คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2479

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คดีอาญาต้องเริ่มคำนวฯ+ในวันรุ่งขึ้น คดีที่ศาลชั้นต้นแลศาลอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลย ๆ ฎีกาคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกาได้ +

ย่อยาว

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา ๑๗๓
จำเลยอุทธรณ์
ปรากฎว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน จำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ ๑๖ ธันวาคม โดยวันที่ ๑๕ เป็นวันอาทิตย์
ศาลล่างทั้ง ๒ มีคำสั่งต้องกันว่าตาม ม.๑๙๘ แห่งประมวลวิธีพิจารณาอาญา บัญญัติไว้ชัดว่า ให้นับแต่วันอ่านคำพิพากษา อุทธรณ์ของจำเลยจึงขาดอายุความ
จำเลยฎีกาว่าอุทธรณ์จำเลยไม่ขาดอายุความ
ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยฎีกาคำสั่งนั้นได้ โดยวินิจฉัยว่า ประมวลวิธีพิจารณาอาญาห้ามฎีกาไว้ฉะเพาะที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๑๗ ถึง ๒๒๑ เท่านั้น เพราะฉะนั้นจะนำบทบัญญัติในประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.๒๓๖ ที่ให้ถือว่าคำสั่งเช่นนี้เป็นที่สุดชั้นศาลอุทธรณ์มาใช้โดยอนุโลมไม่ได้แลกรณีก็ไม่เข้า ม.๑๕ แห่งประมวลวิธีพิจารณาอาญา
ส่วนข้อที่อุทธรณ์จำเลยขาดอายุความหรือไม่นั้น เห็นว่า ม.๑๙๘ ที่ว่า ให้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันอ่านคำพิพากษา มิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้นับวันอ่านรวมคำนวณเข้าด้วย หรือให้เริ่มนับวันใดเป็นต้นไป เห็นว่าวิธีนับระยะเวลาในมาตรา ๑๕๘ ที่มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย นำมาเป็นวิธีคำนวณระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีนี้ได้ทั้งตาม ม.๒๔ แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความมีโทษฯก็มีว่า “ฟ้องอุทธรณ์ต้องยื่นในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ” เห็นว่ากฎหมายเก่ากับกฎหมายใหม่ใช้ถ้อยคำอย่างเดียวกัน ทั้งได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยมาแล้วว่าให้นับแต่วันรุ่งขึ้น คดีนี้จึงครบกำหนดในวันที่ ๑๕ ซึ่งเป็นอาทิตย์ ซึ่งตาม ม.๑๖๑ จำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันจันทร์ที่ ๑๖ ซึ่งเป็นวัน+ศาลเปิดทำงาน จึงไม่ขาดอายุความอุทธรณ์พิพากษากลับศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นรับอุทธณ์จำเลยดำเนินตามกระบวนความต่อไป

Share