แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จ. ทำสัญญา เช่าซื้อรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์หลังจากทำ สัญญาประกันภัยถือได้ว่า จ. ผู้เอาประกันภัยยังมิได้ มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ขณะที่โจทก์รับประกันภัยดังนั้นสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และ จ. จึงไม่ผูกพันคู่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา863แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแทน จ. ก็ ไม่ได้ รับช่วงสิทธิตามกฎหมายโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกัน ชำระหนี้ในมูล ละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ซึ่ง ไม่ได้ ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ครอบครอง และ เป็น ผู้ขับรถยนต์ เก๋ง หมายเลข ทะเบียน 9จ-6386 กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 2เป็น ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รถ คัน ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ดังกล่าวด้วย ความประมาท ปราศจาก ความระมัดระวัง ชน รถยนต์ เก๋ง หมายเลข ทะเบียน2ฉ-7893 กรุงเทพมหานคร ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย ไว้ และ โจทก์ ได้ ใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ ผู้เอาประกันภัย ไป แล้ว จึง เข้า รับช่วงสิทธิ จากผู้เอาประกันภัย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน 29,478 บาทดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 2 มิถุนายน 2532 จน ถึงวันฟ้อง เป็น เงิน 1,105 บาท รวมเป็น เงิน 30,583 บาท และ ให้ ชำระดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ รับประกัน ภัย รถยนต์ หมายเลขทะเบียน 2ฉ-7893 กรุงเทพมหานคร และ ผู้เอาประกันภัย มิใช่ ผู้ มีส่วนได้เสีย ดังนั้น แม้ โจทก์ จะ ได้ ชำระ ค่าซ่อม รถ ไป ก็ ไม่มี อำนาจรับช่วงสิทธิ จาก ผู้เอาประกันภัย เหตุ คดี นี้ เกิดจาก ผู้ขับ รถยนต์หมายเลข ทะเบียน 2ฉ-7893 กรุงเทพมหานคร ได้ ขับ รถ คัน ดังกล่าว ออกจาก ซอย ตัด หน้า รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 9จ-6386 กรุงเทพมหานครใน ระยะ กระชั้นชิด รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 2ฉ-7893 กรุงเทพมหานครเสียหาย ไม่เกิน 5,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กันชดใช้ เงิน จำนวน 29,478 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 2 มิถุนายน 2532 เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ในชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก จำเลย ที่ 2ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ ขณะ ทำ สัญญาประกันภัย นั้น นางสาว จันทร์จิรา จันทร์เนตร ผู้เอาประกันภัย ยัง ไม่มี ส่วนได้เสีย ใน เหตุ ที่ ประกันภัย ไว้ สัญญาประกันภัย ย่อมไม่ผูกพัน โจทก์ และ นางสาว จันทร์จิรา ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยมา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่าโจทก์ เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 2ฉ-7893กรุงเทพมหานคร จาก นางสาว จันทร์จิรา เมื่อ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2531ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 3 นางสาว จันทร์จิรา เพิ่ง ทำ สัญญาเช่าซื้อ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไป จาก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ บางกอกอินเวสท์เมนท์ จำกัด เมื่อ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2531ซึ่ง เป็น วัน หลังจาก ที่ โจทก์ ทำ สัญญาประกันภัย ไว้ 28 วัน ต่อมาวันที่ 5 ธันวาคม 2531 รถยนต์ คัน ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย ไว้ ดังกล่าวถูก รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 9จ-6386 กรุงเทพมหานคร ซึ่ง มี จำเลยที่ 1 เป็น ผู้ขับ และ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้รับประกันภัย ชน ได้รับ ความเสียหาย เห็นว่า เมื่อ นางสาว จันทร์จิรา ทำ สัญญาเช่าซื้อ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย ไว้ กับ โจทก์ หลังจาก ทำ สัญญาประกันภัย ย่อม ถือได้ว่า นางสาว จันทร์จิรา ผู้เอาประกันภัย ยัง มิได้ มี ส่วนได้เสีย ใน เหตุ ที่ ประกันภัย ไว้ ขณะที่ โจทก์ รับประกัน ภัย ตาม กรมธรรม์ประกันภัยเอกสาร หมาย จ. 3 ดังนั้น สัญญาประกันภัย ระหว่าง โจทก์ และ นางสาว จันทร์จิรา จึง ไม่ผูกพัน คู่สัญญา ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 แม้ โจทก์ จะ ได้ ชดใช้ ค่าเสียหาย แทน นางสาว จันทร์จิรา ก็ ไม่ได้ รับช่วงสิทธิ ตาม กฎหมาย โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 2เนื่องจาก คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระหนี้ใน มูลละเมิด อัน ไม่อาจ แบ่งแยก ได้ ศาลฎีกา เห็นสมควร พิพากษา ให้ มีผลถึง จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ไม่ได้ ฎีกา ด้วย ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบ ด้วย มาตรา 247 ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษามา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์