คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28 (2) แห่ง ป.วิ.อ. แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ป.พ.พ. มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรา 87 แพ่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนด ให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนด ก็ยังหาได้มีการโอนโฉนด ใส่ชื่อมูลนิธิไม่
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลอันเกิดจากที่ดินนั้น สำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๙๙ แล้ว ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอก อาทิดินแปลงนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวและนายอุดมจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิรายนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนิน การตามวัตถุประสงค์ได้ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่และแล้วจำเลยที่ ๑-๒ ได้เบิกความเท็จว่ามูลนิธิรายนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่และแล้วจำเลยที่ ๑ – ๒ได้เบิกความเท็จว่ามูลนิธิรายนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. เพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๓๔๔ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๓๑๔, ๓๑๙, ๑๕๕, ๑๖+
ศาลแขวงพระนครใต้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องว่าได้
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่า เมื่อทรัพย์ที่หาว่าจำเลยยักยอกได้ตกไปเป็นของมูลนิธิดังฟ้องแล้ว โจทก์ย่อมไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่ฟ้องเอาโทษแก่จำเลยทางอาญาได้ อำนาจฟ้องย่อมตกอยู่แก่รัฐบาลผู้มีหน้าที่ดูแลมูลนิธิตาม ป.พ.พ. มาตรา ๙๐
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามที่โจทก์กล่าวฟ้องมาว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของสีบุญเรืองมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ป.พ.พ. มาตรา ๘๗ มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมายเกี่ยวกับ ป.พ.พ. มาตรา ๘๗ ส่วนข้อเท็จจริงเป็นมาประการใดจึงเกิดความเข้าใจในข้อกฎหมายเช่นนั้น โจทก์ก็ได้บรรยายในฟ้องและนำสืบไว้ด้วย ทรัพย์สินที่หาว่าจำเลยยักยอกจะตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่มูลนิธิไปแล้วหรือไม่ ก็ต้องปรับฟ้องของโจทก์ด้วยบทกฎหมายต่อไป จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวนั้นหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนดให้เป็นในนามของนายประสพ สีบุญเรือง กับพวก อำนาจฟ้องของโจทก์เท่านั้น ทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์อุทิศให้แก่มูลนิธิมานั้น จะได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่มูลนิธิไปแล้วหรือไม่ จึงยังไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ก็ได้ เพราะการที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินนี้อยู่แต่เดิมหากเป็นความจริงตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ก็ย่อมมีส่วนเสียในมูลนิธิและทรัพย์สินที่อุทิศในนี้ กล่าวคือ อุทิศทรัพย์สินให้ก็เพื่อเป็นทุนบำรุงสุสานในตระกู
ของโจทก์ จำเลยผู้ซึ่งโจทก์อ้างว่า ได้รับมอบทรัพย์สินไปจากโจทก์เพื่อจัดการให้เป็นไปตามเจตน์จำนงของโจทก์กลับยักยอกเอาทรัพย์สินนั้นเป็นอาณาประโยชน์ของคนและพรรคพวกเสียเอง และยังทำเรื่องเท็จขึ้นในมูลนิธิต้องเลิกล้มไปตามที่โจทก์กล่าวหาเช่นนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้โดยแจ้งชัดว่า โจทก์ได้ขาดเสียผลอันพึงบังเกิดจากทรัพย์สินตามเจตน์จำนงที่อุทิศให้ไปนั้นโดยสิ้นเชิงจึงถ้าเป็นความจริงดังโจทก์กล่าวหานี้ การกระทำของจำเลยก็ส่งผลให้เป็นความเสียหายแก่โจทก์โดยตรง ยังการที่จำเลยกระทำให้มูลนิธิต้องเลิกล้มไปไม่อยู่ในฐานะจะว่ากล่าวเอาเรื่องแก่จำเลยได้ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแล มูลนิธิก็ไม่เอาธุระในเรื่องนี้อีกด้วย โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงอยู่ในฐานควรเป็นผู้เสียหายยิ่งขึ้นไปอีกด้วย เมื่อโจทก์อยู่ฐานะต้องเสียหายเห็นปานนี้ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่จึงเห็นว่า โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา ๒ (๔) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม มาตรา ๒๘ (๒) แห่ง ป.วิ.อ.
พิพากษากลับศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องและให้ศาลแขวงพระนครใต้วินิจฉัยมูลฟ้องของโจทก์ต่อไปใหม่ตามกระบวนความ

Share