คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ค่าน้ำมันรถที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานแม้จะจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดงแต่จำนวนที่ได้รับไม่แน่นอนแล้วแต่มาทำงานกี่วันจึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อตอบแทนการทำงานไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ใน การปฏิบัติ งาน จำเลย จะ จ่าย ค่า น้ำมัน รถ ให้ โจทก์ ทุก วัน ที่ มาทำ งาน ถ้า ปฏิบัติ งาน ใน กรุงเทพฯ จ่าย ให้ วันละ 190 บาท เว้น ไม่จ่าย คือ วัน อาทิตย์ ซึ่ง เป็น วันหยุด ประจำ สัปดาห์ วัน ที่ โจทก์ขาด งาน ลากิจ หรือ ลาป่วย แต่ วัน หยุด ตาม ประเพณี จะ จ่าย ให้การ จ่าย เงิน ไม่ ต้อง มี ใบเสร็จ มา แสดง เดิม จ่าย พร้อม เงินเดือนต่อมา จ่าย ทุก 15 วัน หาก โจทก์ ออก ทำงาน ต่างจังหวัด จะ จ่าย ค่าน้ำมัน รถ ให้ กิโลเมตร ละ 1 บาท 70 สตางค์ เดือน หนึ่ง โจทก์ ต้องออก ทำงาน ต่าง จังหวัด 10-20 วัน เฉพาะ เดือน สุดท้าย โจทก์ ได้ ค่าน้ำมัน รถ 27 วัน โจทก์ มี อายุ การ ทำงาน เกิน 3 ปี และ ก่อน เลิกจ้างไม่ มี การ บอกกล่าว ล่วงหน้า
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ค่า น้ำมัน รถ ที่ จำเลย จ่าย ให้ โจทก์ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น ค่าจ้าง ตาม ความหมาย ของ ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ ต้อง นำ มา รวม เป็น ฐาน คำนวณ ในการ จ่าย ค่า ชดเชย และ รับจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ด้วยพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ค่า น้ำมัน รถ ที่ จำเลย จ่าย ให้แก่ โจทก์ แม้ จะ เป็น การ จ่าย โดย ไม่ ต้อง มี ใบเสร็จ มา แสดงแต่ จำนวน ที่ จะ ได้ รับ ไม่ แน่นอน แล้ว แต่ ว่า โจทก์ มา ทำงานกี่วัน ใน วันหยุด ประจำ สัปดาห์ วันที่ โจทก์ ขาด งาน หรือ ลาหยุดก็ จะ ไม่ ได้ รับ การ จ่าย ค่า น้ำมัน รถ ให้ แก่ โจทก์ ใน ลักษณะเช่นนี้ จึง เป็น การ จ่าย เพื่อ ช่วยเหลือ การ ปฏิบัติงาน ของ โจทก์ไม่ ใช่ จ่าย เพื่อ ตอบแทน การ ทำงาน จึง ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น ค่าจ้างตาม ความหมาย ของ ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลง วันที่ 16 เมษายน 2515 ไม่ ต้อง นำ มา รวม กับ เงินเดือน เพื่อเป็น ฐาน คำนวณ ใน การ จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ชอบ แล้ว อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟัอง ไม่ขึ้น
พิพากษา ยืน

Share