คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเห็นชอบและสั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา47และ48แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522เนื่องจากคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอแนะมิได้มีสภาพบังคับเสมือนคำพิพากษา จำเลยที่2ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกามีหน้าที่ต้องเสนอคำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีภายในกำหนดไม่เกิน7วันแต่กลับกักเก็บเรื่องไว้เป็นเวลากว่า2ปีจำเลยที่1ในฐานะรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่1ได้มีส่วนร่วมในการกระทำหรือสั่งการรู้เห็นด้วยและการที่จำเลยที่1มีคำสั่งตามมาตรา49ให้เสนอปัญหาข้อกฎหมายเข้าสู่การประชุมใหญ่ของคณะกรรมการร่างกฎหมายซึ่งมีหน้าที่รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรา7(ข)แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522ก็เป็นการถูกต้องแล้วคดีจึงไม่พอมีมูลว่าจำเลยที่1มีพฤติการณ์ร่วมกับจำเลยอื่นในการกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่5มารับตำแหน่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้าหลังจากที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่2(พ.ศ.2531)ได้ประกาศใช้แล้วการที่จำเลยที่5ยังปฏิบัติตามความในประกาศดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยที่5มีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกับจำเลยอื่นเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ด้วยเนื่องจากจำเลยที่5ยังคงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวตราบเท่าที่มีผลบังคับใช้อยู่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำการ ค้า น้ำมัน ต่าง ๆ และ ได้รับ อนุญาต จากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ ให้ เป็น ผู้ค้า น้ำมันดีเซล หมุน เร็วตาม มาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติ น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 จำนวนปี ละ 100,000 เมตริกตัน (120 ล้าน ลิตร ) ตั้งแต่ วันที่ 27 กุมภาพันธ์2528 ระหว่าง เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ดำรง ตำแหน่ง เป็น รัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี มีอำนาจ หน้าที่ ควบคุม กำกับ สั่งการ ดูแล คณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ สำนักงาน คณะกรรมการ กฤษฎีกา แทน นายกรัฐมนตรีที่ ได้ มอบหมาย งาน กัน ไว้ จำเลย ที่ 2 ดำรง ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการ กฤษฎีกา มีอำนาจ หน้าที่ ควบคุม กำกับ สั่งการดูแล คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ ใน การ จัดการ คดี ที่ ร้องทุกข์ มาให้ ชี้ขาด แล้ว นำ เสนอ นายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรี ที่ มีอำนาจ กำกับสั่งการ ดูแล มี คำสั่ง ชี้ขาด การ ร้องทุกข์ นั้น จำเลย ที่ 3ดำรง ตำแหน่ง ปลัดกระทรวง พาณิชย์ มีอำนาจ หน้าที่ ดูแล การค้า น้ำมันตาม ที่ อธิบดี กรมทะเบียนการค้า นำ เสนอ และ ทำ ความเห็น ส่ง ต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อ สั่งการ ออก เป็น กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวง พาณิชย์ จำเลย ที่ 4 ดำรง ตำแหน่ง อธิบดี กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจ หน้าที่ ควบคุม ดูแล สั่งการ ให้ ผู้ค้า น้ำมันปฏิบัติ ตาม ประกาศกระทรวง พาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2529) และ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2531)ที่ วาง ข้อกำหนด เงื่อนไข ต่าง ๆตาม ที่ ปรากฏ ใน ประกาศ ฉบับ ต่าง ๆ ดังกล่าว จำเลย ที่ 5 ดำรง ตำแหน่งอธิบดี กรมทะเบียนการค้า สืบต่อ จาก จำเลย ที่ 4 จำเลย ที่ 6ดำรง ตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ เป็น ผู้ ออก ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2531) เมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2531กำหนด เงื่อนไข ให้ ผู้ขอ รับ อนุญาต เป็น ผู้ค้า น้ำมัน ตาม มาตรา 6 ต้อง มีทุน จดทะเบียน 50 ล้าน บาท ทั้ง ยัง ต้อง คง เงินทุน จำนวน ดังกล่าว ตลอดระยะเวลา ที่ ประกอบการ และ ยัง ต้อง มี เงินทุน หมุนเวียน ใช้ จ่าย ต่างหากอีก ไม่ น้อยกว่า 100 ล้าน บาท ระหว่าง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2530ถึง วันที่ 2 กรกฎาคม 2536 เวลา กลางวัน และ กลางคืน ต่อเนื่อง กันจำเลย ทั้ง หก ใน ฐานะ เจ้าพนักงาน ตาม ตำแหน่ง หน้าที่ ดังกล่าว ได้ ร่วมกันปฏิบัติ หรือ ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ หรือ โดยทุจริต ทำให้เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ ใน กิจการ ค้า น้ำมัน ที่ ได้รับ อนุญาตอย่างร้ายแรง หลายกรรม และ ต่อเนื่อง กัน กล่าว คือ เมื่อ วันที่27 กุมภาพันธ์ 2530 ถึง วันที่ 11 มิถุนายน 2530 จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4อาศัย อำนาจ ใน ตำแหน่ง ได้ ร่วมกัน กลั่นแกล้ง โจทก์ โดย ทราบ ว่า โจทก์ได้ สั่ง ซื้อ น้ำมันดีเซล หมุน เร็ว จาก ต่างประเทศ เข้า มา ใน ราชอาณาจักรเก็บ ไว้ ที่ คลัง น้ำมัน ของ โจทก์ เพื่อ จำหน่าย ขายส่ง แก่ ลูกค้า ภายในประเทศ ใน ปริมาณ 7,400,000 ลิตร เหลือ เก็บ เป็น น้ำมัน สำรอง ไว้604,860 ลิตร เกินกว่า ร้อยละ 3 ที่ ต้อง สำรอง น้ำมัน ไว้ ตาม มาตรา 6และ 9 แห่ง พระราชบัญญัติ น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 ประกอบ ด้วยประกาศกระทรวง พาณิชย์ ฉบับที่ 1 (2528) และ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2529)ที่ ได้ กำหนด ให้ ต้อง สำรอง น้ำมัน ไว้ ไม่ น้อยกว่า ร้อยละ 3 ของ ปริมาณที่ นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักร ที่ ซื้อ กลั่น ผลิต หรือ ที่ ได้ มา ใน ปี หนึ่งกรณี ของ โจทก์ จึง ต้อง สำรอง ไว้ เพียง 222,000 ลิตร เท่านั้น เมื่อ วันที่29 พฤษภาคม 2530 จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ได้ ส่ง เจ้าหน้าที่ มาตร วจสอบน้ำมัน สำรอง ของ โจทก์ ซึ่ง ขณะ นั้น มี จำนวน มาก ถึง 604,860 ลิตรแล้ว รายงาน ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ดำเนินการ ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม อำนาจของ ตน โดยมิชอบ และ โดยทุจริต เป็น เครื่องมือ ของ บริษัท ผู้ค้า น้ำมันราย ใหญ่ อื่น ๆ ที่ ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 มี ประโยชน์ แอบ แฝงใน ลักษณะ ต่าง ๆ จน มี อิทธิพล บงการ ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 หา เหตุกลั่นแกล้ง กำจัด โจทก์ ให้ จำต้อง เลิก ค้า น้ำมัน โดย การ ตีความ เรื่อง การสำรอง น้ำมัน เป็น ว่า จะ ต้อง สำรอง ใน อัตรา ร้อยละ 3 ตาม จำนวน ที่ โจทก์ขออนุญาต ไว้ แต่ แรก จำนวน 120 ล้าน ลิตร ซึ่ง จะ ต้อง สำรอง น้ำมัน3,600,333 ลิตร อันเป็น การ ขัด ต่อ กฎหมาย และ ประกาศกระทรวง พาณิชย์ดังกล่าว ทั้ง ยัง ขัด ต่อ หลัก ความ เป็น จริง ตาม ประเพณี การค้า โดย ทั่วไปและ หลัก เหตุผล ตลอดจน วัตถุประสงค์ ที่ ร่าง ข้อกำหนด การ สำรอง สินค้าต่าง ๆ ที่ ถูก ควบคุม ไว้ โดย จำเลย ที่ 4 แกล้ง ทำ เรื่องราว เสนอ ความเห็นไป ให้ จำเลย ที่ 3 ผู้บังคับบัญชา เห็นชอบ และ มี คำสั่ง เป็น หนังสือกรมทะเบียนการค้า ด่วน มาก ที่ พณ 0505/2553 ลงวันที่ 11 มิถุนายน2530 แจ้ง โจทก์ ว่า ใบอนุญาต เป็น ผู้ค้า น้ำมัน ตาม มาตรา 6 ของ โจทก์สิ้น ผล นับแต่ ได้รับ หนังสือ เป็นต้น ไป ทำให้ โจทก์ เสียหาย ประกอบการค้าตาม ใบอนุญาต ที่ จะ สั่ง ซื้อ น้ำมัน จาก ต่างประเทศ ใน ราคา ถูก มา ค้า แข่งกับ บริษัท ราย ใหญ่ อื่น ๆ ที่ ผูกขาด ไม่ได้ อีก ต่อไป ทันที ต่อมา วันที่23 มิถุนายน 2530 โจทก์ ได้ มอบหมาย ให้ ศาสตราจารย์ คนึง ฤาชัย ที่ปรึกษากฎหมาย มี หนังสือ ไป ยัง จำเลย ที่ 4 ทบทวน และ เพิกถอนคำสั่ง เดิม จำเลย ที่ 4 กลับ เก็บ เรื่อง เสีย ไม่รับ พิจารณา และ แจ้ง ตอบให้ ทราบ เป็น การปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ และ โดยทุจริต โจทก์ ได้ร้องทุกข์ ขอ ความเป็นธรรม ไป ยัง ประธาน คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2530 ผ่าน ไป ยัง จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เสนอ เรื่อง ให้คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ (คณะ 5) พิจารณา ช่วยเหลือ บรรเทา ทุกข์โดย ร้องขอ คุ้มครอง ชั่วคราว ให้ โจทก์ ได้ ดำเนินการ ค้า น้ำมัน ระหว่างรอ คำวินิจฉัย ไป พลาง ก่อน ได้ ต่อมา เมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2530รองอธิบดี กรมทะเบียนการค้า ทำ หน้าที่ แทน จำเลย ที่ 4 มี หนังสือ แจ้งโจทก์ ว่า พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติ ราชการ แทน นายกรัฐมนตรี ได้ มี คำสั่ง ให้ กระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติ ตาม มติ ของคณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ ให้ บรรเทา ทุกข์ ชั่วคราว แก่ โจทก์ตาม ที่ ขอ ได้ จนกว่า จะ มี คำสั่ง ร้องทุกข์ เสร็จเด็ดขาด ต่อไป พร้อม กับได้ กำชับ ให้ สำรอง น้ำมัน ร้อยละ 3 ตาม จำนวน ที่ นำเข้า หรือ ซื้อ มาทุกครั้ง ซึ่ง โจทก์ ได้ ถือ ปฏิบัติ โดย เคร่งครัด ตลอดมา ระหว่าง ที่ รอคำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ (คณะ 5) จำเลย ที่ 3และ ที่ 4 ได้ ร่วมกัน ใช้ อำนาจ ใน ตำแหน่ง ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบและ โดยทุจริต หา เหตุ กลั่นแกล้ง โจทก์ ให้ หยุด ประกอบการค้า น้ำมันโดย วาง ข้อกำหนด เงื่อนไข เป็น ประกาศกระทรวง พาณิชย์ ขึ้น ใหม่ ให้ ไม่มี ทางปฏิบัติ ได้ นอกจาก ผู้ค้า น้ำมัน ราย ใหญ่ ที่ เป็น ของ ชาว ต่างประเทศหรือ ที่ ชาว ต่างประเทศ และ คน ไทย ร่วม ลงทุน เท่านั้น เป็น การ แสวงหาประโยชน์ ให้ แก่ ตนเอง และ ผู้อื่น โดยมิชอบ ต่อหน้า ที่ โดยตรง และ โดย อ้อมเป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 6 ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ สมยอม ร่วมมือ ด้วยตาม ที่ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 นำ เสนอ เรื่อง มา ให้ จำเลย ที่ 6 ลงชื่อใน ประกาศกระทรวง พาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2531) ลงวันที่ 20 ธันวาคม2531 โดย กำหนด คุณสมบัติ ของ ผู้ขอ รับ ใบอนุญาต ให้ มี ทุน จดทะเบียนไม่ น้อยกว่า 50 ล้าน บาท มี หลักฐาน การ รับ ฝากเงิน จาก ธนาคาร มา แสดงและ ต้อง คง เงินทุน จำนวน ดังกล่าว ตลอด เวลา ที่ ประกอบ กิจการ กับ ต้อง มีทุนหมุนเวียน ใช้ จ่าย ต่างหาก ไม่ น้อยกว่า 100 ล้าน บาท ใน ขณะ ยื่นคำขอ รับ ใบอนุญาต เพื่อ สกัดกั้น มิให้ โจทก์ มา ขอรับ ใบอนุญาต ใหม่ได้ อย่าง เด็ดขาด เมื่อ คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ (คณะ 5)ได้ มี คำวินิจฉัย เป็น คุณ ต่อ โจทก์ แทนที่ จำเลย ที่ 2 จะ ปฏิบัติ หน้าที่อย่าง ตรง ไป ตรง มา โดย นำ คำวินิจฉัย ดังกล่าว เสนอ นายกรัฐมนตรีหรือ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติ ราชการ แทน เพื่อ สั่งการ ต่อไป ตาม ที่เห็นสมควร จำเลย ที่ 2 ได้ สมคบ กับ จำเลย ที่ 1 ให้ จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติหรือ ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ กล่าว คือ เมื่อ คณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ (คณะ 5) ได้ ทำ คำวินิจฉัย เรื่อง ร้องทุกข์ ของ โจทก์เสร็จ เป็น ผล ดี ต่อ โจทก์ โดย เห็นว่า รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์กระทำ เกิน ขอบเขต ของ ตัว บท กฎหมาย และ เสนอแนะ ต่อ นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา สั่งการ ให้ มี คำสั่ง ถอน คืน หนังสือ กรมทะเบียนการค้า ด่วน มากที่ พณ 0505/2553 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2530 ตาม คำร้องทุกข์ ของ โจทก์ซึ่ง ตาม พระราชบัญญัติ คณะกรรมการ กฤษฎีกา พ.ศ. 2522 กำหนด ให้จำเลย ที่ 2 ต้อง เสนอ คำวินิจฉัย ไป ยัง นายกรัฐมนตรี เพื่อ สั่งการตาม ความเห็น ดังกล่าว โดย เร็ว ที่สุด แต่ ต้อง ไม่เกิน เจ็ด วัน นับแต่วันที่ ได้ มี คำวินิจฉัย เช่นนั้น แต่ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ได้ ร่วมกัน สมคบกับ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ วางแผนกลั่นแกล้ง โจทก์ มิให้ ได้รับ ผล อัน ถูกต้อง ตาม คำร้องทุกข์ นั้นโดย กัก เรื่อง ของ คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ (คณะ 5) ดังกล่าว ไว้ไม่นำ เสนอ ต่อ พลเรือเอก สนธิ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่ง กำกับ ดูแล มีอำนาจ สั่ง แทน นายกรัฐมนตรี ใน เรื่อง นั้น ตั้งแต่ ปี 2532 จน ถึง ปี 2534เป็น เวลา นาน กว่า 2 ปี โจทก์ ติดตาม สอบถาม ผล การ วินิจฉัย ของ คณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ จาก เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 หลาย ครั้ง ได้รับ แจ้งว่า ยัง ไม่มี คำวินิจฉัย หรือ ยัง ไม่ทราบ ผล หรือ บ่ายเบี่ยง ไปใน ลักษณะ อื่น เมื่อ พลเรือเอก สนธิ พ้น ตำแหน่ง หน้าที่ ไป และ จำเลย ที่ 1ได้ เลื่อน ขึ้น เป็น รองนายกรัฐมนตรี เข้า มา กำกับ ดูแล เรื่อง ดังกล่าว แทนจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 จึง ได้ ร่วมกัน ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ โดยจำเลย ที่ 2 กลับ เสนอ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์(คณะ 5) ไป ให้ คณะกรรมการ ร่าง กฎหมาย (คณะ 6) ซึ่ง มิได้ ทำ หน้าที่วินิจฉัย คำร้องทุกข์ ของ โจทก์ ให้ ทำการ วินิจฉัย ซ้ำ เป็นเหตุ ให้คณะกรรมการ ร่าง กฎหมาย (คณะ 6) มี ความเห็น แตกต่าง ขัดแย้ง กับคณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ (คณะ 5) การกระทำ แบบ ซ่อนเร้น โดย การสมคบ กัน ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ ที่ 2 เพื่อ พลิก ผล การ วินิจฉัย เดิมจน ใน ที่สุด ได้ มี คำวินิจฉัย ชี้ขาด ยกคำร้อง ทุกข์ ของ โจทก์ ตามความเห็น ใหม่ ของ คณะกรรมการ ร่าง กฎหมาย (คณะ 6) ซึ่ง แอบ แฝง มา ใน รูปของ คณะกรรมการ กฤษฎีกา (ที่ ประชุมใหญ่ กรรมการ ร่าง กฎหมาย ) และ มิได้มี การ วินิจฉัย ประเด็น ที่ ร้องทุกข์ เกี่ยวกับ การ สำรอง น้ำมัน ของ โจทก์ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ไม่อาจ ใช้ ใบอนุญาต ค้า น้ำมัน ข้างต้นได้ อีก ต่อไป ต้อง หยุด ประกอบการค้า ดังกล่าว ทันที และ ยื่น ขอรับใบอนุญาต ใหม่ เมื่อ พ้น ระยะเวลา 365 วัน นับแต่ วันที่ ใบอนุญาต เดิมสิ้น ผล ต่อมา เมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2536 หลังจาก ครบ ระยะเวลา 365 วันนับแต่ ใบอนุญาต เดิม สิ้น ผล ดังกล่าว โจทก์ ได้ ยื่น เรื่อง ขอรับ ใบอนุญาตเป็น ผู้ค้า น้ำมัน ตาม มาตรา 6 ต่อ จำเลย ที่ 5 ผู้ ดำรง ตำแหน่ง อธิบดีกรมทะเบียนการค้า สืบต่อ จาก จำเลย ที่ 4 เหมือนเดิม อีก โดย ไม่ทราบ ว่ามี ประกาศกระทรวง พาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2531) ที่ ออก ใหม่เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 6 ได้ บงการ ให้ จำเลย ที่ 5ปฏิเสธ คำขอ รับ ใบอนุญาต ของ โจทก์ ใน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2536โดย อ้างว่า โจทก์ มี ทุน จดทะเบียน ชำระ เงิน แล้ว ไม่ถึง 50 ล้าน บาทโจทก์ จึง เรียก หุ้น จดทะเบียน ทุน เพิ่มเติม เป็น 50 ล้าน บาท แล้ว ยื่นขอรับ ใบอนุญาต ใหม่ อีก จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 6 ได้ ใช้ จ้างวาน บงการให้ จำเลย ที่ 5 ผู้ใต้บังคับบัญชา กลั่นแกล้ง โจทก์ ซ้ำ อีก โดย มีหนังสือ แจ้ง ว่า โจทก์ ไม่มี หลักฐาน การ รับ ฝากเงิน จาก ธนาคาร ตาม ที่จดทะเบียน มา แสดง และ ให้ โจทก์ แจ้ง แผนการ ตลาด เป็น ข้อมูล พิจารณาเพิ่มเติม ซึ่ง เป็น เรื่อง ที่ ไม่จำเป็น เพราะ โจทก์ เคย เป็น ผู้ค้า น้ำมันตาม มาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติ น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 โดย มีอุปกรณ์ ครบ ครัน มูลค่า มาก กว่า เงินทุน ดังกล่าว โจทก์ จึง มีหนังสือ ตอบ โต้และ ชี้แจง ไป ให้ ทราบ เมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2536เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ได้ บงการ ใช้ ให้ เจ้าหน้าที่มี คำสั่ง เป็น หนังสือ ปฏิเสธ คำขอ รับ ใบอนุญาต ค้า น้ำมัน ของ โจทก์ใน วันที่ 2 กรกฎาคม 2536 ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความ เดือดร้อน เสียหายอย่างร้ายแรง เหตุ เกิด ที่ กระทรวงพาณิชย์ แขวง พระบรมมหาราชวัง เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร สำนักงาน คณะกรรมการ กฤษฎีกา แขวง พระนคร เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร ทำเนียบรัฐบาล แขวง ดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เกี่ยวเนื่อง กัน ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91, 157 พระราชบัญญัติ คณะกรรมการ กฤษฎีกา พ.ศ. 2522มาตรา 70
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล เฉพาะ จำเลย ที่ 2ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 6 ให้ ประทับ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ใน ส่วน ที่ เกี่ยวข้อง กับ จำเลย ที่ 1โจทก์ ฎีกา เป็น ประการ แรก ว่า คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตาม มาตรา 47 แห่ง พระราชบัญญัติ คณะกรรมการ กฤษฎีกา พ.ศ. 2522มิใช่ เพียง ข้อเสนอ แนะ แต่ มีผล บังคับ เทียบ เสมือน คำพิพากษา ของ ศาลจำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ปฏิบัติ ราชการ แทน นายกรัฐมนตรี ต้อง สั่งการตาม มาตรา 48 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว เห็นว่า ตาม มาตรา 47 และมาตรา 48 ที่ อ้าง ถึง คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ใน ส่วน ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ สั่งการ ของ นายกรัฐมนตรี ล้วน แต่ ใช้ ถ้อยคำว่า เป็น ข้อเสนอ แนะ ทั้งสิ้น หา ได้ มี ถ้อยคำ ใด ที่ อาจ แปล ความ ให้ เป็นสภาพ บังคับ ให้ นายกรัฐมนตรี ต้อง ปฏิบัติ ตาม โดย เด็ดขาด ไม่ ตรงกันข้ามตาม มาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว บัญญัติ ไว้ ชัดแจ้ง ถึง อำนาจของ นายกรัฐมนตรี ที่ จะ สั่งการ ได้ ตาม ที่ เห็นสมควร ใน กรณี ที่นายกรัฐมนตรี ไม่เห็น ชอบ ด้วย กับ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ เป็น การ รับรอง ถึง อำนาจ ของ นายกรัฐมนตรี ที่ ไม่จำเป็นต้อง เห็นชอบ และ สั่งการ ตาม ข้อเสนอ แนะ ใน คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ ตาม มาตรา 47 และ 48 คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการร้องทุกข์ จึง มิได้ มี สภาพ บังคับ เสมือน คำพิพากษา ดัง ที่ โจทก์ อ้างหาก แต่ เป็น เพียง ข้อเสนอ แนะ ดัง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ตรง กันมา นั้น ถูกต้อง แล้ว ที่ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ปฏิบัติ ราชการ แทนนายกรัฐมนตรี สั่งการ ให้ นำ ปัญหา ข้อ ขัดแย้ง เข้า สู่ ที่ ประชุมใหญ่ของ คณะกรรมการ ร่าง กฎหมาย จึง เป็น การ ปฏิบัติ ที่ รอบคอบ และ เป็น ไป ตามมาตรา 49 โดยชอบ แล้ว
สำหรับ ปัญหา ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 มี พฤติการณ์ ร่วม กับจำเลย ที่ 2 กลั่นแกล้ง โจทก์ สมคบ กัน กัก คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ ซึ่ง เป็น คุณ แก่ โจทก์ ไว้ ไม่นำ เสนอ ต่อ ผู้มีอำนาจสั่งการ แทน นายกรัฐมนตรี ใน ขณะ นั้น ภายใน เจ็ด วัน ตาม ที่ กำหนด ไว้ใน มาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติ คณะกรรมการ กฤษฎีกา พ.ศ. 2522แต่ ได้ กัก เก็บ เรื่อง ไว้ ตั้งแต่ ปี 2532 จน ถึง ปี 2534 เป็น เวลา นาน กว่า2 ปี โดย จำเลย ที่ 2 ได้ เสนอ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ดังกล่าว ไป ให้ คณะกรรมการ ร่าง กฎหมาย วินิจฉัย ซ้ำ เพื่อ พลิก ผลที่ เป็น คุณ แก่ โจทก์ นั้น และ ยัง มี การ แก้ เลขที่ คำวินิจฉัย หลาย ครั้งจน กระทั่ง จำเลย ที่ 1 เลื่อน ขึ้น เป็น รองนายกรัฐมนตรี มีอำนาจ หน้าที่กำกับ ดูแล แล้ว จึง ได้ เสนอ เรื่อง ต่อ จำเลย ที่ 1 สั่งการ นั้น เห็นว่าตาม มาตรา 49 ที่ อ้าง ถึง จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ เลขาธิการ คณะกรรมการ กฤษฎีกาเป็น ผู้ มี หน้าที่ ต้อง เสนอ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ภายใน กำหนด ไม่เกิน เจ็ด วัน จำเลย ที่ 1 ไม่มี หน้าที่ เกี่ยวข้องใน ขั้นตอน นี้ ทั้ง ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1ไม่ว่า จะ เป็น ใน คำฟ้อง หรือ ทาง ไต่สวน โจทก์ มิได้ มี พยานหลักฐาน ใด ๆนำสืบ ให้ เห็น พอ ฟัง เป็น มูล ชี้ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ มี ส่วน ร่วม ใน การกระทำหรือ สั่งการ รู้เห็น ด้วย แต่ ประการใด ไม่ว่า จะ เป็น กรณี ส่ง คำวินิจฉัยไป ให้ คณะกรรมการ ร่าง กฎหมาย วินิจฉัย ซ้ำ หรือ การ แก้ เลขที่ ใน คำวินิจฉัยเพื่อ หลีกเลี่ยง บทบัญญัติ แห่ง มาตรา 49 ที่ โจทก์ อ้าง คดี โจทก์จึง ไม่พอ ฟัง มีมูล ว่า จำเลย ที่ 1 มี พฤติการณ์ ร่วม กับ จำเลย อื่นใน การ กลั่นแกล้ง โจทก์ ดัง ที่ อ้าง ใน ฎีกา
สำหรับ ปัญหา ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 ควร จะ ส่ง ปัญหาข้อ ขัดแย้ง ตาม คำวินิจฉัย ไป สู่ ที่ ประชุมใหญ่ คณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ แต่ จำเลย ที่ 1 กลับ สั่งการ ให้ ส่ง เรื่อง เข้า สู่ ที่ประชุมใหญ่ คณะกรรมการ ร่าง กฎหมาย เพื่อ วินิจฉัย เป็น การ ไม่ชอบและ เป็น แผนการ ที่ สมคบ กับ จำเลย ที่ 2 เพื่อ กลับ มติ คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ ที่ เป็น คุณ แก่ โจทก์ เป็น การ กลั่นแกล้งโจทก์ นั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริง ใน ทาง ไต่สวน ไม่มี มูล ว่า จำเลย ที่ 1มี ส่วน ร่วม สมคบ กับ จำเลย อื่น ใน การกระทำ ต่าง ๆ ที่ โจทก์ อ้างว่าเป็น แผนการ กลั่นแกล้ง โจทก์ ตาม ฟ้อง ทั้ง ปัญหา ข้อ ขัดแย้ง ที่ นำ เสนอต่อ จำเลย ที่ 1 เพื่อ สั่งการ นั้น เป็น ปัญหา ใน ข้อกฎหมาย การ สั่งการให้ นำ เสนอ ปัญหาข้อกฎหมาย เข้า สู่ การ ประชุมใหญ่ ของ คณะกรรมการร่าง กฎหมาย ซึ่ง มี หน้าที่ รับ ปรึกษา ให้ ความเห็น ทาง กฎหมาย ตาม ที่ กำหนดไว้ ใน มาตรา 7(ข) แห่ง พระราชบัญญัติ คณะกรรมการ กฤษฎีกา พ.ศ. 2522จึง ถูกต้อง แล้ว และ จำเลย ที่ 1 มีอำนาจ สั่งการ ได้ ตาม มาตรา 49แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 โดย ได้ วินิจฉัย ให้ เหตุผล ไว้ โดย ละเอียดแล้ว นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ทุกประการ
สำหรับ ฎีกา โจทก์ ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 5 ว่า ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2531) มี เงื่อนไข ที่ แต่ง เติม โดย จำเลย ที่ 6ร่วม กับ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 เป็น การ ขัด กับ หลัก ธุรกิจ การค้าเป็น พฤติการณ์ ที่ ทุจริต ฉ้อฉล มุ่งหมาย ที่ จะ แสวง ประโยชน์ โดย อาศัยอำนาจ หน้าที่ และ จำเลย ที่ 5 ยัง ปฏิบัติ ตาม ความใน ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับ ดังกล่าว จึง ถือได้ว่า เป็น การ สมคบ กับ จำเลย อื่น กลั่นแกล้งโจทก์ นั้น เห็นว่า จำเลย ที่ 5 มิได้ มี ส่วน ใน การ กำหนด เงื่อนไขใน ประกาศ ฉบับที่ โจทก์ อ้าง จำเลย ที่ 5 เพิ่ง จะ ได้ มา รับ ตำแหน่งอธิบดี กรมทะเบียนการค้า ภายหลัง จาก ที่ ได้ มี การ ออก ประกาศ ฉบับที่ โจทก์อ้าง แล้ว และ โดย ตำแหน่ง หน้าที่ ราชการ ที่ จำเลย ที่ 5 ดำรง อยู่จำเลย ที่ 5 มี หน้าที่ ที่ จะ ต้อง ปฏิบัติ ตาม ประกาศ ดังกล่าว ตราบ เท่าที่มีผล บังคับ ใช้ อยู่ ที่ โจทก์ สรุป ว่า ต้อง ถือว่า จำเลย ที่ 5 มี ส่วน ร่วมใน การปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ร่วม กับ จำเลย อื่น ๆ ด้วย นั้นจึง เกิน เลย ไป ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ใน ส่วน ที่เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 5 ด้วย นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ฟังไม่ขึ้น ทุก ข้อ ”
พิพากษายืน

Share