คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2502

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญา ก็ต้องให้ได้ความว่ามีเจตนาบังอาจหรือจงใจฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จึงจะลงโทษตาม มาตรา 108 ได้
ที่ดินพิพาทได้ซื้อขายกันมาหลายทอดจนถึงจำเลย และจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองอยู่ก่อนที่ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติว่าเป็นความผิด ทั้งจำเลยเคยได้แจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้แล้วด้วย ย่อมลงโทษจำเลยในทางอาญาไม่ได้

ย่อยาว

ได้ความว่า ที่ดินพิพาทตามที่โจทก์ฟ้องได้ซื้อขายกันมาหลายทอดจนถึงจำเลย ๆ ได้เข้ายึดถือครอบครองอยู่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและทั้งจำเลยเคยได้แจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญา ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ,๖,๙,๑๐๘ พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พงศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๑๐ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลโป่งแยง ฯลฯ พงศ. ๒๔๙๒ มาตรา ๔ พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๗๙ มาตรา ๕,๑๓ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดเขตหวงห้ามที่เขาหรือภูเขาตามความในมาตรา ๙ (๒) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลทั้งสองให้ยกฟ้องโจทก์
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกามีว่า คดีนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา ก็ต้องให้ได้ความว่า จำเลยมีเจตนาบังอาจหรือจงใจที่จะฝ่าฝืนบทบัญญัติของมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จึงจะลงโทษตาม มาตรา ๑๐๘ ได้ แต่ในเรื่องนี้โจทก์ก็แถลงรับตามข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้น จึงลงโทษจำเลยในทางอาญาไม่ได้ ข้อที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน พงศ. ๒๔๗๘ ก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๗๘ ก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ นั้น ก็เป็นคนละประเด็นกับที่จำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ และข้อที่โจทก์อ้าง พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙ มาตรา ๑๕ มาประกอบข้อโต้เถียงของจำเลยนั้น กฎหมายฉบับนี้ได้ถูกยกเลิก โดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้ว เหตุผลของโจทก์ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยในทางอาญาได้

Share