แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โฆษณาหมิ่นประมาทเขามีผิดตาม ม. 282 อย่างไรเรียกว่าเป็นคำให้ชั้นศาล คำให้การของจำเลยในศาลนอกประเด็นยังไม่ผิด
วิธีพิจารณาอาชญา ตัวการ หน้าที่นำสืบ
ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริง ศาลฎีกา วินิจฉัยเสียเองได้
ย่อยาว
ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายกวยเป็นโจทก์ฟ้อง ม. จำเลยที่ ๑ หาว่าผิดสัญญาใช้เงิน ม. จำเลยได้ทำคำให้การแก้ฟ้องยื่นต่อศาลแพ่งมีข้อความเสียดสีหมิ่นประมาทโจทก์ และเป็นข้อความเท็จนอกประเด็น ศาลแพ่งจึงไม่รับ สั่งให้ทำมายื่นใหม่ ในระวางนี้ ต. แล ข. จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ .ซึ่งเป็นเจ้าของแลบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ นำคำให้การนี้ไปลงโฆษณา และหมิ่นประมาทโจทก์ แต่ไม่ปรากฎว่า จำเลยที่ ๑ กับที่ ๒ – ๓ สมคบกัน
ศาลล่างทั้ง ๒ ตัดสินให้ปรับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตาม ม. ๒๘๒ ส่วนจำเลยที่ ๑ ยังไม่ผิด เพราะเป็นการกล่าวในโรงศาล
โจทก์ฎีกาว่า (๑) จำเลยไม่ควรได้รับความยกเว้นตาม ม. ๒๘๕ เพราะลงหนังสือพิมพ์หมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งไม่ใช่คำให้การ (๒) หน้าที่นำสืบต้องตกแก่จำเลยที่ ๑ ตาม พ.ร.บ. สมุดเอกสารแลหนังสือพิมพ์ ม. ๓๓
ศาลฎีกาเห็นว่า แม้คำให้การที่จำเลยยื่นต่อศาลจะมีข้อความนอกประเด็น แต่ก็เป็นการกล่าวถึงกรณีเดิมอันเป็นมูลเหตุให้เกิดการฟ้องร้อง ทั้งหนังสือนั้นจำเลยก็ยื่นต่อศาลในแบบลักษณคำให้การ ส่วนศาลจะรับหรือให้แก้ไขนั้นอยู่ในอำนาจของศาลส่วนหน้าที่นำสืบนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยจึงพิจารณาคำพะยานจำเลยอีกครั้งหนึ่งเห็นว่าหนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวโฆษณาโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย จำเลยจึงไม่ควรมีผิด ให้ยกฎีกาโจทก์ ปล่อยจำเลยไป