คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2471

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญาซื้อไม้สักมัดจำค่าเสียหายการแปลสัญญาเปนปัญหากฎหมายอย่างไรเรียกว่าไม้โพรงไม้แตก ประเพณีแห่งการค้าขายจะนำมาสืบอธิบายสัญญาได้เพียงไรวิธีพิจารณาแพ่ง

ย่อยาว

โจทก์จำเลยทำ สัญญาจะส่งไม่ขอนสัก ๑๔๙ ต้น ในสัญญาตกลงว่า จะไม่มีไม้โพรงเกินกว่า ๘ ต้นและไม้ไม่มีแตก โจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้ ๒๓๐๐ บาทถ้าไม่ส่งไม้ให้โจทก์จำเลยยอมใช้ค่าเสียหาย ๑๕๐๐ บาท
ศาลล่างทั้ง ๒ เห็นว่าโจทก์ส่งไม้โพรงเกิน ๒ ศอกมากกว่า ๘ ต้นและมีไม้แตกบ้าง แต่เพียงไรจึงเรียกว่าไม่โพรงนั้นไม่มีประเพณีที่แน่นอนศาลล่าง วินิจฉัยว่าคู่สัญญาไม่ได้มีการตกลงกันแน่นอนในเรื่องไม้โพรง จึงไม่มี สัญญาผูกพันให้จำเลยคืนเงินมัดจำ
คดีนี้คู่ความจะทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาได้แต่ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นว่าการแปลสัญญานั้นเปนปัญหาข้อ แลต้องแปลตามตัวอักษรแลตามความหมายธรรมดาตรง ๆ แต่ฟ้องยอมรับคำพะยานแห่งประเพณีนิยมมาใช้ดัดแปลงความเข้าใจในถ้อยคำ แต่ความแตกต่างในความหมายแห่งสัญญานี้ย่อมไม่ทำให้สัญญาเปนโมฆะ คดีนี้ในเบื้องต้น จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยเอาไม้โพรงและแตกมาส่ง เว้นแต่ จำเลยจะพิศูจน์ให้ได้ความว่า ตามประเพณีแห่งการค้าขายไม้ที่ส่งยังไม่ถือว่าเปนไม้โพรงและแตกตาม สัญญาประเด็นข้อนี้ ศาลล่างไม่วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยได้ส่งไม้ดีแลงามตามความหมายแห่ สัญญาและประเพณีแห่งการค้าขายศาลฎีกาจึงตัดสินยกฟ้อง โจทก์ที่ขอเรียกค่าเสียหาย ( คดีนี้ฝ่ายจำเลยไม่ฎีกาโดยยินยอมตามคำตัดสินศาลเดิม )

Share