แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท หากศาลล่างลงโทษจำเลยมาทุกบท ศาลฎีกาก็พิพากษาแกล้งบทที่มีโทษหนักที่สุดให้ถูกต้องได้
หากบทกฎหมายที่จำเลยกระทำผิดกรรมเดียวมีอัตราโทษหนักที่สุดเท่ากันอยู่ 2 บท ศาลก็ลงโทษจำเลยตามบทหนึ่งบทใดในสองบทนั้นได้.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ ๑ ถึง วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๐๔ เวลากลางวันจำเลยบังอาจตัดพันไม้เต็งและไม้อื่น ๆ อีกหลายต้น อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.และ ข. ตามพระราชกฤษฏีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.๒๔๙๗ คิดเป็นไม้หลายต้นปริมาตรเนื้อไม้ไม่ปรากฎชัด เพราะจำเลยเผาไปหมด โดยมิได้รับอนุญาต และตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยแผ้วถางป่าในที่ซึ่งจำเลยตัดฟันไม้จำนวน ๒ ไร่ อันเป็ฯการทำลายป่าโดยไม่รับอนุญาต และจำเลยบังอาจยึดถือครอบครองที่ดินที่จำเลย+สร้างนั้นโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๑๑,๕๔,๗๒ พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๖,๑๔ พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๐๓ มาตรา ๑๑,๑๖,๑๗, พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.๒๔๙๗ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๙,๑๐๘ กับขอให้สั่งจำเลยออกจากที่ดินรายนี้ด้วย
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง
ศาลจังหวัดนครราชสีมาพิพากษาว่า จำเลยผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์กล่าวในฟ้องวางโทษจำคุก ๖ เดือน ลดให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา ๗๘ และเห็นสมควรบังคับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๕๕ จำคุกไว้ ๔๕ วัน กับให้จำเลยออกจากที่รายนี้
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อกฎหมาย
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม โดยไม่ปรากฎจำนวนเนื่อไม้ที่จำเลยตัดฟัน ไม้เล็กหรือไม้ใหญ่ และไม้อื่น ๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นไม้อะไร และเมื่อไม่ปรากฎว่าเป็นไม้เล็กหรือไม้ใหญ่แล้ว ก็ไม่รู้ว่าไม้ที่จำเลยตัดนั้นเป็นไม้ในป่าหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ในฟ้องของโจทก์กล่าวไว้แล้วว่า ไม้ที่จำเลยตัดฟ้อนจำเลยเผาไปหมดแล้ว ซึ่งแสดงว่าโจทก์ไม่สามารถทราบจำนวนปริมาตรเนี้ไม้และจำนวนต้นไม้ ฉะนั้น ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องเท่าที่โจทก์สามารถรู้ได้ จึงเป็นการกล่าวถึงรายละเอียดเพียงพอเป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่เคลือบคลุม และตามคำฟ้องก็แสดงไว้ชัดแล้วว่าจำเลยตัดไม้ในป่า ฎีกาข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าได้คัดสำเนากฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามประกาศไว้ในที่ต่าง ๆ ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ จึงเป็นฟ้องไม่สมบูรณ์นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีดังที่จำเลยอ้างนั้น มิใช่เป็นองค์ความผิด โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้อง ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ศาลอุทธรณ์อ้าง(อ้างฎีกาที่ ๗๕๙/๒๕๐๓)
แต่ตามฟ้องของโจทก์ปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ บัญญัติให้ใช้กฎหมายบทที่มีดทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้น ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษแก่จำเลยมาทุกบทไม่ชอบ กรณีนี้ บทกฎหมายที่จำเลยกระทำผิดมีอยู ๒ บท ที่มีอัตราโทษเท่ากัน ฉะนั้น ศาลจึงลงโทษแก่จำเลยตามบทหนึ่งบทใดในสองทบนั้นตามความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐
จึงพิพากษา แก้ ให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๕๔ พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๐๓ มาตรา ๑๑,๑๖ นอกจากที่แก้ให้คงเป็นไปตามคำพิพากษาอุทธรณ์.