คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ขณะทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยที่1ได้ระบุภูมิลำเนาตามฟ้องไว้ในสัญญาอันเป็นภูมิลำเนาตรงตามบัตรประชาชนและตรงตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่1การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ได้มีการส่งตามบ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งจำเลยที่1ได้ให้การต่อสู้คดีแล้วที่จำเลยที่1อ้างว่าการส่งหมายครั้งอื่นของพนักงานเดินหมายก่อนส่งคำบังคับได้นำไปส่งยังบ้านเลขที่อื่นที่เป็นสำนักงานของจำเลยที่1แสดงว่าพนักงานเดินหมายทราบดีว่าจำเลยที่1ไม่ได้อยู่บ้านเลขที่ตามฟ้องนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา77ได้บัญญัติถึงการส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดย เจ้าพนักงานศาลไปยังที่อื่นหรือสำนักงานทำการงานการที่พนักงานเดินหมายไปส่งยังสำนักทำการงานของจำเลยที่1ตามที่ปรากฏในท้ายสำนวนนั้นย่อมไม่ใช่แสดงว่าเจ้าพนักงานทราบดีว่าจำเลยที่1ไม่ได้อยู่ที่บ้านเลขที่ตามฟ้องแต่อย่างใดอาจเป็นเพียงแต่เจ้าพนักงานเห็นว่าสะดวกกว่าการส่งไปยังภูมิลำเนาตามฟ้องก็เป็นได้โดยเฉพาะจำเลยที่1ประกอบอาชีพทนายความย่อมทราบขั้นตอนการพิจารณาของศาลเป็นอย่างดีแต่อ้างว่าเพิ่งติดตามคดีทั้งๆยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ตั้งแต่วันที่6กรกฎาคม2535เพิ่งติดตามตรวจสำนวนเมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2536ซึ่งห่างจากวันยื่นคำให้การถึง7เดือนเศษเป็นการผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพทนายความอย่างยิ่งจึงมิใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก จำเลย ทั้ง สอง ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณา คดี โจทก์ ไป ฝ่ายเดียว แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ คัน ที่ เช่าซื้อ คืน โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อย ใช้ การ ได้ ดีหาก คืน ไม่ได้ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ราคา แทน เป็น เงิน 150,000 บาทให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 20,000 บาท พร้อม ทั้งดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์เดือน ละ 1,500 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สองจะ ส่งมอบ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ คืน โจทก์
จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ ให้ พิจารณา ใหม่
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1มี ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ ให้ พิจารณา ใหม่ เกิน กำหนด เวลาตาม กฎหมาย เพราะ มี พฤติการณ์ นอกเหนือ ที่ ไม่อาจ บังคับ ได้ จริง หรือไม่จำเลย ที่ 1 อ้างว่า เจ้าหน้าที่ศาล ไป ปิด คำบังคับ ไว้ ที่ บ้าน อันเป็นภูมิลำเนา ตาม ฟ้อง ซึ่ง จำเลย ที่ 1 มิได้ อาศัย อยู่ จำเลย ที่ 1เพิ่ง ทราบ คำพิพากษา และ คำบังคับ เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2526ซึ่ง ถือว่า เป็น พฤติการณ์ นอกเหนือ ไม่อาจ บังคับ ได้ สิ้นสุด ลงจำเลย ที่ 1 จึง ยื่น คำร้องขอ พิจารณา ใหม่ วันที่ 2 มีนาคม 2536เห็นว่า ขณะ ทำ สัญญาเช่าซื้อ จำเลย ที่ 1 ได้ ระบุ ภูมิลำเนา ตาม ฟ้องไว้ ใน สัญญา อันเป็น ภูมิลำเนา ตรง ตาม บัตรประจำตัวประชาชน และ ตรง ตามสำเนา ทะเบียนบ้าน ของ จำเลย ที่ 1 การ ส่งหมาย เรียก และ สำเนา คำฟ้องก็ ได้ มี การ ส่ง ตาม บ้าน เลขที่ ดังกล่าว ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ได้ ให้การต่อสู้ คดี แล้ว ที่ จำเลย ที่ 1 อ้างว่า การ ส่งหมาย ครั้ง อื่น ของพนักงานเดินหมาย ก่อน ส่ง คำบังคับ ได้ นำ ไป ส่ง ยัง บ้าน เลขที่ อื่นที่ เป็น สำนักงาน ของ จำเลย ที่ 1 แสดง ว่า เจ้าพนักงาน เดินหมายทราบ ดี ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ อยู่ บ้าน เลขที่ ตาม ฟ้อง นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 77 ได้ บัญญัติ ถึง การ ส่งคำคู่ความ หรือ เอกสาร โดย เจ้าพนักงาน ศาล ไป ยัง ที่อื่น หรือ สำนัก ทำการ งานไว้ ด้วย ใน เมื่อ ปรากฏ ชัดแจ้ง ตาม ท้าย สำนวน ว่า จำเลย ที่ 1ประกอบ อาชีพ ทนายความ และ มี สำนัก ทำการ งาน เป็น หลักแหล่ง อยู่ เช่นนี้การ ที่ พนักงานเดินหมาย ไป ส่ง ยัง สำนัก ทำการ งาน ของ จำเลย ที่ 1ย่อม ไม่ใช่ แสดง ว่า เจ้าพนักงาน ทราบ ดี ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ อยู่ ที่บ้าน เลขที่ ตาม ฟ้อง แต่อย่างใด อาจ เป็น เพียงแต่ เจ้าพนักงาน เห็นว่าสะดวก กว่า การ ส่ง ยัง ภูมิลำเนา ตาม ฟ้อง ก็ เป็น ได้ และ ที่ จำเลย ที่ 1อ้างว่า โจทก์ รู้ ว่า จำเลย ที่ 1 ย้าย ไป อยู่ บ้าน ที่ ระบุ ไว้ ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 10 นั้น บ้าน ดังกล่าว เป็น เพียง สถานที่ ที่ ระบุไว้ ใน การ เก็บ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ เท่านั้น เนื่องจาก ตาม ความจริง แล้วมี ผู้เช่าซื้อ หลาย ราย ที่ ไม่มี สถานที่ เก็บ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ใน การให้ เช่าซื้อ จึง ต้อง ระบุ สถานที่ เก็บ ไว้ เพื่อ ประโยชน์ ใน การ ติดตามหรือ ยึด คืน ของ โจทก์ จึง มิใช่ เป็น การ ยืนยัน ว่า เป็น ภูมิลำเนาอีก แห่ง หนึ่ง ของ จำเลย ที่ 1 แต่อย่างใด โดยเฉพาะ จำเลย ที่ 1ประกอบ อาชีพ ทนายความ ย่อม ทราบ ขั้นตอน การ พิจารณา ของ ศาล เป็น อย่างดีแต่ อ้างว่า เพิ่ง ติดตาม คดี ทั้ง ๆ ยื่นคำให้การ ต่อสู้ คดี ไว้ ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพิ่ง มา ติดตาม ตรวจ สำนวน เมื่อ วันที่16 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่ง ห่าง จาก วัน ยื่นคำให้การ ถึง 7 เดือน เศษเป็น การ ผิด วิสัย ของ ผู้ประกอบ อาชีพ ทนายความ อย่างยิ่ง จึง มิใช่พฤติการณ์ นอกเหนือ ไม่อาจ บังคับ ได้
พิพากษายืน

Share