แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ผู้รับโอนที่ดินมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินมาแต่ก่อนโดยมิได้รับอำนาจจากใครได้
ย่อยาว
ได้ความว่า ที่ ๆ ป.ก.โจทก์ฟ้องขับไล่ อ.และ บ.นี้เดิมโฉนดมีชื่อ ล.ป.โดยได้รับมฤดกจากบิดามารดา เมื่อ ล.รับมฤดกนั้น ล.ได้เป็นสามีภรรยากับ ก.โจทก์ จ.จำเลยแล้ว ส่วน ย.จำเลยเป็นบุตร์ จ.แต่ไม่ใช่เกิดด้วย ล. ค.เป็นบุตร์เขย จ.ต่อมา ล.ถอนชื่อออกจากโฉนดแล้วลงชื่อ ก.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิกับ ป.ต่อไป ก.ป.จึงขอให้ขับไล่ อ. บ.ออกจากที่ ฝ่าย จ.ขอยื่นคำร้องเข้าเป็นจำเลยด้วย
ศาลแพ่งตัดสินว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินให้ขับไล่จำเลยรื้อเรือนออกจากที่ไป
ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าที่ดินส่วนของ ล.เป็นสมรสรถระวาง ล.กับ จ.ก. ถึง ล.จะโอนใส่ชื่ ก.ในโฉนดก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิที่ดินเปลี่ยนแปลงเป็นของ ก.ผู้เดียว ล.และ จ.ยังคงเป็นเจ้าของอยู่ด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย ให้ยกฟ้อง
ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องขับไล่แต่ อ.บ.เท่านั้นส่วน จ.เข้ามาในคดีเอง อ.บ.ไม่ได้เป็นอะไรกับ ล.และไม่ได้นำสืบว่าอยู่โดยอำนาจของ ล.ประการใดแม้จะฟังข้อกฎหมายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาก็ดีเมื่อ ล.โอนโฉนดไปเป็นของ ล.ๆ ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ อ.บ.ซึ่งมิได้มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยได้ จึงตัดสินกลับศาลอุทธรณ์ ให้ขับไล่ อ.บ.ออกจากที่รายนี้