แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ว. และจำเลยมีว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คให้โจทก์และ ว. และยอมรับว่าจะชำระเงินให้โจทก์และ ว. เมื่อศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. เจ้ามรดกและผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินแล้วโดยโจทก์และ ว. ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คที่ได้แจ้งความไว้ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850ซึ่งมีผลทำให้หนี้เดิมคือหนี้ตามเช็คระงับไปเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้วโดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลงจึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรงเช็ค สอง ฉบับ ซึ่ง จำเลย เป็นผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย ครั้น ถึง วันที่ ลง ใน เช็ค ทั้ง สอง ฉบับ แล้วโจทก์ นำ ไป เข้าบัญชี ของ โจทก์ เพื่อ ให้ ธนาคาร เรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคาร ตามเช็ค ได้ ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน288,269.72 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า เช็ค ตาม ฟ้อง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ หนี้ ทั้งหมดที่ จำเลย ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ไว้ ต่อ โจทก์ จึง ถือว่า โจทก์ แปลง หนี้ตาม ฟ้อง เป็น มูลหนี้ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ มูลหนี้เดิม จึง ระงับขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน 288,269.72บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ กับ นางสาว วัลลภา และ จำเลย เป็น กรณี ที่ คู่สัญญา ทั้ง สอง ฝ่าย ต้องการ ระงับ ข้อพิพาทที่ มี อยู่ ให้ เสร็จ ไป ด้วย ต่าง ยอม ผ่อนผัน ให้ แก่ กัน โดย จำเลย ยอม ชำระเงิน ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ ผู้จัดการมรดก ของ นาง ถวิล เจ้ามรดก ได้ จำหน่าย ที่ดิน มรดก ได้ โจทก์ และ นางสาว วัลลภา ยอม ตกลง ตาม นั้น และ ยอม ถอน คำร้องทุกข์ ข้อตกลง เช่นนี้ จึง เข้า ลักษณะ สัญญา ประนีประนอม ยอมความตาม มาตรา 850 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ ทำ กัน มีผล ทำให้ หนี้ เดิม คือ หนี้ ตามเช็คระงับ ไป เกิด หนี้ ใหม่ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังนั้น หนี้ ตามเช็คทั้ง 5 ฉบับที่ ระบุ ไว้ ใน หนังสือ รับสภาพหนี้ ซึ่ง รวมทั้ง เช็คพิพาทตาม ฟ้อง จึง เป็น อัน ระงับ ไป จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ชำระ เงินตามเช็ค พิพาท แก่ โจทก์
มี ปัญหา ต่อไป ว่า ข้อตกลง ดังกล่าว เป็น โมฆะ หรือไม่ นั้นเห็นว่า เมื่อ นางสาว นวลเนตร ได้รับ การ แต่งตั้ง จาก ศาล ให้ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง ถวิล และ ได้ ประกาศ ขาย ที่ดิน มรดก ตาม ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย แล้ว เมื่อ ขาย ได้ จะ ต้อง แบ่ง เงินให้ แก่ จำเลย และ จำเลย จะ ต้อง ไป ชำระ ให้ แก่ โจทก์ ตาม ข้อตกลงดังนั้น อำนาจ ใน การ จัดการ มรดก รวม ตลอด ถึง ใน การ ขาย ที่ดิน มรดกตาม ที่ ตกลง กัน นั้น จึง ขึ้น อยู่ กับ นางสาว นวลเนตร ผู้จัดการมรดก มิใช่ ขึ้น อยู่ กับ จำเลย หรือ สุดแล้วแต่ ใจ ของ จำเลย ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ โจทก์แต่อย่างใด และ ถ้าหาก นางสาว นวลเนตร ไม่ จัดการ มรดก หรือไม่ ยอม ขาย ที่ดิน มรดก ทายาท อื่น รวมทั้ง จำเลย ก็ สามารถ จะ ฟ้องบังคับนางสาว นวลเนตร ให้ จัดการ ขาย และ แบ่ง ทรัพย์มรดก ได้ อยู่ แล้ว อีก ทั้ง ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ดังกล่าว ไม่เป็น การ ฝ่าฝืนต่อ กฎหมาย ไม่ ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชนคง เป็น เรื่อง วิธีการ ชำระหนี้ ให้ โจทก์ เท่านั้น ข้อตกลง ดังกล่าวจึง หา ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 (เดิม ) ไม่
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น