แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การที่บิดากับบุตร์เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันนั้น ย่อมจะต้องสันนิษฐานว่าต่างครอบครองที่ดินเพื่อตนเองและแทนกัน
เจ้าของร่วมคนหนึ่งออกจากที่ดินไปยังคงถือว่าเจ้าของ+อีกคนหนึ่งครอบครองที่ดินแทนอยู่ตราบเท่าที่ยังมิได้บอกกล่าวไปว่าจะครอบครองเพื่อฉะเพาะตนเองและไม่ยอมครอบครองแทนเจ้าของร่วมที่ออำไปนั้น+ไป
ระหว่างที่ถือว่าครอบครองแทนนี้จะยกขึ้นเป้นข้ออ้างหาได้กรรมสิทธิโดยปรปักษ์ได้
ย่อยาว
โจทก์เป็นบิดา จำเลยเป็นบุตร์สาวโจทก์มีชื่อร่วมกันในหน้าโฉนดที่ดิน ต่อมาจำเลยหนีโจทก์ผู้บิดาตามชายไป โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นมาแต่ผู้เดียวเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี โจทก์ฟ้องขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากหน้าโฉนด หรือแสดงว่าจำเลยไม่มีกรรมสิทธิในที่ดิน
ศาลแพ่งเห็นว่า จะถือว่าจำเลยสละกรรมสิทธิที่ดินนั้นไม่ได้ และเป็นเรื่องที่โจทก์ยึดถือที่ดินแทนจำเลยผู้เป็นบุตร์ด้วย จึงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ผุ้มีชื่ในโฉนดด้วยกันเป็นเจ้าของร่วมกันและถือได้ว่าได้ยึดถือครอบคอรงแทนกันด้วย จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็โดยบอกกล่าวไปยังผู้มีกรรมสิทธิร่วมว่าไม่เจตนาจะยึดถือไว้แทนอีกต่อไป ม.๑๓๘๒ ประมวลแพ่งฯ มุ่งหมายใช้สำหรับทรัพย์สินของผู้อื่นโดยตรง หาใช่ทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิร่วมไม่ จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ศาลฎีกาเห็นว่า การที่บิดากับบุตร์เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันนั้น ย่อมจะต้องสันนิษฐานว่าต่างครอบครองที่ดินเพื่อตนเองและแทนกัน เมื่อโจทก์ยึดถือครอบครองแทนจำเลยแล้ว การที่จำเลยออกไปจากที่ดิน จำเลยจึงยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในส่วนของจำเลยอยู่ตลอดไป ตราบเท่าที่โจทก์ยังมิได้บอกกล่าวว่าจะครอบครองยึดถือเพื่อฉะเพาะตนเองไม่ครอบครองยึดถือเพื่อฉะเพาะตนเองไม่ครอบครองแทนจำเลยต่อไปเมื่อดังนั้นประมวลแพ่งฯ ม.๑๓๘๒ จึงยังจะนำมาใช้บังคับคดีนี้มิได้ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ในข้อให้ยกฟ้องโจทก์