แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เมื่อปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่ได้อ้างสิทธิเฉพาะการสละมรดกของจำเลยเท่านั้น แต่โจทก์ยังยืนยันสิทธิครอบครองที่ดินรายพิพาทซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญมาฝ่ายเดียวถึง 7 ปี เศษ ดังนี้เรื่องการสละมรดกจึงเป็นแต่เหตุประการหนึ่งที่แสดงว่าจำเลยตกลงใจสละให้แล้ว จึงได้ไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง ฉนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ หาเป็นการต้องห้ามที่จะไม่ให้รับฟังพยานบุคคลตาม ป.พ.พ. ม.1612 ไม่.
ย่อยาว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำเลยและนางเคลือบเป็นพี่น้องร่วมปิดามารดา เมื่อบิดาตายจำเลยทั้ง ๓ ตกลงยกที่ดินพิพาทไม่มีหนังสือสำคัญ ๒ แปลง เนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งานให้โจทก์และนางเคลื่อน ๆ ครอบครอง เป็นเจ้าของมา ๗ ปีเศษ จำเลยจึงขาดสิทธิครอบครองและขาดอายุความมรดก ที่นี้เมื่อบิดาเป็นเจ้าของเตียนอยู่ ๒ ไร่เศษ นอกนั้นโจทก์และนางเคลื่อนถางป่าเต็มเนื้อที่ บัดนี้จำเลยไปร้องขอจดทะเบียนรับมรดกที่พิพาทจึงขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์(ร่วมกับนางเคลื่อน) ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง.จำเลยทั้ง ๓ ให้การว่าโจทก์และจำเลยที่ ๒ ปกครองที่พิพาทและปกครองแทนจำเลยที่ ๑,๓ ด้วย จำเลยทั้ง ๓ ไม่เคยยกให้ทั้งช่วยกันปลูกพืชผล.เมื่อบิดาตายที่เตียนทั้งแปลงแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง.โจทก์ ๆ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์(กับนางเคลื่อน) ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง
จำเลยทั้ง ๓ ฎีกาและเถียงในข้อ ก.ม.ว่าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยสละมรดกยกที่รายพิพาทแก่โจทก์และนางเคลื่อนนั้นไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ คงสือแต่พยานบุคคลจึงรับฟังไม่ได้
ศาลฎีกาเป็นว่าตามฟ้องของโจทก์ไม่ได้อ้างสิทธิเฉพาะการสละมรดกของจำเลยเท่านั้นแต่โจทก์ยืนยันสิทธิทางครอบครองมาฝ่ายเดียวถึง ๗ ปีเศษ ข้ออ้างเรื่องจำเลยสละมรดกเพียงแต่เป็นเหตุประการหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยตกลงใจสละให้แล้วจึงไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลา ๗ ปีเศษนั้น จึงเป็นเรื่องที่นำสืบได้โดยพยานบุคคลดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาชอบแล้ว และคดีเรื่องนี้จะยกเอา ป.พ.พ. ม.๑๖๑๒ มาตัดไม่ให้รับฟังพยานบุคคลเสียเลยดังที่จำเลยฎีกาขึ้นมานั้นไม่ได้
จึงพิพากษายืน.