คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันในราคา230,000บาทโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1ไปทั้งสิ้น205,000บาทคงเหลืออยู่อีก15,000บาทนับว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งขณะที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและวันครบกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนแต่มีข้อยกเว้นว่าจะโอนได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทจะต้องยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจำเลยที่1เบิกความรับว่าจำเลยที่1กับโจทก์ไม่เคยไปติดต่อที่สำนักงานจัดรูปที่ดินแสดงว่าจำเลยที่1ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตโอนที่ดินพิพาทต่อคณะกรรมการจัดการรูปที่ดินถือได้ว่าจำเลยที่1ละเลยประกอบกับพยานคนกลางผู้ไกล่เกลี่ยกรณีของโจทก์กับจำเลยทั้งสองเบิกความว่าโจทก์ประสงค์จะรับโอนที่ดินพิพาทแต่จำเลยทั้งสองจะขอซื้อที่ดินพิพาทคืนจึงตกลงกันไม่ได้พยานหลักฐานของ โจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่าย ผิดสัญญา

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2531 จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำสัญญาจะขาย ที่ดิน ตาม โฉนด ที่ดิน เลขที่ 44091 และ 44109 เลขที่ ดินและ 264 ตำบล พระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 230,000 บาท โดย โจทก์ ได้ ชำระ เงิน ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สองใน วัน ทำ สัญญา เป็น เงิน 200,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ ตกลง จะ ชำระ ใน วันจดทะเบียน โอน ที่ดิน โดย จำเลย ทั้ง สอง จะ ต้อง จดทะเบียน โอน ที่ดินให้ แก่ โจทก์ ภายใน เดือน มกราคม 2532 ต่อมา วันที่ 4 มกราคม 2532จำเลย ที่ 1 ได้รับ เงิน จาก โจทก์ อีก 15,000 บาท จึง คงเหลือ 15,000 บาทซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง ตกลง ให้ โจทก์ ยึดถือ ไว้ เป็น ค่าธรรมเนียม การ โอนและ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง มี ชื่อ เป็น เจ้าของ ใน โฉนด ที่ดิน ตกลง จะ ยื่น คำขออนุญาต โอนสิทธิ ใน ที่ดิน ต่อ คณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน จังหวัด ขอนแก่นเนื่องจาก ที่ดิน อยู่ ใน เขต จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม แต่ แล้วจำเลย ที่ 1 เพิกเฉย โดย ไม่ ดำเนินการ ขออนุญาต โอนสิทธิ ใน ที่ดิน ต่อคณะกรรมการ และ ไม่ ดำเนินการ จดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์โจทก์ ให้ ทนายความ บอกกล่าว แก่ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว จำเลย ทั้ง สองกลับ อ้างว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา และ ให้ โจทก์ ไป รับ เงิน 200,000 บาทคืน จาก จำเลย ทั้ง สอง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ให้ ยื่น คำขอ อนุญาตโอนสิทธิ ใน ที่ดิน ตาม ฟ้อง ต่อ คณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน จังหวัด ขอนแก่นเพื่อ จดทะเบียน โอน ให้ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ทำนิติกรรมจดทะเบียน โอน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ภายใน 30 วัน นับแต่ มี คำพิพากษา หาก จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดงเจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง และ เมื่อ หักเงิน ค่าธรรมเนียม จดทะเบียนการ โอน คน ละ ครึ่ง หาก มี เงิน เหลือ จาก จำนวน 15,000 บาท ซึ่ง เป็นค่าที่ดิน ที่ จำเลย ทั้ง สอง ตกลง ให้ โจทก์ ยึดถือ ไว้ เพื่อ ชำระ ค่าธรรมเนียม การ โอน แล้ว ก็ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง รับ ไป
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ทำ สัญญาจะขาย ที่ดินตาม ฟ้อง ให้ แก่ โจทก์ จริง แต่ ตาม สัญญา จำเลย ทั้ง สอง จะ ส่งมอบ ที่ดินพร้อม จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ โจทก์ โดย โจทก์ จะ ต้อง ชำระ เงินส่วน ที่ เหลือ ภายใน เดือน มกราคม 2532 ครั้น เมื่อ ครบ กำหนด โจทก์อ้างว่า ไม่มี เงิน และ จะ ขอ เงิน จำนวน 200,000 บาท ที่ ชำระ แล้ว คืนจำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม และ ได้ ให้ เวลา โจทก์ 3 เดือน เพื่อ หา เงิน มาชำระ แต่ โจทก์ เพิกเฉย จำเลย ทั้ง สอง จึง บอกเลิก สัญญา ต่อมา โจทก์อยาก ได้ ที่ดิน เนื่องจาก ราคา ที่ดิน สูง ขึ้น ลายมือชื่อ ใน ช่อง ผู้ขายที่ โจทก์ อ้างว่า จำเลย ทั้ง สอง รับ เงิน ไป 215,000 บาท ไม่ใช่ ลายมือชื่อจำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้ง สอง ได้ ให้ ทนายความ บอกกล่าว เลิกสัญญา แก่ โจทก์และ พร้อม ที่ จะ คืนเงิน 200,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง รับ เงิน 15,000บาท จาก โจทก์ แล้ว จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม โฉนด ที่ดิน เลขที่ 44091 และ 44109 เลขที่ ดิน 246 และ 264 ตำบล พระลับ อำเภอ เมือง ขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น ให้ แก่ โจทก์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ มี คำพิพากษา หาก จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง ค่าธรรมเนียม การ จดทะเบียน โอน ที่ดินให้ โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง ออก เท่ากัน คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ว่าโจทก์ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดินพิพาท ตาม โฉนด ที่ดิน เลขที่ 44091 และ 44109ตำบล พระลับ อำเภอ เมือง ขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น จาก จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น สามี ภริยา กัน ใน ราคา 230,000 บาท โดย โจทก์ ได้ ชำระ เงินให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว 200,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ อีก 30,000 บาทตกลง จะ ชำระ ใน วัน จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท โดย จำเลย ทั้ง สอง จะ จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ภายใน เดือน มกราคม 2532 ปรากฏ ตาม สัญญาเอกสาร หมาย จ. 4 แต่เมื่อ ครบ กำหนด ยัง ไม่มี การ จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาท กัน ปัจจุบัน โจทก์ เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาท อยู่ ใน เขต จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สอง มี ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา หรือไม่ โจทก์ และ นาย สุพจน์ บัวจันทร์ ซึ่ง ใน ระหว่าง เกิดเหตุ เป็น สามี โจทก์ เบิกความ ว่า หลังจาก ที่ โจทก์ ชำระ ค่าที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว 200,000 บาทต่อมา ใน วันที่ 4 มกราคม 2532 จำเลย ที่ 2 มา ขอรับ เงิน อีก 15,000 บาทอ้างว่า เพื่อ นำ ไป ใช้ ใน การ วิ่งเต้น โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์โจทก์ กับ นาย สุพจน์ ได้ ถอนเงิน จาก ธนาคาร นำ ไป ชำระ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ที่ บ้าน จำเลย ที่ 1 ลงลายมือชื่อ รับ เงิน ใน ช่อง ผู้ขาย ใน แบบพิมพ์ สัญญาซื้อขาย โดย กรอก ข้อความ ว่า ได้รับ เงิน ค่าที่ดิน215,000 บาท ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 ส่วน ที่ เหลือ อีก 15,000 บาทตกลง ว่า เมื่อ หัก ค่าธรรมเนียม การ โอน แล้ว เหลือ เท่าไร จึง จะ ชำระ ให้ แก่จำเลย ทั้ง สอง ครั้น ปลาย เดือน มกราคม 2532 โจทก์ ขอให้ จำเลย ทั้ง สองโอน ที่ดินพิพาท จำเลย ทั้ง สอง อ้างว่า ยัง ไม่สามารถ โอน ให้ ได้ เพราะเป็น เรื่อง ยุ่งยาก ขอให้ โจทก์ รอ ไป ก่อน หลังจาก นั้น โจทก์ ไป ติดต่อจำเลย ทั้ง สอง หลาย ครั้ง จำเลย ทั้ง สอง ผัดผ่อน เรื่อย มา ต่อมา เดือนมิถุนายน 2533 โจทก์ ไป สอบถาม เจ้าหน้าที่ สำนักงาน จัด รูป ที่ดินจังหวัด ขอนแก่น ได้ความ ว่าการ โอน ที่ดินพิพาท ไม่ ยุ่งยาก จึง ไป เร่งรัดจำเลย ทั้ง สอง หลังจาก นั้น โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง พา กัน ไป ที่ สำนักงานจัด รูป ที่ดิน จังหวัด ขอนแก่น แต่ ตกลง กัน ไม่ได้ โดย จำเลย ทั้ง สอง จะขอ ซื้อ ที่ดินพิพาท คืน โจทก์ ไม่ยอม เห็นว่า เมื่อ เปรียบเทียบ ลายมือชื่อ ช่อง ผู้ขาย ใน เอกสาร หมาย จ. 5 กับ ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 1ใน สัญญา เอกสาร หมาย จ. 4 ปรากฏว่า มี ลีลา การ เขียน คล้ายคลึง กันดังนี้ ย่อม น่าเชื่อ ว่า ลายมือชื่อ ช่อง ผู้ขาย ใน เอกสาร หมาย จ. 5เป็น ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ จำเลย ที่ 1 อ้างว่า ไม่ใช่ ลายมือชื่อของ ตน ไม่มี น้ำหนัก ให้ รับฟัง เอกสาร หมาย จ. 5 เป็น เพียง หลักฐานการ รับ เงิน การ ที่ ไม่มี ข้อความ หรือ รายละเอียด กำหนด ว่า ได้รับ เงินค่าที่ดิน ที่ เหลือ หรือ บางส่วน และ ส่วน ที่ เหลือ จะ ชำระ กัน ที่ ใด อย่างไรหา เป็นข้อ พิรุธ ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ไม่ ส่วน ข้อ ที่ จำเลย ทั้ง สองฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ ไป ขอรับ เงิน แต่ เอกสาร หมาย จ. 5 ไม่มีลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 2 เป็น พิรุธ นั้น เห็นว่า ตาม คำเบิกความของ โจทก์ และ นาย สุพจน์ เมื่อ จำเลย ที่ 2 ไป ขอรับ เงิน โจทก์ กับ นาย สุพจน์ ได้ ไป ถอนเงิน จาก ธนาคาร แล้ว จึง นำ ไป ชำระ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1ที่ บ้าน ขณะ นั้น ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 2 อยู่ ด้วย แต่อย่างใดการ ที่ ไม่มี ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 2 ใน เอกสาร หมาย จ. 5 จึง หา เป็นข้อ พิรุธ ไม่ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ ชำระ ค่าที่ดิน ให้ แก่ จำเลยที่ 1 อีก 15,000 บาท รวม แล้ว ชำระ ไป ทั้งสิ้น 215,000 บาท คงเหลืออยู่ อีก 15,000 บาท เงิน ส่วน ที่ เหลือ ดังกล่าว นับ ว่า เป็น จำนวนเพียง เล็กน้อย เมื่อ เทียบ กับ เงิน ที่ โจทก์ ได้ ชำระ ให้ แก่ จำเลยทั้ง สอง แล้ว ซึ่ง เป็น เงิน ถึง 215,000 บาท ดัง ได้ วินิจฉัย มา ประกอบกับ โจทก์ เป็น ผู้ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ทั้ง จำเลย ที่ 1เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ของ ทนายโจทก์ รับ ว่า ก่อน ที่ โจทก์ จะซื้อที่ดินพิพาท โจทก์ ได้ ขาย ที่นา ของ ตน เพื่อ มา ซื้อ ที่ดินพิพาทจึง เชื่อ ว่า โจทก์ ประสงค์ จะ รับโอน ที่ดินพิพาท และ พร้อม ที่ จะ ชำระ เงินส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง ที่ จำเลย ทั้ง สอง อ้างว่า โจทก์เป็น ฝ่าย ขอผัด ผ่อน เพราะ ไม่มี เงิน เนื่องจาก นาย สุพจน์ สามี โจทก์ มี ภริยา ใหม่ และ เอา เงิน ของ โจทก์ ไป นั้น ปรากฏว่า โจทก์ กับ นาย สุพจน์ จดทะเบียน หย่า กัน เมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2533 ซึ่ง เป็น เวลา ภายหลังครบ กำหนด จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท แล้ว ถึง 1 ปี เศษ แม้ ก่อนหน้า นี้โจทก์ กับ นาย สุพจน์ จะ มีเหตุ ทะเลาะ กัน ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ก็ ตาม ก็ หา เป็น ข้อ ที่ จะ แสดง ว่า โจทก์ ไม่มี เงิน ชำระ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สองได้ไม่ ที่ดินพิพาท อยู่ ใน เขต จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ซึ่ง ขณะที่ โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท และ วัน ครบกำหนด จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ตาม สัญญา เอกสาร หมาย จ. 4 ยัง อยู่ภายใน กำหนด เวลา ห้ามโอน ตาม พระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2417 มาตรา 44 แต่ มี ข้อยกเว้น ว่า จะ โอน ได้ ต่อเมื่อได้รับ อนุญาต เป็น หนังสือ จาก คณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน ก่อน จึง เป็นหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้มีชื่อ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท จะ ต้อง ยื่นคำขอ อนุญาต ต่อ คณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน จำเลย ที่ 1 เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ของ ทนายโจทก์ รับ ว่า เจ้าหน้าที่ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด ขอนแก่นได้ แจ้ง แก่ จำเลย ที่ 1 ว่า การ โอน ที่ดินพิพาท ต้อง ยื่น คำขอ ต่อคณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน และ จำเลย ที่ 1 ต้อง เป็น ผู้ยื่น แสดง ว่า จำเลยที่ 1 รู้ ถึง หน้าที่ ดังกล่าว แล้ว จำเลย ที่ 1 เบิกความ รับ ว่า จำเลยที่ 1 กับ โจทก์ ไม่เคย ไป ติดต่อ ที่ สำนักงาน จัด รูป ที่ดิน จังหวัดขอนแก่น แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ยื่น คำขอ อนุญาต โอน ที่ดินพิพาทต่อ คณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน ส่วน ที่ จำเลย ที่ 2 เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ของ ทนายโจทก์ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ยื่น คำขอ โอน ที่ดิน เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2533 แต่เมื่อ เบิกความ ตอบ คำถาม ติง ของ ทนายจำเลย กลับเบิกความ ว่า เมื่อ เดือน พฤษภาคม 2533 โจทก์ เป็น ผู้ยื่น ส่วน จำเลยที่ 2 ยื่น เมื่อ เดือน ธันวาคม 2531 จะ เห็นว่า กลับ ไป กลับมา ไม่แน่ นอนทั้ง จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ เป็น ผู้ยื่น มี ชื่อ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท หา มีสิทธิจะ ยื่น คำขอ ได้ไม่ คำเบิกความ ของ จำเลย ที่ 2 ไม่มี น้ำหนัก ให้ รับฟังกรณี ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ละเลย และ เชื่อ ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็นฝ่าย ขอผัด ผ่อน ตาม คำเบิกความ ของ โจทก์ และ นาย สุพจน์ หาใช่ ฝ่าย โจทก์ ตาม ข้ออ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ นอกจาก นี้ ต่อมา โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สองได้ ไป ที่ สำนักงาน จัด รูป ที่ดิน จังหวัด ขอนแก่น เพื่อ เจรจา ตกลง กันนาย ประเมศ ชู ศิลป์ พยานโจทก์ ซึ่ง เป็น นิติกร 4 ประจำ สำนักงาน จัด รูป ที่ดิน จังหวัด ขอนแก่น และ เป็น ผู้ ไกล่เกลี่ย กรณี ของ โจทก์ กับ จำเลยทั้ง สอง เบิกความ ว่า วันนั้น โจทก์ ประสงค์ จะ รับโอน ที่ดินพิพาทแต่ จำเลย ทั้ง สอง จะ ขอ ซื้อ ที่ดินพิพาท คืน โจทก์ ยอม ขาย คืน ให้ เพียง4 ไร่ ใน ส่วน ของ สามี โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง จะซื้อ คืน ทั้งหมด จึง ตกลงกัน ไม่ได้ เห็นว่า นาย ประเมศ ไม่มี ส่วนได้เสีย กับ ฝ่ายใด จึง เป็น พยาน คนกลาง เชื่อ ว่า เบิกความ ไป ตาม ความ เป็น จริง คำเบิกความของ นาย ประเมศ เป็น ข้อ สนับสนุน น่าเชื่อ ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา พยานหลักฐาน ของ โจทก์ มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลยทั้ง สอง ฟังได้ ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองพิพากษา ต้อง กัน มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share