คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2494

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยกระทำความผิดในขณะที่ใช้ พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 แต่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ได้มี ก.ม.ใหม่คือ พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 เสีย และได้ประกาศใช้มา 9 วันแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าการกระทำของจำเลย ก็เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สุรา 2493 ด้วยและมีโทษเบากว่า ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 แล้ว กรณีต้องตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 8 และศาลอาศัยอำนาจตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 192 วรรค 4 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 ได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยทำสุราโดยมิได้รับอนุญาตขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ, ๑๒๔๘ มาตรา ๓ พ.ร.บ.ภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๙๓ ( น่าจะเป็น ๒๔๙๖ ) มาตรา ๗ – ๘ จำเลยรับสารภาถ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์ว่า บทกฎหมายที่ศาลลงโทษจำเลยถูกยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ.สุรา ๒๔๙๓ อ้างฎีกาที่ ๔๘๘/๘๓ ขอให้ยกฟ้อง
อุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.๒๔๙๓ มาตรา ๓๐ แต่มีความเห็นแย้งควรให้ยกฟ้อง
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีได้ความว่จำเลยกระทำความผิดในขณะที่ใช้ พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. ๑๒๔๘ แต่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ได้มีกฎหมายใหม่คือ พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ประกาศใช้มา ๙ วันแล้ว แต่โจทก์ยังคงอ้างกฎหมายเก่าไว้ในฟ้อง ดังนี้จะลงโทษจำเลยได้หรือไม่ศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำของจำเลยในกาลก่อนก็ผิดกฎหมายบัดนี้ก็ผิดกฎหมาย คือยังคงเป็นความผิดตลอดมาทั้ง ๒ สมัยในลักษณะเช่นนี้ ท่านให้ไช้กฎหมายฝ่ายที่มีโทษเบาแก่ผู้ต้องหาตามที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๘ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา ๑๙๒ วรรค ๔ คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๘/๘๓ หาตรงกับคดีนี้ไม่
จึงพิพากษายืน

Share