แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยทั้งสามรับว่าได้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีอำนาจต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าและการเช่าแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าแล้วจึงฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามและค่าเสียหายได้เพราะมิใช่กรณีฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาเช่า จำเลยที่1และที่2เสียเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมตึกพิพาทก็เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพย์สินที่เช่าส่วนเงินแป๊ะเจี๊ยะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าหาก่อให้เกิดเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละไม่สูงกว่า7,000บาทและกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ7,000บาททั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้จึงถือได้ว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ7,000บาทต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เช่า ตึก พิพาท สอง ชั้น จาก วัด บุรณศิริมาตยาราม โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 เช่า ช่วง ตั้งแต่ ปี 2516ค่าเช่า เดือน ละ 7,000 บาท ให้ จำเลย ที่ 2 เช่า ช่วง เช่นเดียวกันค่าเช่า เดือน ละ 1,000 บาท จำเลย ที่ 3 ใช้ ชั้น สอง เป็น ที่ ประกอบ กิจการงาน ของ ตน โดย ได้รับ อนุญาต จาก โจทก์ เดือน มิถุนายน 2532 โจทก์ไม่ประสงค์ จะ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ใช้ ตึก พิพาท ต่อไป จึง บอกกล่าว ให้ ขนย้ายทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป แต่ จำเลย ทั้ง สาม เพิกเฉย ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สาม ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออกจาก ตึก พิพาท ให้ จำเลย ที่ 1ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 90,000 บาท พร้อม ด้วย ค่าเสียหาย เดือน ละ12,000 บาท จำเลย ที่ 2 ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 30,000 บาท พร้อม ด้วยค่าเสียหาย เดือน ละ 4,000 บาท ให้ จำเลย ที่ 3 ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน30,000 บาท พร้อม ด้วย ค่าเสียหาย เดือน ละ 4,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย แต่ละ คน จะ ขนย้าย ทรัพย์สิน ออกจาก ตึก พิพาท
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ขนย้าย ทรัพย์สิน ออกจาก ตึกพิพาท ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 6,000 บาท จำเลย ที่ 2และ จำเลย ที่ 3 ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 1,000 บาท แก่ โจทก์นับแต่ วันฟ้อง (29 พฤษภาคม 2533) เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม จะ ออกจาก ตึก พิพาท คำขอ ของ โจทก์ นอกจาก นี้ ให้ยก เสีย
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ว่า ตาม สัญญาเช่า ที่โจทก์ ทำ ไว้ กับ กรมการศาสนา มี ข้อกำหนด ชัดแจ้ง ว่า ห้าม โจทก์ มิให้ เอาตึก พิพาท ไป ให้ จำเลย ทั้ง สาม เช่า ช่วง เมื่อ โจทก์ เอา ตึก พิพาท ไป ให้ จำเลยทั้ง สาม เช่า ช่วง โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง และ การ เช่า ไม่มี หลักฐาน เป็นหนังสือ โจทก์ จะ ฟ้อง ให้ จำเลย ทั้ง สาม ปฏิบัติ ตาม สัญญาเช่า เกี่ยวกับเรื่อง การ ชำระ ค่าเช่า ไม่ได้ นั้น เห็นว่า จำเลย ทั้ง สาม รับ ว่า ได้ เช่าตึก พิพาท จาก โจทก์ สัญญาเช่า ย่อม ผูกพัน โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม จำเลยทั้ง สาม ไม่มี อำนาจ ต่อสู้ ว่า โจทก์ ผู้ให้เช่า ไม่มี อำนาจ ให้ เช่าคดี นี้ โจทก์ ฟ้องขับไล่ และ เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ทั้ง สาม เพราะไม่ประสงค์ ให้ จำเลย ทั้ง สาม เช่า ตึก พิพาท อีก ต่อไป แม้ การ เช่า ไม่มี หลักฐาน เป็น หนังสือ แต่ โจทก์ ได้ บอกเลิก การ เช่า แก่ จำเลย แล้วสัญญาเช่า จึง ระงับ เมื่อ สัญญาเช่า ระงับ ไม่มี อยู่ แล้ว โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย ทั้ง สาม ออกจาก ตึก พิพาท และ เรียก ค่าเสียหาย ได้ เพราะมิใช่ เป็น การ ฟ้องร้อง บังคับคดี ให้ ชำระหนี้ ตาม สัญญาเช่า ฎีกา ข้อ นี้ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ปรับปรุง ตึก พิพาท โดย ทำ ประตู เท พื้น เปลี่ยน ฝ้าเพดาน กั้น ห้อง กระจกปรับปรุง เครื่องใช้ สุข ภัณ ฑ์และ เครื่องใช้ ภายใน อาคาร เสีย ค่าใช้จ่ายเป็น เงิน 300,000 กว่า บาท เป็น การ ซ่อมแซม ใหญ่ และ เสีย ค่าแป๊ะเจี๊ยะให้ แก่ โจทก์ อีก 200,000 บาท ส่วน จำเลย ที่ 2 ได้ ซ่อมแซมใน ชั้น ที่ 2 และ กั้น แบ่ง เป็น ห้อง ใช้ สำหรับ สำนักงาน ทนายความเสีย ค่าใช้จ่าย 200,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 จะ ได้อยู่อาศัย ตลอด เวลา ที่ จำเลย ทั้ง สอง ประกอบ กิจการ ขนส่ง และ อาชีพทนายความ จึง เป็น สัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่า สัญญาเช่า ธรรมดา นั้นเห็นว่า เงิน ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 เสีย ไป ใน การปรับปรุง ซ่อมแซม ตึก พิพาท จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ทำ ไป ก็ เพื่อ ประโยชน์และ ความสะดวก สบาย ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ใน การ ใช้ ทรัพย์สิน ที่ เช่าส่วน เงิน แป๊ะเจี๊ยะก็ เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ค่าเช่า ไม่ทำ ให้ สัญญาเช่า มีลักษณะ เป็น สัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่า สัญญาเช่า ธรรมดา ฎีกา ข้อ นี้ของ จำเลย ทั้ง สาม ก็ ฟังไม่ขึ้น และ ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์กำหนด ค่าเสียหาย สูง เกิน ไป นั้น เห็นว่า ทรัพย์สิน ที่ โจทก์ ฟ้องขับไล่จำเลย แม้ โจทก์ จะ อ้างว่า ให้ เช่า ได้ไม่ ต่ำกว่า เดือน ละ 12,000 บาทแต่ ศาลชั้นต้น เห็นว่า โจทก์ ให้ เช่า ได้ เดือน ละ ไม่ สูง กว่า 7,000 บาทและ กำหนด ค่าเสียหาย ให้ เพียง เดือน ละ 7,000 บาท โจทก์ มิได้ อุทธรณ์จึง ถือได้ว่า ทรัพย์พิพาท อาจ ให้ เช่า ได้ไม่ เกิน เดือน ละ 7,000 บาทต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้จำเลย ทั้ง สาม เป็น ฝ่าย แพ้ คดี นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ทุก ข้อของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน