แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้แก่สมาชิกแล้วสมาชิกสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรโดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดโจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้ซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ด้วยและโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกการที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)เดิมจำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด2ปีแล้วจึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ประกอบกับจำเลยที่1เป็นสมาชิกบัตรเครดิตจำเลยที่2เป็นสมาชิกบัตรเสริมของโจทก์สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกันการที่จำเลยที่2ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ประกอบ ธุรกิจ เป็น ผู้ ให้ บริการ สินเชื่อแก่ บุคคล ทั่วไป โดย เป็น ผู้ ออก บัตรเครดิต เรียกว่า “บัตร สินเชื่อ ไดเนอร์สคลับ ” ให้ แก่ ผู้ สมัคร เข้า เป็น สมาชิก ของ โจทก์ สมาชิก สามารถ นำ บัตร ดังกล่าว ไป แสดง ต่อ บุคคล หรือ นิติบุคคล หรือ ร้านค้า ซึ่ง ตกลงรับ บัตรเครดิต ที่ โจทก์ ออก ให้ เพื่อ ซื้อ สินค้า หรือ ใช้ บริการ โดย ไม่ต้องชำระ เงินสด โจทก์ จะ เป็น ผู้ชำระ เงิน แทน สมาชิก แล้ว จะ เรียกเก็บเงินจาก สมาชิก ใน ภายหลัง เป็น รายเดือน และ สมาชิก สามารถ นำ บัตร ไป ถอนเงิน สดจาก เครื่อง ฝาก ถอนเงิน อัตโนมัติ ได้ ด้วย โดย จะ ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียมแก่ โจทก์ หาก สมาชิก มี คำร้องขอ ต่อ โจทก์ ให้ ผู้อื่น เข้า เป็น สมาชิกบัตร เสริม โจทก์ ก็ จะ ดำเนินการ ให้ ซึ่ง สมาชิก บัตร เสริม มีสิทธิ หน้าที่และ ความรับผิด เช่นเดียว กับ สมาชิก ผู้ร้อง ขอ ทุกประการ จำเลย ที่ 1ได้ ตกลง เข้า เป็น สมาชิก ของ โจทก์ โดย ตกลง จะ ปฏิบัติ ตาม เงื่อนไข ดังกล่าวข้างต้น และ ตกลง ว่า จะ ชำระ เงิน ที่ โจทก์ ออก ชำระ แทน คืน แก่ โจทก์ ภายใน15 วัน นับแต่ วันที่ ระบุ ไว้ ใน ใบ แจ้ง ยอดหนี้ รายเดือน หาก ผิดนัดยอม ชำระ ค่าธรรมเนียม แก่ โจทก์ ใน อัตรา ร้อยละ 2 ต่อ เดือน ต่อมาจำเลย ที่ 1 ได้ ร้องขอ ต่อ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2 เข้า เป็น สมาชิก บัตร เสริมโดย จำเลย ทั้ง สอง ตกลง เข้า ผูกพัน เพื่อ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ โดย ยอมรับ ผิดร่วมกัน อย่าง ลูกหนี้ ร่วม หลังจาก จำเลย ทั้ง สอง เข้า เป็น สมาชิก แล้วจำเลย ทั้ง สอง ได้ นำ บัตร ที่ โจทก์ ออก ให้ ไป ใช้ หลาย ครั้ง และ โจทก์ ได้ ชำระเงิน แทน จำเลย ทั้ง สอง ทุกครั้ง โจทก์ ได้ ออก ใบ แจ้ง ยอดหนี้ ให้ จำเลยทั้ง สอง ชำระหนี้ แก่ โจทก์ เฉพาะ ที่ ฟ้องคดี นี้ รวม 11 ฉบับ เมื่อ ถึงกำหนด ชำระหนี้ ตาม ใบ แจ้ง ยอดหนี้ ของ โจทก์ แล้ว จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉยปรากฏว่า ณ วันที่ 23 มีนาคม 2530 จำเลย ทั้ง สอง ค้างชำระ หนี้ แก่ โจทก์จำนวน 62,477.15 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน62,477.15 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น สมาชิก บัตร เสริม ของ โจทก์โดย จำเลย ที่ 2 ใช้ บัตร เสริม ซื้อ สินค้า และ ใช้ บริการ เป็น เงิน10,460.50 บาท เท่านั้น และ ได้ มอบ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 1เพื่อ ให้ จำเลย ที่ 1 นำ ไป ชำระ แก่ โจทก์ แล้ว จำเลย ที่ 2 ไม่เคย ตกลงกับ โจทก์ ว่า จะ ต้อง ร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ อย่าง ลูกหนี้ ร่วม กับ จำเลย ที่ 1ไม่เคย รับทราบ หรือ ตกลง ตาม ข้อบังคับ ของ โจทก์ คำฟ้อง ของ โจทก์เคลือบคลุม และ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน 62,477.15บาท แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา วินิจฉัย มา สู่ ศาลฎีกา เฉพาะใน ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ 2 ปีเพราะ โจทก์ เป็น ผู้ค้า ใน การ ดูแล กิจการ ของ ผู้อื่น หรือ รับ ทำการ งานต่าง ๆ เรียก เอา สินจ้าง อัน จะ พึง ได้รับ ใน การ นั้น หรือ เรียก เอาค่า ที่ ได้ ออก เงินทดรอง ไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) เดิม หรือไม่ ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าวศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐานใน สำนวน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบ มาตรา 247 ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ มี วัตถุประสงค์ใน การ ให้ บริการ สินเชื่อ แก่ บุคคล ทั่วไป ใน รูป ของ บัตรเครดิต ชื่อ ว่า “บัตรสินเชื่อไดเนอร์สคลับ” โดย โจทก์ ออก บัตร ให้ แก่ สมาชิก แล้ว สมาชิก ของ โจทก์ สามารถ นำ บัตร ไป ใช้ บริการ โดย ซื้อ สินค้า จาก ร้านค้าที่ ตกลง รับ บัตร ของ โจทก์ โดย สมาชิก ไม่ต้อง ชำระ ราคา สินค้า เป็น เงินสดโจทก์ เป็น ผู้ชำระ เงิน แทน สมาชิก ไป ก่อน แล้ว จึง เรียกเก็บเงิน จาก สมาชิกภายหลัง และ สมาชิก สามารถ นำ บัตร ไป ถอนเงิน สด จาก บัญชี เงินฝาก ของ โจทก์ที่ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด โดย ผ่าน เครื่อง ฝาก ถอนเงิน อัตโนมัติ ของ ธนาคาร กลุ่ม ” สยามเน็ต ” ซึ่ง สมาชิก จะ ต้อง เสีย ค่าบริการ ให้ แก่ โจทก์ ด้วย เห็นว่า การ ให้ บริการ ดังกล่าว แก่ สมาชิก ของ โจทก์ โจทก์ ได้เรียกเก็บ ค่าบริการ หรือ ค่าธรรมเนียม รายปี ด้วย โจทก์ จึง เป็นผู้ค้า รับ ทำการ งาน ต่าง ๆ ให้ แก่ สมาชิก และ การ ที่ โจทก์ ได้ ชำระ เงินแก่ เจ้าหนี้ ของ สมาชิก แทน สมาชิก ไป ก่อน แล้ว จึง เรียกเก็บเงิน จากสมาชิก ภายหลัง เป็น การ เรียก เอา ค่า ที่ โจทก์ ได้ ออก เงินทดรอง ไป ดังนั้นการ ที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง เป็น คดี นี้ ถือได้ว่า โจทก์ เป็น ผู้ค้ารับ ทำการ งาน ต่าง ๆ เรียก เอา ค่า ที่ ได้ ออก เงินทดรอง ไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าว จึง มี อายุความ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) เดิม ที่ ใช้ อยู่ ใน ขณะที่ โจทก์ อาจ บังคับ สิทธิเรียกร้องได้ ปรากฏว่า จำเลย ทั้ง สอง ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ครั้งสุดท้าย เป็น บางส่วนเมื่อ วันที่ 23 มีนาคม 2530 อันเป็น การ รับสภาพหนี้ ต่อ โจทก์ทำให้ อายุความ สะดุด หยุด ลง และ เริ่ม นับ อายุความ ขึ้น ใหม่ ตั้งแต่วัน ดังกล่าว โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2532 พ้น กำหนด2 ปี แล้ว สิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ จึง ขาดอายุความ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ฟังขึ้น และ คดี นี้ จำเลย ทั้ง สอง เป็น ลูกหนี้ ร่วม มูล ความ แห่ง คดีเป็น การ ชำระหนี้ ซึ่ง แบ่งแยก จาก กัน มิได้ ประกอบ กับ จำเลย ที่ 1เป็น สมาชิก บัตรเครดิต จำเลย ที่ 2 เป็น สมาชิก บัตร เสริม ของ โจทก์สิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ ต่อ จำเลย ทั้ง สอง เป็น อย่างเดียว กัน การ ที่จำเลย ที่ 2 ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็นลูกหนี้ ร่วม ได้ ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ แล้ว เช่นกัน แม้ จำเลย ที่ 1มิได้ ฎีกา แต่เมื่อ คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ ศาลฎีกา ย่อม มีอำนาจพิพากษา ให้ มีผล ถึง จำเลย ที่ 1 ได้ ด้วย ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 245(1), 247″
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง