แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
“ป่า” ตามความหมายใน พ.ร.บ.รักษาป่าฯ ม.3 ข้อ 2 นั้นหมายถึงที่+ดงซึ่งรัฐบาลมิได้อนุญาตให้ออกโฉนดแก่ผู้หนึ่งผู้ใดทำบ้านเรือนหรือทำการเพาะปลุก
ตัดไม้หวงห้ามในที่ซึ่งตนได้รับใบเหยียบย่ำแล้วแต่ยังมิได้รับโฉนดโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และใบเหยียบย่ำนั้นยังไม่ขาดอายุยังไม่มีผิดตาม พ.ร.บ.และกฎข้อบังคับฯรักษาป่า
ย่อยาว
จำเลยตัดไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานในที่ดินซึ่งจำเลยได้รับใบเหยียบย่ำแล้ว โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.รักษาป่า ม.๔,๖ และกฎข้อบังคับฯ ข้อ ๑๖
ศาลชั้นต้นเห็นว่าตัดไม้ในที่ใบเหยียบย่ำและใบเหยียบย่ำยังมิได้ขาดอายุไม่มีความผิดตามฟ้อง ให้ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำว่า “ป่า” ตามพ.ร.บ.หมายถึงที่ดินซึ่งมีสภาพเป็นป่า เมื่อที่ดินได้ออกใบเหยียบย่ำแล้วก็ไม่ใช่ป่าตามความหมายใน พ.ร.บ.พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ศาลฎีกาเห็นว่า คำว่า “ป่า” ตามความหมายของพ.ร.บ.รักษาป่า ม.๓ ข้อ ๒ หมายถึงที่ป่าดงซึ่งรัฐบาลมิได้อนุญาตให้ออกโฉนดแก่ผู้หนึ่งผู้ใดทำบ้านเรือนหรือทำการเพาะปลูกจริงอยู่จำเลยเพียงแต่ได้รับใบเหยียบย่ำยังมิได้รับโฉนด แต่ที่รัฐบาลอนุญาตให้จับจองที่ดินตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดินฉะบับที่ ๖ พ.ศ.๒๔๗๙ ซึ่งใช้อยู่เวลานี้ก็ออกใบเหยียบย่ำและตราจองให้ หาใช่ออกโฉนดไม่ ใบเหยียบย่ำเป็นการแสดงสิทธิในเบื้องต้นที่จะได้รับโฉนดในภายหลัง เป็นการพอที่จะฟังว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแล้ว จึงไม่มีความผิด พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์