คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่2เป็น บริษัทในเครือบริษัท ค. และตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการจดทะเบียนประกอบกิจการขนส่งให้แก่ลูกค้าที่ซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท ค. ในกรณีลูกค้าอยู่ต่างจังหวัดไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งก็สามารถใช้ชื่อของห้างจำเลยที่2ประกอบกิจการขนส่งจำเลยที่1เป็นลูกค้าที่ซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท ค. และประกอบกิจการขนส่งในนามของห้างจำเลยที่2พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่2ได้รับประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่1เมื่อลูกจ้างจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกไปใน ทางการที่จ้างโดย ประมาท กรณีถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ด้วยจำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในผลแห่ง ละเมิด

ย่อยาว

โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 4 ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกันใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 60,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 60,000 บาท นับ จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ที่ 2 และ ให้ ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 120,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 120,000 บาทนับ จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ที่ 3 และ ที่ 4
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ทำนอง เดียว กัน ขอให้ ยกฟ้อง และ นาย ประพันธ์ ไม่ได้ ขับ รถ ด้วย ความประมาท
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกันชำระ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 40,000 บาท และ ให้ โจทก์ ที่ 4จำนวน 44,700 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีจาก เงินต้น ดังกล่าว นับ จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ค่าเสียหายที่ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 4 ขอ เกิน มา ขอให้ ยก เสีย ยกฟ้อง โจทก์ ที่ 1และ ที่ 3 และ ยกฟ้อง โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 4 สำหรับ จำเลย ที่ 4
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย จำนวน 15,000 บาท แก่ โจทก์ ที่ 2 และ ค่าเสียหายจำนวน 22,350 บาท แก่ โจทก์ ที่ 4 พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ของ แต่ละ คน ดังกล่าว นับ จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ โดย ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 2จำนวน 7,500 บาท และ รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 4 จำนวน 11,175 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ของ แต่ละ คนดังกล่าว นับ จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์ ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถยนต์บรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน 80-2739อยุธยา โดย มี นาย เซียมฮุย พัฒนาวานิชย์ เป็น ลูกจ้าง ขับ รถ โจทก์ ที่ 4 เป็น มารดา ของ นาย แดงหรือวันชัย สำเร็จศิลป์ จำเลย ที่ 1เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครอง รถยนต์บรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน 70-1137ขอนแก่น และ คัน หมายเลข ทะเบียน 80-4534 อุดรธานี โดย มี นาย ประพันธ์ ศรีราวรรณ์ และ นาย ทวี โซ่เงิน เป็น ลูกจ้าง ขับ รถยนต์บรรทุก ดังกล่าว ตามลำดับ จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย รถยนต์บรรทุก คัน หมายเลขทะเบียน 70-1137 ขอนแก่น ของ จำเลย ที่ 1 ตาม วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุนาย เซียมฮุย นายทวี นายประพันธ์ ขับ รถยนต์บรรทุก ของ แล่น ตาม กัน มา ตาม ถนน วิภาวดีรังสิตถึงสี่แยกถนนวิภาวดีรังสิตตัดกับถนนงามวงศ์วาน นาย เซียมฮุย นายทวี นายประพันธ์ ขับ รถ ด้วย ความประมาท มา ด้วย ความ เร็ว สูง เมื่อ สัญญาณไฟจราจร เปลี่ยน เป็น สีแดง นาย เซียมฮุย เห็น รถยนต์บรรทุก คัน หน้า หยุด นาย เซียมฮุย ก็ เหยียบ ห้ามล้อ แต่ รถยนต์บรรทุก ไม่หยุด จึง ชน ท้ายรถ ยนต์บรรทุก คัน หน้า รถยนต์บรรทุกนาย ทวี ชน ท้ายรถ ยนต์บรรทุก นาย เซียมฮุย แล้ว รถยนต์บรรทุก นาย ประพันธ์ ชน ท้ายรถ ยนต์บรรทุก นาย ทวี ได้รับ ความเสียหาย นาย แดงหรือวันชัย ซึ่ง นั่ง มา ใน รถยนต์บรรทุก นาย เซียมฮุย กระเด็น ตก จาก รถ และ ถูก รถยนต์บรรทุก ทับ ตาย จำเลย ที่ 2 เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัดมี วัตถุประสงค์ รับจ้าง ขนส่ง สินค้า ระหว่าง จังหวัด ใน ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ กับ กรุงเทพมหานคร
จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ เป็น นายจ้าง ของนาย ประพันธ์ ศรีราวรรณ์ และ นาย ทวี โซ่เงิน จำเลย ที่ 2ไม่ต้อง ร่วมรับผิด ใน ผล แห่ง การ ละเมิด ของ คน ทั้ง สอง ศาลฎีกา เห็นว่าเมื่อ จำเลย ที่ 2 นำสืบ รับ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น บริษัท ใน เครือ ของบริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด ตั้ง ขึ้น เพื่อ ดำเนินการ จดทะเบียน ประกอบ กิจการ ขนส่ง ให้ แก่ ลูกค้า ที่ ซื้อ รถยนต์บรรทุก จาก บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด ใน กรณี ที่ ลูกค้า อยู่ ต่างจังหวัด ไม่มี ใบอนุญาต ประกอบ กิจการ ขนส่ง เพื่อ ให้ ลูกค้า ของ บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด สามารถ ใช้ ชื่อ ของ ห้าง จำเลย ที่ 2ประกอบ กิจการ ขนส่ง จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกค้า ซื้อ รถยนต์บรรทุก จากบริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด และ ได้ ประกอบ กิจการ ขนส่ง ใน นาม ของ ห้าง จำเลย ที่ 2 พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลย ที่ 2 ได้รับ ประโยชน์ ร่วมกัน กับ บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด และ จำเลย ที่ 1 เมื่อ จำเลย ที่ 1 นำ รถยนต์บรรทุก ดังกล่าว ไป ประกอบการขนส่ง โดย มี นาย ประพันธ์และนายทวี เป็น ลูกจ้าง ขับ รถยนต์บรรทุก ของ จำเลย ที่ 1 ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 โดยประมาท กรณี ถือได้ว่านาย ประพันธ์และนายทวี เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ด้วย จำเลย ที่ 2ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ผล แห่ง ละเมิด ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share