนสัดกันมาฝ่ายละครึ่ง 30 ปี เศษแล้ว จึงขอให้ แบ่งโฉนดตามที่ปกครองมา คดีถึงที่สุด ดังนี้
ครั้นที่ดินตามโฉนดดังกล่าวตกได้แก่ผู้อื่นต่อมาทั้งสองฝ่าย แม้ผู้อื่นนั้นจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็เป็นผู้สืบ สิทธิ มาจากคู่ความในคดีก่อนคำพิพากษาคดีก่อนจึงผูกมัดผู้นั้นด้วย ฉะนั้น ผู้ได้รับที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจะมา ฟ้องร้องตั้งข้อพิพาทว่ามีส่วนในที่ดินตามโฉนดนั้นผิดไปจากคำพิพากษาในคดีเดิมย่อมไม่ได้./

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้องขอแบ่งแยกโฉนดที่ดิน โดยขอให้ศาลแบ่งให้โจทก์ ๒๐ ไร่ เศษให้จำเลย ๑๐ ไร่เศษ
จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินส่วนของจำเลยมีเนื้อที่ถึง ๑๔ ไร่เศษ จำเลยยอมแบ่งแยก ถ้าแบ่งกันตามสิทธิที่จำเลยมีอยู่
ศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน.
โจทก์ฎีกา,
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ฟังขอ้เท็จจริงว่า โฉนดรายพิพาทมีเนื้อที่ ๓๐ ไร่เศษ โฉนดรายพิพาทนี้เดิมมีชื่อนาย เพ็ชรนางหร่ำสามีภริยาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ ต่อมาได้มีการยกให้นายบุตร จึงมีชื่อนายเพ็ชร นางหร่ำ และนายบุตร ๓ คนด้วยกันในโฉนด ส่วนของนายบุตรตกมาเป็นของนางจุ๊ แล้วตกมาเป็นของจำเลย ส่วนของนายเพ็ชรนางหร่ำตกมา เป็นของโจทก์ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ นายเพ็ชรนางหร่ำ ฟ้องขอแบ่งแยกโฉนดจากนางจุ๊ ตั้งข้อพิพาทโต้เถียงกันเช่นเดียวกันกับ ในคดนี้ ศาลพิพากษาคดีนั้นว่า ต่างปกครองเป็นส่วนสัดกันมา ๓๐ ปีเศษ นางจุ๊ปกครองอยู่ทางใต้ (มีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๓ งาน) ให้แบ่งโฉนดตามที่ปรากฎการปกครองในแผนที่ คดีนี้นถึงที่สุด.
ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อผู้มีชื่อในโฉนดได้แยกการปกครองมากว่า ๑๐ ปีแล้ว ก็ต้องแบ่งตามปกครองไม่ใช่แบ่งตามโฉนด แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อน โจทก์ก็เป็นผู้สืบสิทธิมาจากคู่ความในคดีก่อน คำพิพากษาคดีก่อนจึงถูกมัด โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิจะขอให้พิจารณาใหม่.
จึงคงพิพากษายืน.

Share