แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ประมวลรัษฎากรมาตรา19และมาตรา20บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้แต่ก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ด้วยโดยจะต้องปรากฏว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องการออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายอีกทั้งระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2525ได้กำหนดว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้วเว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้วหรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นดังนี้เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินจึงหามีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่2ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น กรรมการพิจารณา อุทธรณ์ โจทก์ ยื่น แบบ รายการ เสีย ภาษีเงินได้ นิติบุคคลสำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี 2523 และ 2524 ต่อมา โจทก์ ได้รับหมายเรียก ตาม ประมวลรัษฎากร ของ สรรพากร จังหวัด นครศรีธรรมราชเรียก ตรวจ ภาษี สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี 2523 และ 2524 ผล การ ตรวจสอบปรากฏว่า โจทก์ ได้รับ อนุมัติ ให้ คืนเงิน ภาษีอากร สำหรับ รอบ ระยะเวลาบัญชี ดังกล่าว แต่ ต่อมา โจทก์ ได้รับ หมายเรียก ตาม ประมวลรัษฎากร ของสรรพากร จังหวัด นครศรีธรรมราช เรียก ตรวจสอบ ภาษีเงินได้ สำหรับรอบ ระยะเวลา บัญชี ปี 2523 และ 2524 อีก ครั้งหนึ่ง โจทก์ ส่งมอบเอกสาร ตาม หมายเรียก อีก ครั้งหนึ่ง เว้นแต่ ใบรับเงิน อันเป็น หลักฐานการ ซื้อ เนื่องจาก เมื่อ เสร็จ การ ตรวจสอบ ครั้งแรก แล้ว ได้ เกิดการ สูญหาย จึง ส่งมอบ ให้ ไม่ครบ ตาม หมายเรียก เจ้าพนักงาน ประเมินจึง ทำการ ประเมิน ให้ โจทก์ ต้อง ชำระ เงิน ภาษี เพิ่ม และ เงินเพิ่มโจทก์ เห็นว่า การ ประเมิน ภาษี ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ใน ครั้งที่ 2ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ระเบียบ กรมสรรพากร ว่าด้วยการ ตรวจสอบ ภาษีอากร ตาม ประมวลรัษฎากร โจทก์ จึง อุทธรณ์ คัดค้านการ ประเมิน คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ มี คำวินิจฉัย อุทธรณ์โดย แก้ การ ประเมิน ให้ ภาษี ลดลง โจทก์ ไม่เห็น ด้วย เพราะ เจ้าพนักงานไม่มี อำนาจ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ ครั้งที่ 2 ได้ อีก เนื่องจาก เป็นการ ออกหมาย เรียก ซ้ำ กับ รอบ ระยะเวลา บัญชี ที่ เคย ออกหมาย เรียก ตรวจสอบไป แล้ว ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ภาษี และ เงินเพิ่ม และ คำวินิจฉัยอุทธรณ์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า หนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคลและ การ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ มิได้ เป็น การ ออกหมาย เรียก ซ้ำกับ ปี ที่ เคย ออก เพราะ การ ออกหมาย เรียก ใน ครั้งที่ 2 เจ้าพนักงาน ประเมินมิได้ ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ ราคา ซื้อ ไม่ ซ้ำ กับ ที่ เคย ออกหมายเรียก ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ตาม หนังสือแจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคล และ เพิกถอน คำวินิจฉัย อุทธรณ์
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า แม้ ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 20 จะ บัญญัติ ให้ อำนาจ เจ้าพนักงาน ประเมิน ที่ จะ ดำเนินการแก้ไข การ ประเมิน ที่ ผิดพลาด ให้ ถูกต้อง ได้ แต่ ก็ จะ ต้อง ปฏิบัติ ตามเงื่อนไข ที่ กฎหมาย ให้ ไว้ โดย จะ ต้อง ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่าการ ตรวจสอบครั้งแรก ผิดพลาด บกพร่อง หรือไม่ ถูกต้อง การ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ ใหม่จึง จะ เป็น การ ออกหมาย เรียก ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย นอกจาก นี้ ยัง ถือ ปฏิบัติตาม ระเบียบ กรมสรรพากร ว่าด้วย การ ตรวจสอบ ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 ข้อ 7.3 ที่ ว่า การ ออกหมาย เรียกผู้เสียภาษี มาตรวจสอบ ไต่สวน ใน ปีภาษี ใด จะ ต้อง ไม่ เรียก ตรวจสอบซ้ำ กับ ปี ที่ เคย ออกหมาย เรียก ไป แล้ว เว้นแต่ กรณี มี หลักฐาน หรือ ข้อมูลซึ่ง ไม่ ซ้ำ กับ ที่ เคย ตรวจสอบ ไป ก่อน แล้ว หรือ กรณี มีเหตุอันสมควร อื่นก็ ให้ ขออนุมัติ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ ใหม่ ได้ เฉพาะ ราย คดี นี้ ไม่ปรากฏหลักฐาน อย่างใด เลย ว่า การ ตรวจสอบ ครั้งแรก ผิดพลาด บกพร่องหรือไม่ ถูกต้อง ประการใด เจ้าพนักงาน ประเมิน จึง หา มีอำนาจ ออกหมาย เรียกโจทก์ มาตรวจสอบ ภาษี ใหม่ เป็น ครั้งที่ 2 เพราะ ปรากฏว่า แม้ แต่เจ้าพนักงาน ของ กรมสรรพากร ก็ โต้แย้ง การ ออกหมาย เรียก โจทก์มาตรวจสอบ ภาษี ซ้ำ
พิพากษายืน