แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ธ. และโจทก์ต่างเป็นลูกจ้างจำเลยโดย ธ. เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้รับใบลาของโจทก์ ธ. ย่อมมีอำนาจที่จะสอบถามถึงการป่วยของโจทก์ได้แต่เมื่อถูกถามโจทก์กลับท้าทายให้ธ. ออกไปต่อสู้กับโจทก์นอกที่ทำการบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์คว้าคอเสื้อ ธ. ในขณะที่อีกมือหนึ่งถือไม้หน้าสามเพื่อจะตีทำร้ายแม้จะเป็นการกระทำนอกบริษัทจำเลยแต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปจากภายในบริษัทจำเลยถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกันเป็นการกระทำโดยจงใจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายเป็นความผิดวินัยร้ายแรงจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า วันที่ 19 ธันวาคม 2531 จำเลย จ้าง โจทก์ เป็นพนักงาน ติด รถ แผนก ขาย สาขา บางเขน โรงงาน ปทุมธานี ได้รับ ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เดือน ละ 5,140 บาท กำหนด จ่าย ค่าจ้าง ทุก สิ้นเดือนวันที่ 3 มกราคม 2537 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย โจทก์ ไม่ได้ กระทำความผิด และ ไม่บอกกล่าว ล่วงหน้า โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ ค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย 180 วัน เป็น เงิน 30,840 บาท สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า 1 เดือน เป็น เงิน 5,140 บาท ใน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ถึง วันที่ 2 มกราคม 2537 จำเลย ค้างจ่ายค่าจ้าง โจทก์ เป็น เงิน 5,482 บาท ขณะที่ โจทก์ ทำงาน เป็น ลูกจ้างจำเลย จำเลย ได้ จัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดย หักเงิน ค่าจ้าง ของโจทก์ แต่ละ เดือน เป็น เงินสะสม ของ โจทก์ และ จำเลย จะ ต้อง จ่ายเงิน สมทบ ตาม ระเบียบ การ จัดตั้ง กองทุน และ นำ ไป ฝาก ไว้ กับ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด โจทก์ มี เงินสะสม ใน ส่วน ที่ หัก จาก ค่าจ้าง พร้อม สิทธิ ประโยชน์ เป็น เงิน 7,598.36 บาท ส่วน ที่ จำเลยต้อง สมทบ พร้อม สิทธิ ประโยชน์ เป็น เงิน 12,663.88 บาท รวมเป็น เงิน20,262.24 บาท ซึ่ง จำเลย ไม่จ่าย เงิน ดังกล่าว ให้ กับ โจทก์ จำเลย ตกลงจะ จ่ายเงิน โบนัส ประจำปี 2536 เท่ากับ อัตรา ร้อยละ 80 ของ อัตราค่าจ้าง รายเดือน ที่ โจทก์ จะ ได้รับ เป็น เงิน 4,112 บาท แต่ จำเลย ไม่จ่ายเงิน ให้ โจทก์ มีสิทธิ ได้ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จากต้นเงิน ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า เงินสะสม และเงินโบนัส รวมเป็น เงิน 60,364.24 บาท ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ค่าจ้าง เป็น เงิน 5,482 บาท นับแต่ วันที่ 4 มกราคม2537 ขอให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง 5,482 บาท ค่าชดเชย 30,840บาท สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า 5,140 บาท เงินสะสม20,262.24 บาท เงินโบนัส 4,112 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี จาก ต้นเงิน 60,354.24 บาท และ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ15 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 5,482 บาท นับแต่ วันที่ 4 มกราคม 2537ไป จนกว่า จำเลย จะ ชำระ ต้นเงิน ดังกล่าว ให้ โจทก์ เสร็จสิ้น
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย จดทะเบียน นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัดนาย จักรกฤษณ์ บุลสุข กรรมการ รับมอบ อำนาจ ใน การ ดำเนินคดี และ มอบอำนาจ ให้ นาย บัญชี เชาว์พ้อง เป็น ผู้ ฟ้องคดี แทน โจทก์ เข้า ทำงาน วันที่ 19 ธันวาคม 2530 ได้รับ ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เดือน ละ5,140 บาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2536 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การจ้าง หรือ ข้อตกลง เกี่ยวกับ การจ้างอย่างร้ายแรง เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2536 เวลา ประมาณ 15 นาฬิกาโจทก์ ได้ ทำร้ายร่างกาย นาย ธงชัย จัยวัฒน์ พนักงาน ตำแหน่ง หัวหน้าเขต ซึ่ง เป็น ผู้บังคับบัญชา โดยตรง ใน ระหว่าง เวลาทำงาน ปกติ ที่ สาขา บางเขน จำเลย จึง มี คำสั่ง ปลด โจทก์ ออกจาก การ เป็น พนักงาน ตั้งแต่ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2536 จึง ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า เมื่อ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ตั้งแต่ วันที่25 พฤศจิกายน 2536 จึง ไม่ ค้างชำระ ค่าจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ ไม่ได้มา ทำงาน โจทก์ ไม่มี สิทธิ ได้รับ เงินสะสม และ เงิน สมทบ จาก จำเลยจำนวนเงิน 20,262.24 บาท โจทก์ ไม่มี สิทธิ ได้รับ เงินโบนัส จำนวน4,112 บาท เพราะ ทำงาน ไม่ครบ ตาม กำหนด ใน ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพ การจ้าง และ โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ดอกเบี้ย จาก จำเลยขอให้ ยกฟ้อง โจทก์
วันนัด สืบพยานโจทก์ คู่ความ แถลงรับ กัน ว่า โจทก์ ได้รับ ค่าจ้างครั้งสุดท้าย ใน เดือน ธันวาคม 2536 ครบถ้วน แล้ว ค่าชดเชย 180 วันคำนวณ เป็น เงิน 30,840 บาท สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า 15 วันเป็น เงิน 2,570 บาท
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า การกระทำ ของ โจทก์ไม่เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ข้อ 11.3(11) และไม่ใช่ เป็น การกระทำ ความผิด ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) และ (4) พิพากษา ให้ จำเลย จ่ายค่าจ้าง 342 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2537 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน แก่ โจทก์และ ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย 30,840 บาท สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า 2,570 บาท เงินสะสม 7,598.36 บาท เงิน สมทบ12,663.88 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2537 เป็นต้น ไป รวมทั้ง เงินโบนัส 4,112 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน คืน โจทก์ เสร็จสิ้น
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยมา ฟังได้ ว่า โจทก์ และ นาย ธงชัย จัยวัฒน์ ต่าง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย โดย โจทก์ เป็น พนักงาน ติด รถ แผนก ขาย ส่วน นาย ธงชัย ดำรง ตำแหน่ง หัวหน้าเขต และ เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ โจทก์ วันเกิดเหตุ โจทก์ ยื่นใบลาป่วย ต่อ นาย ธงชัย ใน ที่ทำการ ของ บริษัท จำเลย สาขา บางเขน โรงงาน ปทุมธานี นาย ธงชัย สอบถาม ถึง การ ป่วย ของ โจทก์ โจทก์ กับ นาย ธงชัย จึง เกิด โต้เถียง กัน หลังจาก นั้น โจทก์ และ นาย ธงชัย ไป ตอก บัตร ลง เวลา เลิก งาน แล้ว โจทก์ ท้าทาย นาย ธงชัย ให้ ออก ไป ต่อสู้ กัน นอก บริษัท จำเลย เมื่อ นาย ธงชัย ออก ไป พบ โจทก์ นอก ประตู รั้ว บริษัท จำเลย โจทก์ ก็ คว้า คอเสื้อ ของ นาย ธงชัย และ อีก มือ หนึ่ง ถือ ไม้ หน้า สาม ไว้ จะ ตี ทำร้าย แต่ นาย รังค์ศิกรณ์ เข้า ไป ห้าม โจทก์ จึง หยุด ไม่ทำ ร้าย นาย ธงชัย ต่อมา บริษัท จำเลย มี คำสั่ง ปลด โจทก์ ออกจาก การ เป็น พนักงาน
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ข้อ แรก มี ว่า โจทก์กระทำผิด ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง กรณี ร้ายแรง หรือไม่เห็นว่า นาย ธงชัย เป็น ผู้บังคับบัญชา และ เป็น ผู้รับ ใบลา ของ โจทก์ นาย ธงชัย ย่อม มีอำนาจ ที่ จะ สอบถาม ถึง การ ป่วย ของ โจทก์ ได้ แต่เมื่อ ถูก ถาม โจทก์ กลับ ท้าทาย ให้ นาย ธงชัย ออก ไป ต่อสู้ กับ โจทก์ นอก ที่ทำการ บริษัท จำเลย การกระทำ ของ โจทก์ จึง เป็น การ กระด้างกระเดื่อง ต่อ ผู้บังคับบัญชา หาก พนักงาน ทุกคน ของ จำเลย สามารถ กระทำได้ ดัง ที่ โจทก์ กระทำ แล้ว ผู้บังคับบัญชา พนักงาน ของ บริษัท จำเลย ย่อมไม่สามารถ ปกครอง ดูแล บังคับบัญชา พนักงาน และ บริหาร กิจการ ของ บริษัทจำเลย ให้ ดำเนิน ไป ด้วย ดี ได้ ที่ โจทก์ คว้า คอเสื้อ นาย ธงชัย ใน ขณะ ที่ อีก มือ หนึ่ง ถือ ไม้ หน้า สาม เพื่อ จะ ตี ทำร้าย แม้ จะ เป็น การกระทำนอก บริษัท จำเลย แต่ ก็ เป็นเหตุ การณ์ ที่ เกิดขึ้น ต่อเนื่อง กัน ไป จากภายใน บริษัท จำเลย นั่นเอง ถือได้ว่า เป็นเหตุ การณ์ เดียว กัน การกระทำของ โจทก์ ดัง ที่ วินิจฉัย มา เป็น การกระทำ โดย จงใจ ทำให้ บริษัทจำเลย ได้รับ ความเสียหาย เป็น ความผิด วินัย ร้ายแรง ตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง บริษัท เสริมสุข จำกัด ข้อ 11.3(1) และ ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) และ (4)จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ ไม่จำต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583อุทธรณ์ ของ จำเลย ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้น
ปัญหา ข้อ สุดท้าย มี ว่า จำเลย ต้อง จ่ายเงิน สะสม และ เงิน สมทบ กับโบนัส ให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ สำหรับ เงิน สมทบ นั้น เมื่อ ปรากฏว่า โจทก์ประพฤติ ผิด ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง กรณี ร้ายแรง โจทก์ จึง ไม่มีสิทธิ ได้รับ เงิน สมทบ ทั้งนี้ ตาม ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้างบริษัท เสริมสุข จำกัด ข้อ 10.1.6 ส่วน เงินสะสม นั้น เป็น เงิน ของ โจทก์ ที่ จำเลย หัก เข้า กองทุน เป็น รายเดือน จำเลย จึง ต้อง จ่าย คืนแก่ โจทก์ แต่ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ใน เงินสะสมและ เงิน สมทบ หาก ต้อง รับผิด เพราะ โจทก์ ย่อม มีสิทธิ และ ใช้ สิทธิติดต่อ ขอรับ ได้ โดยตรง จาก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด นั้น เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลแรงงานกลางศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย สำหรับ โบนัส นั้น แม้ ตาม คำสั่ง ปลด โจทก์ออกจาก การ เป็น พนักงาน เอกสาร หมาย จ. 1 ให้ มีผล ตั้งแต่ วันที่25 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้น ไป ก็ ตาม แต่ จำเลย ก็ ยัง ให้ โจทก์ ทำงานอยู่ จน กระทั่ง ถึง วันที่ 2 มกราคม 2537 และ โจทก์ รับทราบ คำสั่งดังกล่าว เมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2537 จึง ถือว่า จำเลย เลิกจ้างโจทก์ ตั้งแต่ วันที่ 3 ที่ กล่าว นี้ ดังนั้น โบนัส ใน ปี 2536 จำเลย จึงต้อง จ่าย ให้ แก่ โจทก์ อุทธรณ์ ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังขึ้น บางส่วน คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ใน ปัญหา ที่ ว่า การกระทำ ของ โจทก์เป็น ความผิด ฐาน พยายาม ทำร้ายร่างกาย นาย ธงชัย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบ มาตรา 80 หรือไม่เพราะ ไม่ทำ ให้ ผล แห่ง คดี เปลี่ยนแปลง ไป ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า และ เงิน สมทบ ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง