คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886-887/2498

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

บิดาออกเงินซื้อที่ดินมีโฉนดให้แก่บุตร 2 คน แต่ลงชื่อบุตรในโฉ่นดเพียงคนเดียวและให้บุตรผู้มีชื่อในโฉนดครอบครองที่ดินนั้นแทนบุตรอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วย บุตรผู้เยาว์นั้นได้กรรมสิทธิมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินแปลงนั้นด้วย ไม่จำต้องมีการจดทะเบียนนการให้ก็เป็นการสมบูรณ์

ย่อยาว

สำนวนแรกโจทก์ฟ้องว่าบุนอภิสิตสุระ+ บิดาโจทก์จำเลยได้ออกเงินซื้อที่ดินแต่ลงชื่อจำเลยกับนางสังหารในโฉนด ในฐานะเป็นผู้ซื้อแทน แล้วขุนอภิสิตฯ ได้ทำหนังสือยกที่ดินและบ้านให้โจทก์ ๕ ส่วน ให้จำเลย ๗ ส่วน แต่โจทก์ยังเยาว์อยู่จึงมอบให้จำเลยรักษาส่วนของโจทก์ไว้แทน บัดนี้จำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินบ้านเรือนให้ขอให้บังคับ ถ้าไม่สามารถแบ่งได้ก็ให้ใช้ค่าเสียหาย
จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากขุนอภิสิต ฯ จะยกทรัพย์พิพาทให้โจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม ก.ม.เพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องเสียภายใน ๑ ปี นับจากวันบรรลุนิติภาวะ ความจริงที่ดินจำเลยซื้อเอง
สำนวนหลังโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ สมยอมกันทำสัญญายอมความขายที่ดินและบ้านรายพิพาท ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้น และทำลายสัญญายอมความกัน คำพิพากษาตามยอมเสีย
จำเลยที่ ๑ คงต่อสู้ทำนองเดียวกับคดีแรก จำเลยที่ ๒ต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รับโอนทรัพย์รายพิพาท ธนาคารออมสินเป็นผู้ซื้อและรับโอนไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเพราะการที่ขุนอภิสิต ฯ ให้ที่พิพาทไม่สมบูรณ์ตาม ก.ม. และคดีขาดอายุความแล้ว ส่วนจำเลยที่ ๒ ไม่ได้รับโอนทรัพย์รายพิพาท ธนาคารออมสินเป็นผู้ซื้อและรับโอนพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าที่ดินรายพิพาทนั้นขุนอภิสิต ฯ ยกให้โจทก์และจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ครอบครองแทนโจทก์ตั้งแต่โจทก์ยังเยาว์ตลอดมาแล้วโจกท์ก็เข้าครอบครองต่อมา แม้การยกให้จะไม่สมบูรณ์โจทก์ก็ได้รับกรรมสิทธิโดยการครอบครองมากว่า ๑๐ ปี ส่วนจำเลยที่ ๒ นั้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว ทรัพย์พิพาทเป็นของธนาคารออมสินแล้ว จึงเอามาแบ่งให้โจทก์ไม่ได้ พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ ๑ ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ๖,๒๕๐ บาท คำขอนอกนั้นให้ยกเสีย ตามศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยที่ ๑ ฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่าขุนอภิสิต ฯ ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่ ๑ แม้โฉนดจะลงชื่อจำเลยที่ ๑ แต่ผู้เดียว โจทก์ก็ยังมีกรรมสิทธิร่วมอยู่ด้วย จำเลยครอบครองแทนส่วนของโจทก์ด้วย การที่โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ ๑ โอนขายทรัพย์ให้แก่ธนาคารออมสินแล้วมิได้ฟ้องภายใน ๑ ปี ก็หาขาดอายุความตาม ป.พ.พ.ม. ๒๔๐ ไม่ เพราะมิใช่เรื่องระหว่างเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ฟ้องขอให้เพิกถอนกลฉ้อฉล เป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน ส่วนจำเลยที่ ๒ นั้น เห็นว่าโจทก์ฟ้องเป็นส่วนตัว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน

Share