แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยพิพาทกับเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ศาลได้วินิจฉัยถึงประเด็นเรื่องการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในคดีนั้นแล้วครั้นต่อมาโจทก์ได้ฟ้อง่ขอให้เพิกถอนการสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และ 2 ในคดีหลังนี้จำเลยที่ 2 จะยกประเด็นเรื่องหย่าขึ้นต่อสู้โจทก์อีกไม่ได้เพราะเป็นประเด็นเดียวกันและโจทก์กับจำเลยก็เป็นคู่ความเดียวกัน ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.148
คำพิพากษาในคดีก่อนเรื่องแบ่งทรัพย์สินที่วินิจฉัยชี้ประเด็นเรื่องหย่าไว้ด้วยนั้นเป็นคำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะของบุคคลย่อมใช้ยันจำเลยที่ 1 ด้วยได้ จำเลยที่ 1 จะขอสืบพะยานในประเด็นเรื่องหย่าในคดีนี้อีกไม่ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.145 ( ป.ช.ญ.ครั้งที่ 1/2498 )
ย่อยาว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าจำเลยที่ ๒ เป็นภริยาโจทก์การจดทะเบียนสมรสจึงเป็นโมฆะ
จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ ๒ ไม่ได้เป็นภริยาโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย และถึงอย่างไรก็ดีก็ได้หย่าขาดกันแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นสืบพะยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วสั่งงดสืบพะยานจำเลยในประเด็นเรื่องหย่าเสียแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยที่ ๒ เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเรื่องหย่านั้นเคยพิพาทกันมาครั้งหนึ่งแล้วซึ่งในทีสุดศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าหนังสือหย่าใช้ไม่ได้ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะให้เพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
(๑) คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.ม.๑๔๙๑ วรรคท้าย
(๒) คำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๗๘๕/๒๔๙๑ ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับจำเลยได้หย่าขาดกันแล้ว จำเลยทั้งสองจึงสมรสกันได้
(๓) ขอให้จำเลยมีโอกาศสืบพะยานในประเด็นหย่าได้ต่อไป
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ ๒ เคยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาฐานบุกรุกและชิงทรัพย์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยที่ ๒ หย่าขาดกันแล้ว ไโจทก์ม่มีเคยจิตต์เป็นโจร พิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์คงวินิจฉัยแต่ข้อหาทางอาญาว่าจำเลยไม่มีเจตนาเป็นโจทก์แล้วพิพากษายืน จำเลยทั้งสองจึงได้ไปจดทะเบียนสมรสกัน ครั้นต่อมาจำเลยได้ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกับโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยในคดีแบ่งทรัพย์นี้ว่าหนังสือหย่าไม่มีผลบังคับ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขึ้น
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยข้อฎีกา จำเลยตามลำดับเห็นว่า
๑. คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการสมรสผิดต่อมาตรา ๑๔๔๕ (๓) ซึ่งมาตรา ๑๔๔๐ ถือว่าเป็นโมฆะไม่ใช่เป็นเรื่องตามมาตรา ๑๔๙๑ ดังจำเลยอ้างคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
๒. คดีอาญาเรื่องก่อนคดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาชี้ขาดไปถึงเรื่องหย่า
๓. จำเลยที่ ๒ เป็นคู่ความเดียวกับโจทก์ในคดีแพ่งแดงที่ ๑๔๒/๒๔๙๒ จึงไม่มีสิทธิจะเสนอข้อต่อสู้เรื่องหย่าอันเป็นประเด็นซ้ำกันอีกได้ ส่วนจำเลยที่ ๑ แม้จะไม่ใช่คู่ความเดียวกันกับเรื่องก่อน แต่คำพิพากษาในคดีก่อนเกี่ยวด้วยฐานะของบุคคลย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกได้ ศาลชั้นต้นงดสืบพะยานจำเลยชอบแล้ว
จึงพิพากษายืน