แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ในคีดนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และเรียกให้จำเลยที่1ใช้ค่าทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43,44,47ย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวซึ่งมีคดีส่วนแพ่งปนอยู่ด้วยและโจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดีส่วนแพ่งตามคำพิพากษานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา249,253อยู่แล้วโจทก์จะรื้อฟื้นคดีส่วนแพ่งนั้นมาฟ้องใหม่โดยเรียกค่าดอกเบี้ยเพิ่มเติมในคดีนี้อีกย่อมเป็นฟ้องซ้ำอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง โจทก์ ตำแหน่ง พนักงานเก็บรักษา เงิน จำเลย ที่ 2 ที่ 3 เป็น ผู้ ค้ำประกัน การ เข้า ทำงานของ จำเลย ที่ 1 ต่อมา จำเลย ที่ 1 ทุจริต ยักยอก เงินสด ของ โจทก์ไป ซึ่ง โจทก์ ได้ ร้องทุกข์ ดำเนินคดี อาญา และ ศาล ได้ ลงโทษ จำเลยที่ 1 ไป แล้ว ขอ ให้ ศาล บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ เงิน126,052 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า เงิน ที่ โจทก์ ฟ้อง ได้ สูญหาย ไป หลังจากจำเลย ที่ 1 ลาออก จาก งาน แล้ว จำเลย ทั้ง สาม ไม่ ต้อง รับผิด และจำเลย ที่ 1 มี หลักทรัพย์ พอ ที่ จะ ชำระ หนี้ ได้ การ ที่ จะ บังคับให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ก็ ไม่ เป็น การ ยาก ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ เงิน 126,052 บาทพร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า พนักงาน อัยการ ได้ เรียก ให้ จำเลย ที่ 1ใช้ เงิน 126,052 บาท คืน แก่ โจทก์ ใน คดีอาญา ดังกล่าว แล้ว โจทก์จึง ไม่ มี สิทธิ ฟ้อง เรียก เงิน ดังกล่าว ใน คีด นี้ อีก คง มี สิทธิฟ้อง เรียก ได้ เฉพาะ ดอกเบี้ย ที่ ยัง ไม่ ได้ เรียกร้อง ไว้ ในคดีอาญา เท่านั้น พิพากษา แก้ เป็น ให้ ยกฟ้อง โจทก์ เฉพาะ ใน ข้อ ที่ให้ จำเลย ที่ 1 ร่วมกัน ใช้ เงิน ให้ โจทก์ 126,052 บาท นอกจาก ที่แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่ มี สิทธิมา ฟ้อง เรียก ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 1 เพิ่มเติม ใน คดี นี้ อีกนั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ว่า โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เพราะ พนักงานอัยการได้ เรียก ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าทดแทน ความเสียหาย แก่ โจทก์ ในคดีอาญา ดังกล่าว นั้น แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43, 44, 47 โดย เฉพาะ โจทก์ ใน คดี นี้ ก็ ได้ เข้า เป็นโจทก์ร่วม ใน คดีอาญา ดังกล่าว นั้น ด้วย ย่อม ต้อง ผูกพัน ตามคำพิพากษา คดีหมายเลข แดง ที่ 707/2523 ดังกล่าว นั้น ซึ่ง มี คดีส่วนแพ่ง ปน อยู่ ด้วย ดังกล่าว แล้ว และ โจทก์ ย่อม มี สิทธิ บังคับคดี ส่วนแพ่ง ตาม คำพิพากษา นั้น ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249, 253 อยู่ แล้ว โจทก์ จะรื้อฟื้น คดี ส่วนแพ่ง มา ฟ้อง ใหม่ โดย เรียก ค่า ดอกเบี้ย เพิ่มเติมใน คดี นี้ อีก ย่อม เป็น ฟ้องซ้ำ อัน ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง โจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 ส่วนจำเลย ที่ 2 ที่ 3 คง ให้ ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ เงิน ให้ โจทก์ ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์