คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองแต่เมื่อผู้รับจ้างได้มีหนังสือขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า”จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์”แสดงว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามมาตรา306วรรคหนึ่งการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2528บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ โจทก์ ประมาณ 65,000,000 บาท ได้ ทำ สัญญา รับเหมา ก่อสร้าง อาคาร โรงแรม เจ.บี (หาดใหญ่) ใน บริเวณ ที่ดิน ศูนย์การค้า จุติ บุญสูง กับ จำเลย เป็น เงิน 34,300,000 บาท วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2528บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ได้ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การ รับ เงิน จำนวน ประมาณ 34,300,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ กับ บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ได้ มี หนังสือ บอกกล่าว การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ทราบ จำเลย ได้ ตอบรับ แล้ว และ บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ได้ ก่อสร้าง อาคาร โรงแรม ตาม สัญญา ให้ แก่ จำเลย เสร็จสม บูรณ์โดย ไม่ผิด สัญญา ทั้ง ได้ มี การ เพิ่ม ลด งาน เป็นเหตุ ให้ ค่าจ้าง เหมาเพิ่ม จาก 34,300,000 บาท อีก 2,769,861.80 บาท ซึ่ง ได้ ตกลงให้ โจทก์ ได้ สิทธิ รับ เงิน ที่ เพิ่ม ด้วย รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น37,069,861.80 บาท จำเลย ได้ ชำระ เงิน แก่ โจทก์ หลาย ครั้งรวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 19,639,407.59 บาท จำเลย จึง ค้างชำระ เงินโจทก์ 17,430,454.21 บาท โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ชำระ เงิน ดังกล่าว แล้วแต่ จำเลย เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 17,430,454.21 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าวนับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 13,360,592.41 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าวนับ จาก วันฟ้อง (วันฟ้อง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2530) เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้จาก พยานหลักฐาน โจทก์ และ จำเลย ว่า เมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2528จำเลย ได้ ทำ สัญญาจ้าง บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ผู้รับจ้าง ให้ ก่อสร้าง อาคาร โรงแรม เจ.บี.(หาดใหญ่) เป็น จำนวนเงิน 34,300,000 บาท ตาม สัญญาจ้าง เหมา ก่อสร้าง เอกสาร หมาย ล. 1 วันที่14 กุมภาพันธ์ 2528 ผู้รับจ้าง ได้ ทำ หนังสือ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การรับ เงิน ตาม สัญญา เอกสาร หมาย ล. 1 ให้ โจทก์ ตาม หนังสือ โอนสิทธิเรียกร้อง ใน การ รับ เงิน เอกสาร หมาย ป.จ. 1 และ ใน วันเดียว กัน นั้นผู้รับจ้าง และ โจทก์ ได้ ทำ หนังสือ บอกกล่าว แจ้ง การ โอนสิทธิ เรียกร้องไป ยัง จำเลย ตาม หนังสือ บอกกล่าว เอกสาร หมาย ป.ล. 33 ต่อมา จำเลยมี หนังสือ แจ้ง ไป ยัง โจทก์ ว่า จำเลย ไม่ขัดข้อง ที่ ผู้รับจ้าง ได้ โอนสิทธิ การ รับ เงิน ค่าก่อสร้าง อาคาร โรงแรม ของ จำเลย ให้ โจทก์ ตาม เอกสารหมาย จ. 1 และ ป.จ. 2 หลังจาก นั้น จำเลย ได้ มี หนังสือ ส่ง เงินค่าก่อสร้าง ให้ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 4 รวม 14 ฉบับ และ ล. 8หนึ่ง ฉบับ โจทก์ มี หนังสือ ตอบรับ มา ตาม เอกสาร หมาย ล. 6 รวม 13 ฉบับและ ล. 10 หนึ่ง ฉบับ
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ใน ประการ แรก ว่าการ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การ รับ เงิน ระหว่าง บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ผู้รับจ้าง และ โจทก์ มีผล ผูกพัน จำเลย หรือไม่ ใน ข้อ นี้ แม้ สัญญาจ้างเหมา ระหว่าง จำเลย กับ ผู้รับจ้าง ซึ่ง เป็น ผู้โอน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1ข้อ 15 จะ ระบุ ว่า ผู้รับจ้าง จะ โอนสิทธิ หน้าที่ ตาม สัญญา ให้ แก่ ผู้อื่นโดย ปราศจาก ความ ยินยอม เป็น ลายลักษณ์อักษร จาก จำเลย มิได้ซึ่ง ปรับ ได้ว่า “ผู้รับจ้าง และ จำเลย ได้ แสดง เจตนา เป็น อย่างอื่นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 303 วรรคสอง กับ เมื่อผู้รับจ้าง ซึ่ง เป็น ผู้โอน และ โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ ถึง ข้อตกลง การ โอนสิทธิเรียกร้อง ใน การ รับ เงิน ค่าก่อสร้าง ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 33 จำเลยได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่า หาก โจทก์ จะ เป็น ผู้รับ ค่าจ้าง ใน งวด ต่อ ๆ ไปแทน ผู้รับจ้าง ก็ ต้อง เป็น ไป ตาม เงื่อนไข ใน หนังสือ สัญญาจ้าง เหมา และจะ ต้อง ออก ใบเสร็จรับเงิน ค่าจ้าง โดย ผู้รับจ้าง ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 34อัน ยัง ถือ ไม่ได้ ถนัด ว่า จำเลย ได้ยิน ยอม ด้วย ใน การ โอน ตาม สัญญาจ้าง เหมาข้อ 15 ดังกล่าว ก็ ตาม แต่ หลังจาก นั้น ผู้รับจ้าง ได้ มี หนังสือ ถึง จำเลยขอให้ จำเลย ทำ หนังสือ ถึง โจทก์ โดย ขอให้ มี ข้อความ ระบุ ว่า “จำเลย ไม่ขัดข้อง ที่ ผู้รับจ้าง ได้ โอนสิทธิ การ รับ เงิน ค่าก่อสร้าง ให้ แก่ โจทก์ “สำหรับ ขั้นตอน การ รับ เงิน คง เหมือนเดิม ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 35 ซึ่งต่อมา จำเลย ก็ ได้ มี หนังสือ แจ้ง ไป ถึง โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และป.ล. 36 ว่า จำเลย ไม่ขัดข้อง ที่ ผู้รับจ้าง ได้ โอนสิทธิ การ รับ เงินค่าก่อสร้าง ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ที่ เห็น ได้ว่า จำเลย ได้ยิน ยอม ด้วย ในการ โอน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่งและ ตาม สัญญาจ้าง เหมา เอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 15 แล้ว ส่วน ขั้นตอนการ รับ เงิน ที่ จำเลย กำหนด ไว้ ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 34 นั้น เป็นเพียง วิธีการ คิด คำนวณ ค่าจ้าง ใน แต่ละ งวด ว่า จะ ต้อง จ่าย เท่าใด ตามข้อตกลง ใน สัญญาจ้าง เหมา เท่านั้น ส่วน ผู้มีสิทธิ รับ เงิน ค่าจ้าง จะ ต้องเป็น โจทก์ ผู้รับโอน สิทธิเรียกร้อง ฉะนั้น การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การรับ เงิน ระหว่าง ผู้รับจ้าง กับ โจทก์ จึง มีผล ผูกพัน จำเลย ที่ จะ ต้องชำระ ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ ผู้รับโอน ไม่ใช่ ชำระ ให้ แก่ ผู้รับจ้าง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 5,871,347.21 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์

Share