คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและบ้านพิพาทได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแม้ต่อมาจำเลยที่2ได้ยื่นคำร้องขอให้ เพิกถอน การขายทอดตลาดและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องการเพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296เมื่อศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เดิม จำเลย ทั้ง สอง เป็น เจ้าของร่วม กัน ใน ที่ดินโฉนด เลขที่ 142917 และ บ้าน ซึ่ง ปลูก อยู่ ใน ที่ดิน โฉนด ดังกล่าวต่อมา ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว ได้ ถูก เจ้าพนักงาน บังคับคดีขายทอดตลาด ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้ประมูล ซื้อได้ จาก การ ขายทอดตลาด โจทก์ ที่ 1 ยอม ให้ โจทก์ ที่ 2 เข้า เป็นเจ้าของรวม หลังจาก โจทก์ ทั้ง สอง ได้รับ โอน กรรมสิทธิ์ มา เรียบร้อย แล้วโจทก์ ทั้ง สอง ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ขนย้าย ออกจาก บ้าน และ ที่ดินของ โจทก์ ทั้ง สอง จำเลย ทั้ง สอง ผัดผ่อน และ ไม่ยอม ออกจาก ที่ดินและ บ้าน ดังกล่าว โจทก์ ทั้ง สอง ได้รับ ความเสียหาย ขอ คิด ค่าเสียหายขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 142917 และบ้าน เลขที่ 102/50 ให้ จำเลย ทั้ง สอง ส่งมอบ ที่ดิน และ บ้าน แก่โจทก์ ทั้ง สอง ใน สภาพ เรียบร้อย กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ ทั้ง สอง เดือน ละ 5,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลยทั้ง สอง จะ ส่งมอบ ที่ดิน และ บ้าน เสร็จสิ้น
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมกัน ใน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ตาม ฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง ประมูล ซื้อที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง จาก การ ขายทอดตลาด ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดีโดย ไม่สุจริต เจ้าพนักงาน บังคับคดี ประกาศ ขายทอดตลาด โดย มิได้ แจ้งให้ จำเลย ที่ 2 ทราบ จำเลย ที่ 2 ได้ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่งเพิกถอน การ ขายทอดตลาด และ เพิกถอน การ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ตาม ฟ้อง คดี ยัง อยู่ ใน ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ทั้ง สองไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ และ เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ทั้ง สองบ้าน ตาม ฟ้อง เป็น บ้าน ชั้น เดียว หาก ให้ เช่า ได้ ค่าเช่า อย่าง สูงไม่เกิน เดือน ละ 2,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 1 ออกจาก ที่ดิน และบ้าน พิพาท และ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง สำหรับ จำเลย ที่ 2 คำขอ อื่น ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 2 ออกจากที่ดิน โฉนด เลขที่ 142917 และ บ้าน เลขที่ 102/50 ให้ จำเลย ทั้ง สองส่งมอบ ที่ดิน และ บ้าน เลขที่ ดังกล่าว แก่ โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อยกับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เดือน ละ5,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ส่งมอบ บ้าน และ ที่ดินเสร็จสิ้น นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 2 ได้ ยื่นคำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท นั้น จะ ทำให้โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง หรือไม่ ซึ่ง ใน การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริงตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนโดย ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ซื้อ ที่ดิน และ บ้าน พิพาทได้ จาก การ ขายทอดตลาด ตาม คำสั่งศาล ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 23136/2530ของ ศาลชั้นต้น และ ได้ จดทะเบียน รับโอน ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดินเรียบร้อย แล้ว จำเลย ที่ 1 คดี นี้ เป็น จำเลย ใน คดี ดังกล่าว และ ใน การขายทอดตลาด นั้น จำเลย ที่ 1 ได้ ร้อง คัดค้าน การ ขายทอดตลาด อ้างว่าขาย ใน ราคา ต่ำ ขอให้ ยกเลิก การ ขาย ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้องจำเลย ที่ 1 มิได้ อุทธรณ์ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว จึง ฟังได้ ว่าโจทก์ ทั้ง สอง ซื้อ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท โดยสุจริต ดังนี้ โจทก์ ทั้ง สองจึง เป็น ผู้ ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน และ บ้าน พิพาท โดย สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และ 1330 แม้ ต่อมาจำเลย ที่ 2 ได้ ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด และ คดี ยัง อยู่ใน ระหว่าง การ พิจารณา ก็ ตาม ก็ เป็น เรื่อง การ เพิกถอน การ ขายทอดตลาดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 อีก ส่วน หนึ่งหาใช่ เรื่อง การ ขายทอดตลาด ตกเป็น โมฆะ ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ไม่เมื่อ ศาล ยัง มิได้ มี คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาดโจทก์ ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน และ บ้าน พิพาทจึง ย่อม มีอำนาจ ฟ้องขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ตาม นัย แห่ง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2788/2526 ระหว่าง นาย ศักดิ์ชัย ฟองสถาพร โจทก์ นาย จุมพล เชษฐ์พงศ์พันธุ์ กับพวก จำเลย ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ได้รับ ค่าเสียหายจาก จำเลย ทั้ง สอง เป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ พิพากษา เกินคำขอ นั้นเห็นว่า คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง รับผิดใน ค่าเสียหาย ดังกล่าว อยู่ แล้ว โดย ขอ เรียก ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ส่งมอบ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท เสร็จสิ้นคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ชอบแล้ว แต่ ชั้นฎีกา จำเลย ทั้ง สอง เสีย ค่าขึ้นศาลอย่าง คดีมีทุนทรัพย์ จึง ไม่ถูกต้อง
พิพากษายืน คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา ส่วน ที่ เกิน ให้ แก่จำเลย ทั้ง สอง

Share