คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาตามบันทึกหลังทะเบียนหย่ายกที่พิพาทให้แก่ พ. และ ว.ซึ่งเป็นบุตรโจทก์จำเลยจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสองเมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลยเป็นการกระทำการใดๆอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้อายุความย่อมสะดุดหยุดลง แม้ พ. ถึงแก่กรรมไปแล้วขณะที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งจำเลยได้ระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว. เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจอันแตกต่างไปจากสัญญาเดิม(ที่ระบุทั้ง ว. และ พ.)ก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เคย เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ จำเลยมี บุตร ด้วยกัน 2 คน คือ นาย พยงค์ และนางวิไลวรรณ ระหว่าง อยู่กิน อยู่ ด้วยกัน โจทก์ และ จำเลย เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 1039 ต่อมา เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม 2521 โจทก์ จำเลย ได้จดทะเบียน หย่า และ ทำ บันทึก ต่อ นายทะเบียน ว่า โจทก์ และ จำเลย ตกลงยก ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ แก่ นาง วิไลวรรณ เมื่อ โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม สัญญา จำเลย กำลัง เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลยจดทะเบียน โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1039 ให้ แก่ นาง วิไลวรรณ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ รับ ว่า จำเลย ได้ จดทะเบียน หย่า และ ตกลง กับ โจทก์ ว่ายอม ยก ที่พิพาท แก่ บุตร ทั้ง สอง คน ตาม ฟ้อง แต่ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลยจดทะเบียน โอน ที่พิพาท แก่ บุตร คนเดียว เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อตกลง ในสัญญา โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง และ โจทก์ มิได้ ฟ้อง ภายใน 10 ปี นับแต่วัน จดทะเบียน หย่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย ได้ ตกลง กับ โจทก์ ยอม โอน ที่พิพาทให้ แก่ บุตร เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม 2521 อายุความ เริ่ม นับแต่ วันที่13 ธันวาคม 2521 โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง วันที่ 4 กรกฎาคม 2533 เกิน10 ปี คดี โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 1039 ตำบล บ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัด ระยอง แก่ นาง วิไลวรรณ ผลศิริ (ฤกษ์มงคล) หาก จำเลย ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า การ ที่จำเลย ทำ หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7 ให้ โจทก์ ไว้ ไม่ใช่เป็น การ รับสภาพหนี้ อายุความ ไม่ สะดุด หยุด ลง โจทก์ จำเลย จดทะเบียนหย่า โดย ทำ บันทึก ตกลง ยก ที่พิพาท ให้ บุตร 2 คน เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม2521 โจทก์ ฟ้องคดี วันที่ 4 กรกฎาคม 2533 เกิน 10 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึง ขาดอายุความ นั้น เห็นว่า การ ที่ โจทก์ จำเลย ตกลง ทำ สัญญา ยก ที่พิพาทให้ แก่ บุตร 2 คน ตาม บันทึก หลัง ทะเบียน หย่า เอกสาร หมาย จ. 4 โจทก์ จำเลยซึ่ง เป็น คู่สัญญา จึง มี ฐานะ เป็น ลูกหนี้ ที่ จะ ต้อง โอน ที่พิพาท ให้ แก่บุตร ทั้ง สอง เมื่อ โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม สัญญา จำเลย ได้ทำ หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7 ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น คู่สัญญา ไปดำเนินการ โอน ที่พิพาท ให้ แก่ บุตร แทน จำเลย อันเป็น การ ปฏิบัติ ตามสัญญา แล้ว ถือได้ว่า การ ที่ จำเลย ทำ หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7ให้ โจทก์ ไว้ เป็น การกระทำ การ ใด ๆ อัน ปราศจาก เคลือบคลุม สงสัยตระหนัก เป็น ปริยาย ว่า ยอมรับ สภาพ หนี้ ตาม บันทึก หลัง ทะเบียน หย่าเอกสาร หมาย จ. 4 ดังกล่าว อายุความ ย่อม สะดุด หยุด ลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14(1)ที่ แก้ไข ใหม่ ) เมื่อ หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7 ลงวันที่ 4สิงหาคม 2524 อายุความ จึง สะดุด หยุด ลง ตั้งแต่ วันที่ 4 สิงหาคม 2524และ เริ่ม นับ อายุความ ใหม่ ต่อไป โจทก์ ฟ้องคดี เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม2533 ยัง ไม่เกิน 10 ปี จึง ไม่ขาดอายุความ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จำเลย ยกขึ้น ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่าศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย โอน ที่พิพาท แก่ นาง วิไลวรรณ เพียง ผู้เดียว เป็น การ ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า ตาม บันทึก ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ จำเลย เอกสารหมาย จ. 4 ระบุ ยก ที่พิพาท ให้ แก่ บุตร ทั้ง สอง โดย มิได้ มี เงื่อนไขกำหนด ให้ สัญญา สิ้น ความผูกพัน หาก เหลือ บุคคล ที่ จะ เป็น ผู้รับ ทรัพย์นั้น เพียง ผู้เดียว และ เมื่อ นาย พยงค์ บุตร คนหนึ่ง ถึงแก่กรรม ไป แล้ว จำเลย ยัง ทำ หนังสือมอบอำนาจ เป็น การ รับสภาพหนี้ ที่ มี ความผูกพันที่ จะ โอน ที่พิพาท ให้ แก่ นาง วิไลวรรณ บุตร ซึ่ง จำเลย รู้ อยู่ แล้ว ว่า ยัง คงเหลือ อยู่ เพียง ผู้เดียว โดย ระบุ ชื่อ นาง วิไลวรรณ เป็น ผู้รับโอน ไว้ อย่าง ชัดแจ้ง ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 ย่อม แสดง ให้ เห็น เจตนา ของจำเลย ว่า จุดประสงค์ ที่ แท้จริง ใน การ ยก ที่พิพาท นั้น ต้องการ ยกให้ แก่บุตร เท่านั้น โดย มิได้ คำนึง ถึง จำนวน บุตร ว่า จะ อยู่ ครบ ทั้ง คู่ หรือเหลือ เพียง คนเดียว เช่นนี้ โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลย โอนที่พิพาท แก่ นาง วิไลวรรณ ตาม สัญญา และ ศาล ย่อม มีอำนาจ พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ที่พิพาท ทั้ง แปลง แก่ นาง วิไลวรรณ ได้ และ การ ที่ จำเลย ระบุ ผู้รับโอน ที่พิพาท เป็น นาง วิไลวรรณ เพียง คนเดียว ใน หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 7 อัน แตกต่าง ไป จาก สัญญา เดิมก็ หาใช่ เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ นำสืบ พยานบุคคล เพิ่มเติม ตัด ทอน หรือเปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อความ ใน เอกสาร หมาย จ. 4 ซึ่ง ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ตาม ที่ จำเลย อ้างไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share