คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2497

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การเรียกเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทและหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น การคำนวณกำไรสุทธิต้องหักผลขาดทุนในปีก่อน ๆ เสียก่อน ถ้าหักแล้วยังไม่มีกำไรก็ไม่มีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี ( ป.ช.ญ.ครั้งที่ 5/2489 )

ย่อยาว

คดีนี้โจทก์จำเลยแถลงรับกันไม่สืบพะยาน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการและผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิดอของห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทสยามเทรดดิ้ง ได้ยื่น ภ.ง.ด. ๕ แสดงว่าในปี ๒๔๙๐ ห้างหุ้นส่วนขาดทุน ๒๐๒,๓๘๖๐๕๗ บาท ในปี ๒๔๙๑ ได้กำไร ๑๔๖,๓๘๖.๙๕ บาท หักกลบกันแล้วยังขาดทุนอยู่ ๕๕,๖๖๐.๖๓ บาท จำเลยถือว่าในปี ๒๔๙๑ ห้างหุ้นส่วนโจทก์มีกำไรเกินกว่าร้อยละ ๑๒ ของเงินทุนและมิได้แบ่งผลกำไรจึงสั่งให้นำเงินภาษีไปชำระ โจทก์คัดค้านว่าห้างหุ้นส่วนยังขาดทุน ไม่ต้องเสียภาษี
ศาลแพ่งวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีต้องคิดจากกำไรฉะเพาะปี พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเงินขาดทุนเป็นรายจ่ายอย่างหนึ่งพิพากษากลับว่าคำสั่งจำเลยไม่ชอบ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าตาม ป.รัษฎากร พ.ศ.๒๔๘๑ มาตรา ๖๕ ให้เก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิที่ได้จ่าย และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๘๔,๑๒๐๑, บังคับมิให้แบ่งกำไรหรือเงินปันผลจนกว่าทุนที่ขาดไปจะได้คืนมาเต็มจำนวน ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๘ ได้แก้ไขให้สำรวจเก็บภาษีจากกำไรที่ยังไม่ได้จ่ายโดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ ( แก้ม ๗๕, วรรค ๒ ) แต่มาตรา ๒๕ เดิมก็ยังไม่ได้แก้ไข เมื่อใช้ประมาลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๙๔ แล้ว ตามมาตรา ๖๕ ตรี ข้อ ๑๒ ได้บัญญัติว่าไม่ให้หักรายจ่ายในส่วนที่เป็นผลขาดทุนปีก่อน ๆ ฉะเพาะส่วนที่มีเงินสำรองหรือกำไรยกมาชดเชย ข้อเท็จจริงดังคดีนี้ตามกฎหมายใหม่ก็ยังคงหักได้ จึงเห็นว่าตามกฎหมายเก่าย่อมหักผลขาดทุนได้ เมื่อหักแล้วไม่มีกำไรก็ไม่มีเงินได้ต้องเสียภาษี ศาลฎีกาจึงพิพากษายืน

Share