คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่17มีนาคม2521โจทก์ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่17มีนาคม2521ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แม้โจทก์จะได้ขอหมายบังคับคดีเมื่อวันที่12มิถุนายน2521แล้วนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่2และที่3เมื่อวันที่13มิถุนายน2521และต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดในวันที่10กุมภาพันธ์2530ก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดีเมื่อหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามโจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้(มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่2/2537)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สาม เป็น หนี้ โจทก์ ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ ได้ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์ จำนอง ของจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ขายทอดตลาด และ ตีราคา หลักประกัน ที่ดิน ที่ ไม่อาจขายทอดตลาด ได้ หัก กับ จำนวน หนี้ แล้ว คงเหลือ หนี้ ค้างชำระ3,602,436.74 บาท และ จำเลย ทั้ง สาม ไม่มี ทรัพย์สิน พอ จะ ชำระหนี้ ได้ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สาม เด็ดขาด และ พิพากษา ให้ เป็นบุคคล ล้มละลาย
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น หากโจทก์ ขายทอดตลาด ทรัพย์ จำนอง ได้ เงิน ไม่พอ ชำระหนี้ จำเลย ไม่ต้องรับผิด ชำระ เงิน ที่ ขาด จำนวน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733และ หนี้ ที่ โจทก์ นำ มา ฟ้อง ถึงที่สุด วันที่ 17 เมษายน 2521สิทธิเรียกร้อง ให้ ชำระหนี้ มี อายุความ 10 ปี โจทก์ นำ สิทธิ ดังกล่าวมา ฟ้อง ล้มละลาย วันที่ 31 สิงหาคม 2533 คดี ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สามเด็ดขาด
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลยทั้ง สาม เป็น ลูกหนี้ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ซึ่ง พิพากษา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2521 และ จำเลย ทั้ง สาม ไม่ชำระ หนี้ ตาม คำบังคับ ของ ศาลต่อมา วันที่ 12 มิถุนายน 2521 โจทก์ ขอ หมาย บังคับคดี แล้ว นำเจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์ จำนอง คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2794 ถึง2800 และ 2802 ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เมื่อ วันที่ 13 มิถุนายน2521 และ นำ ออก ขายทอดตลาด ใน วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 เฉพาะ ที่ดินโฉนด เลขที่ 2794 ถึง 2800 ขาย ได้ เป็น เงิน 1,403,500 บาท เมื่อหัก เป็น ค่าธรรมเนียม การ ขาย และ ค่าใช้จ่าย แล้ว เหลือ เงิน 1,333,205บาท ซึ่ง โจทก์ ได้รับ เงิน จำนวน ดังกล่าว ไป แล้ว เมื่อ วันที่ 15 เมษายน2530 ส่วน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2802 ไม่มี ผู้ สนใจ ซื้อ โจทก์ จึง ตีราคาที่ดิน โฉนด ดังกล่าว เป็น เงิน 1,890,000 บาท แล้ว นำ มา หัก จำนวน หนี้ที่ ยัง คง ค้างชำระ อยู่ หลังจาก หัก แล้ว จำเลย ทั้ง สาม ยัง คง ค้างชำระ หนี้โจทก์ อยู่ อีก จำนวน 3,622,436.74 บาท โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ปัญหา ว่า โจทก์ จะ นำ หนี้ ตาม คำพิพากษาซึ่ง เกิน กำหนด สิบ ปี นับแต่ วัน มี คำพิพากษา มา ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ให้ล้มละลาย ได้ หรือไม่ เห็นว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษา ให้ จำเลยทั้ง สาม ชำระหนี้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม 2521 โจทก์ ชอบ ที่จะ ร้องขอ บังคับคดี แก่ จำเลย ทั้ง สาม ภายใน สิบ ปี นับแต่ วันที่ 17มีนาคม 2521 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271แม้ ข้อเท็จจริง จะ ปรากฏว่า โจทก์ ได้ ขอ หมาย บังคับคดี เมื่อ วันที่ 12มิถุนายน 2521 แล้ว นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์ จำนอง ของจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เมื่อ วันที่ 13 มิถุนายน 2521 ต่อมาเจ้าพนักงาน บังคับคดี นำ ทรัพย์ ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด ใน วันที่10 กุมภาพันธ์ 2530 ก็ ตาม ก็ เป็น ขั้นตอน ของ การ ดำเนินการ บังคับคดีศาลฎีกา โดย มติ ของ ที่ ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อ หนี้ ที่ โจทก์ นำ มา ฟ้องคดี นี้ โจทก์ มิได้ ดำเนินการ บังคับคดี เสีย ภายใน สิบ ปี นับแต่ วัน มีคำพิพากษา โจทก์ ย่อม หมด สิทธิ ที่ จะ บังคับคดี แก่ จำเลย ทั้ง สาม โจทก์ จึงไม่อาจ นำ หนี้ ที่ พ้น กำหนด เวลา บังคับคดี ดังกล่าว แล้ว มา ฟ้อง จำเลยทั้ง สาม ให้ ล้มละลาย ได้ ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ที่ ว่า โจทก์ มีสิทธิบังคับคดี ใน หนี้ ส่วน ที่ ยัง ขาด จำนวน จาก การ บังคับจำนอง หรือไม่จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย
พิพากษายืน

Share